อุตฯ หุ่นยนต์ ความต้องการเพิ่มจริง “แต่ไม่ง่าย” ในระยะสั้น

ประธานใหม่สมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่น สะท้อน “ความท้าทายในอุตฯ หุ่นยนต์หลังโควิด”

อัปเดตล่าสุด 13 ส.ค. 2563
  • Share :
  • 558 Reads   

“ความต้องการหุ่นยนต์โรงงานจะเพิ่มขึ้นจริง แต่ก็ต้องอาศัยเวลาและไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด”

Mr. Hiroshi Ogasawara ประธานสมาคม Japan Robot Association 

การมาของโควิด-19 ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าความต้องการระบบอัตโนมัติจะพุ่งสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม Mr. Hiroshi Ogasawara ผู้รับตำแหน่งประธานคนใหม่ของสมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่น (Japan Robot Association) แสดงความเห็นว่า แม้ความต้องการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวอย่างแน่นอน แต่ปัญหาอื่น ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความปลอดภัย และความต้องการในภาพรวม อาจทำให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ต้องประสบความยากลำบากกว่าที่คาดการณ์ 

และในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ด้วยส่วนแบ่งในตลาดโลกกว่า 60% เราจึงนำบทสัมภาษณ์ Mr. Hiroshi Ogasawara มาแชร์ให้อ่านกัน ดังนี้

โควิด-19 มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหุ่นยนต์อย่างไร?

“ในช่วงไตรมาสแรกไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในภาพรวมยังคงมั่นคง แต่ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมานี้ โควิดส่งผลกระทบรุนแรงมากโชคดีที่ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์พุ่งสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้หุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีตลาดรองรับมากขึ้น ส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์เองก็ยังมีความต้องการจากผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 1 และ Tier 2 อยู่ อย่างไรก็ตาม ในท้ายสุดผลกระทบก็จะลามมาถึงผู้ผลิต Tier 2 ผมจึงคาดว่าต่อให้ผ่านครึ่งปีแรกมาแล้วสถานการณ์ก็จะไม่ดีขึ้น”

ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร?

“ธรรมชาติของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์มี 3 สเต็ป คือการสั่งซื้อ จัดส่ง และติดตั้ง แต่การระบาดของโควิด ทำให้ทุกฝ่ายเห็นชัดว่ามนุษย์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงาน ดังนั้นหากติดตั้งหุ่นยนต์แต่ไม่ได้ใช้ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัญหาในตลาดหุ่นยนต์อย่างแท้จริง เหมือนกับตลาดหุ่นยนต์โดนชกเข้าอย่างจังถึงสองหมัด”

บทบาทของผู้ผลิตหุ่นยนต์คืออะไร?

“หน้าที่สำคัญของผู้ผลิตหุ่นยนต์ในขณะนี้คือการขานรับความเปลี่ยนแปลงของโลก และต้องแสดงให้โลกเห็นว่า การใช้หุ่นยนต์จะสร้างผลกำไรให้ผู้ใช้อย่างไร หุ่นยนต์จะถูกใช้งานอย่างไร จะอำนวยความสะดวกในการจัดหา System Integrator ได้อย่างไร ผู้ที่ทำได้ ก็จะสามารถอยู่รอดในตลาดหุ่นยนต์ได้ ซึ่งญี่ปุ่นมีความมั่นใจว่า การสนับสนุนจากภาครัฐจะช่วยให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นมีจุดยืนที่แข็งแกร่งในตลาดต่อไป”

การก่อตั้ง “Consortium of Human Education for Future Robot System Integration (CHERSI)” เพื่อพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

“ปัจจุบัน ผู้ใช้หุ่นยนต์โรงงานอย่างจริงจังในญี่ปุ่นมีเพียงอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรกล และหุ่นยนต์เท่านั้น ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ มีบุคลากรไม่เพียงพอ และคนที่ต้องการเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตก็น้อยลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคธุรกิจในญี่ปุ่นนิยมลงทุนในต่างประเทศมากกว่า ซึ่งทางสมาคมยอมรับว่า หุ่นยนต์ญี่ปุ่นส่วนมากถูกผลิตในต่างประเทศที่มีบุคลากรเพียบพร้อมมากกว่า และพวกเราเองก็ไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น”

 

อ่านต่อ