SHARGE ชี้ ตลาดรถ EV คึกคัก ผลสำรวจพบอีก 4 ปี ค่ายรถเปิดโมเดลใหม่กว่า 350 รุ่น ผู้บริโภคนิยมชาร์จที่บ้านสูงถึง 80%

SHARGE ชี้ตลาดรถ EV คึกคัก ผลสำรวจพบอีก 4 ปี ค่ายรถเปิดโมเดลใหม่กว่า 350 รุ่น ผู้บริโภคนิยมชาร์จที่บ้านสูงถึง 80%

อัปเดตล่าสุด 4 พ.ค. 2564
  • Share :
  • 580 Reads   

ชาร์จ แมเนจเม้นต์ ผู้นำด้านการสร้าง EV Charging Ecosystem เปิดผลวิจัยต่างชาติระบุปี 2568 ค่ายรถยนต์ทั่วโลกเล็งเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่กว่า 350 รุ่น หนุนรถยนต์ไฟฟ้าใน จีน ยุโรป และสหรัฐฯ เติบโต 120 ล้านคัน ดันความต้องการใช้พลังงานชาร์จในปี 2573 สูงเกือบ 3 แสนล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ระบุเทรนด์พฤติกรรมผู้ใช้งานในสหรัฐฯ 75-80% เน้นการชาร์จตามบ้าน โดยมองตลาดการชาร์จรถยนต์ EV ในไทยสอดคล้องสหรัฐฯ เหตุสัดส่วนประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว คาดหากไม่มีที่ชาร์จเพียงพอจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

 

Advertisement

นายพีระภัทร ศิริจันทโรภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นต์ จำกัด (SHARGE) ผู้นำด้านการสร้าง EV Charging Ecosystem เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของแมคคินซีย์แอนด์คอมปะนี (McKinsey & Company) บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารชั้นนำของโลก ระบุว่าภายใน 4 ปีข้างหน้า (หรือปี 2568) ค่ายรถยนต์ทั่วโลกจะเปิดตัว “รถยนต์ไฟฟ้า” (Electric Vehicle: EV) มากกว่า 350 รุ่น ด้วยระยะทางการขับขี่ที่ไปได้ไกลขึ้นจากปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวจะสนับสนุนให้รถ EV ในจีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในปี 2573  เติบโตประมาณ 120 ล้านคัน ขณะเดียวกันความต้องการพลังงานในการชาร์จโดยรวมสำหรับรถ EV เหล่านี้จะเติบโตอย่างมากในช่วงปี 2563 - 2573 โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 20,000 – 280,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 นี้จะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้รถไปจากเดิมที่รถยนต์สันดาปภายใน (ICE) จะเติมเชื้อเพลิงที่สถานีบริการเท่านั้น แต่รถ EV สามารถชาร์จไฟได้ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และระหว่างการเดินทาง อย่างไรก็ตามความต้องการพลังงานไฟฟ้าของรถ EV ที่เพิ่มขึ้นนี้หากไม่มีที่ชาร์จเพียงพอจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับการการศึกษาพฤติกรรมการชาร์จรถ EV จาก 3 ภูมิภาค (จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา) พบว่าผู้คนที่ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะจอดรถไว้เป็นเวลา 8-12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และทำการชาร์จไฟที่บ้าน เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายและมีต้นทุนถูกกว่าการชาร์จตามสถานที่อื่น จากอัตราค่าไฟฟ้าที่อยู่อาศัยมีราคาถูกกว่าไฟฟ้าเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม และการชาร์จส่วนใหญ่อาจเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่าไฟฟ้าต่ำกว่าช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละวัน

ส่งผลให้คนส่วนใหญ่เลือกที่ชาร์จรถที่บ้านเป็นอันดับหนึ่งด้วยสัดส่วนที่สูงถึง 75-80%  รองลงมาคือจุดชาร์จตามจุดหมายปลายทางต่าง ๆ เช่น ที่ทำงาน และแหล่งไลฟ์สไตล์ ขณะที่อันดับสุดท้ายคือการชาร์จตามสถานีที่มีจุดชาร์จให้บริการ

จากข้อมูลดังกล่าว SHARGE มีมุมมองว่าพฤติกรรมการชาร์จรถยนต์ EV ในประเทศไทยจะเติบโตไปในลักษณะเดียวกับสหรัฐฯ คือมีการชาร์จที่บ้านเป็นหลัก เนื่องจากโครงสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ และไทย มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว อย่างไรก็ดี จากข้อมูลการเติบโตของรถ EV ที่จะเปิดตัวเพิ่มขึ้นจำนวนมากในระยะเวลาอันใกล้ การเร่งพัฒนาจุดชาร์จให้เติบโตควบคู่ไปกับ EV จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้ผู้ใช้รถหันมาเปลี่ยนรถยนต์สันดาปไปสู่รถ EV มากขึ้น โดยข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 ประเทศไทยจะมีรถ EV จำนวน 138,918 คัน และหากหัวชาร์จ 1 หัว สามารถให้บริการชาร์จได้ 3 คัน เท่ากับว่าจะต้องมีหัวชาร์จเพิ่มขึ้นทั้งหมด 47,000 หัวชาร์จ ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงประมาณ 1,000 หัวชาร์จ ซึ่งหากไม่มีนโยบายเร่งสนับสนุนการเพิ่มจุดให้บริการชาร์จอาจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการเติบโตของตลาดรถ EV แต่หากภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการติดตั้งเครื่องชาร์จตามบ้านด้วยการออกกฎหมายให้สามารถติดตั้งหม้อแปลงแยกสำหรับการชาร์จรถ EV ในแต่ละบ้านได้ จะเป็นการส่งเสริมให้ปัญหาการมีที่ชาร์จ EV ไม่เพียงพอลดลงไปอย่างมาก เพราะจะช่วยลดปัญหาเรื่องขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้ขนาด 15 แอมป์ ซึ่งหากต้องชาร์จรถ EV อาจไม่เพียงพอ อีกทั้งการแยกหม้อแปลงหากคิดค่าไฟฟ้าต่ำกว่าไฟบ้านก็จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ขับขี่หันมาใช้รถ EV มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมองว่าแนวโน้มการเติบโตของรถ EV ในประเทศไทยจะมาเร็วกว่าที่คาด เนื่องจากผู้ประกอบการในหลากหลายอุตสาหกรรมส่วนใหญ่สนับสนุนการใช้รถ EV สะท้อนจากผลการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา ที่ได้ทำสำรวจ CEO ของบริษัทชั้นนำ 200 ราย ภายใต้หัวข้อ “ความเห็นต่อแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ” พบว่า CEO ส่วนใหญ่สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้รถยนต์ EV ในประเทศ และต้องการให้ภาครัฐเริ่มดำเนินการให้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการใช้รถ EV ก่อนปี 2568 คิดเป็นสัดส่วนถึง 47% รองลงมา (31.5%) เห็นด้วยตามกรอบระยะเวลาตามแผนฯ ที่จะเริ่มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในปี 2568 และมีเสนอให้เลื่อนการดำเนินงานตามแผนฯ ออกไป 5 ปี และ 10 ปี คิดเป็น 11% และ 10.5% ตามลำดับ

ชมคลิปข่าว : เปิดแผนยุทธศาสตร์ยานยนต์ไฟฟ้าไทย จะเกิดอะไรขึ้นอีก 10 ปีข้างหน้า

 

อ่านเพิ่มเติม: