SVOLT Energy เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในไทย ส่งออกอาเซียน
'SVOLT' บริษัทผลิตแบตเตอรี่เครือ Great Wall Motor จากประเทศจีน เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ SVOLT Energy ในประเทศไทย ที่ จ.ชลบุรี ใช้เป็นฐานส่งออกยังอาเซียน
วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) ร่วมพิธีเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ของ SVOLT Energy ซึ่งมีการผลิตระดับ Module สำหรับรถยนต์ HEV, PHEV และ BEV โดยมีนายดุสิต อนันตรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวอังศุมาลิน ฉัตรสุวรรณวารี อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ในโอกาสนี้ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต คุณสิทธิพัฒน์ เหรียญรุ่งเรือง ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากร ท่าเรือแหลมฉบัง คุณจาง เซียวเซียว ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำราชอาณาจักรไทย Mr. Greg Lee, Great Wall Motor (ASEAN) รองประธาน นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองประธานบริหารฝ่ายการตลาด ประจำภูมิภาค บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ร่วมงานด้วย และมี Mr. Yang Hongxin, Chairman and CEO of SVOLT Energy ให้การต้อนรับ ณ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ บริษัท สโฟวล์ท เอเนอจี้ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด (SVOLT Energy) ณ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- 'ฉางอัน ออโตโมบิล' ประกาศลงทุน 9,800 ล้าน ตั้งโรงงานผลิต EV แสนคันในไทย
- ถอดรหัส ‘จีน’ ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าใหญ่ที่สุดในโลก
- เกรท วอลล์ มอเตอร์ เผยยอดขายในไทยปี 2565 รวมกว่า 1.16 หมื่นคัน ขณะที่ขายทั่วโลกทะลุ 1.06 ล้านคัน
SVOLT เป็นบริษัทในเครือของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ และเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ระบบแบตเตอรี่ และระบบกักเก็บพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลกจากประเทศจีน ได้มาจัดตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ (Module PACK Factory) ในประเทศไทย มูลค่าการลงทุนรวม 30 ล้านดอลลาร์ (ราว 1,050 ล้านบาท) มีกำลังการผลิต 60,000 แพ็คต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด และเพื่อใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคอาเซียน การลงทุนตั้งฐานการผลิตแบตเตอรี่ครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย
ในระยะแรก ได้วางแผนสายการผลิต 2 สาย ได้แก่ การผลิตโมดูล HEV และโมดูล PHEV/BEV เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ผลิตรถยนต์ (OEM) ในประเทศ เช่น บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) เป็นต้น โดยในอนาคตจะสามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับการส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน ได้ถึง 118,000 แพ็คต่อปี
หัวหน้าผู้ตรวจฯ วิษณุ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีความยินดีที่ได้มาร่วมพิธีเปิดโรงงาน SVOLT Energy ประเทศไทยในวันนี้ การลงทุนผลิตแบตเตอรี่ของ SVOLT แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนจีนต่อนโยบายการเปลี่ยนผ่านฐานการผลิตยานยนต์ของไทยไปสู่ยานยนต์สมัยใหม่ของรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดนโยบายการผลิต ZEV 30@30 โดยในปี 2573 ประเทศไทยจะผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด การส่งเสริมการลงทุนสำหรับยานยนต์สมัยใหม่ทุกประเภท ทั้งแบบแบตเตอรี่ (BEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV) และชิ้นส่วนสำคัญ เช่น แบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้า รวมทั้ง การสร้างศูนย์วิจัยและนวัตกรรมยานยนต์และยางล้อ (หรือ ATTRIC) และศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ EV ซึ่งตั้งอยู่ที่สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม R&D และอำนวยความสะดวกในการทดสอบ R100 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากลสำหรับแบตเตอรี่ของ EV และจะกลายเป็นมาตรฐานบังคับในอนาคต
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH