CPTPP คือ TPP เวอร์ชันใหม่ที่ทิ้งข้อตกลงพิทักษ์ผลประโยชน์สหรัฐฯ เขย่าดุลอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ไทยจะเข้าร่วมหรือไม่

CPTPP คือ TPP เวอร์ชันใหม่ที่ไม่มีสหรัฐฯ อะไรเปลี่ยนไป?

อัปเดตล่าสุด 23 ก.ค. 2563
  • Share :
  • 3,177 Reads   

CPTPP คือ TPP เวอร์ชันใหม่ ทิ้งหลายข้อตกลงพิทักษ์ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เขย่าดุลอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ไทยจะเข้าร่วมหรือไม่

CPTPP กำลังนำสู่การสร้างดุลอำนาจเศรษฐกิจใหม่ เพราะ CPTPP คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค ที่ปัจจุบันปี 2020 มีสมาชิก 11 ประเทศ และยังมีอังกฤษ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน ที่แสดงท่าทีสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก 

แม้ว่าปัจจุบันมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศภายใต้ข้อตกลง FTA จะอยู่ที่ราว 60% แล้วก็ตาม และทางกรมการค้าต่างประเทศยังเดินหน้าในการเจรจาประเทศคู่ค้า FTA เพิ่มเติม แต่หลายข้อตกลงใน CPTPP มีนัยสำคัญที่จะสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในเชิงศักยภาพการแข่งขันของประเทศสมาชิกไม่ให้ถูกทอดทิ้งจากเวทีโลก 

CPTPP: Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค ที่มาจากการเปลี่ยนผ่านของ TPP เรียกได้ว่าเป็น TPP เวอร์ชันใหม่     

l Trans-Pacific Partnership

Trans-Pacific Partnership (TPP) หรือ ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก คือ หนึ่งในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA: Free Trade Area) หรือ Trade Bloc ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นส่วนขยายของข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) เมื่อปี 2005 และเริ่มมีประเทศอื่น ๆ แสดงความสนใจ และเปิดการเจรจามาตั้งแต่ปี 2008 จนมีสมาชิกรวม 12 ประเทศ คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของ GDP โลก ทำให้ TPP กลายเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น และมีประเทศอื่น ๆ อีกมากที่แสดงความสนใจในข้อตกลงนี้ ไม่ว่าจะเป็นโคลอมเบีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ศรีลังกา รวมถึงประเทศไทยที่ได้แสดงความสนใจในข้อตกลงนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012

โดย TPP มีเนื้อหาว่าด้วยการลดอัตราภาษีสินค้ากว่า 18,000 รายการ ซึ่งมีรายการที่โดดเด่นคือการลดอัตราภาษีการนำรถยนต์และส่วนประกอบจนเหลือ 0%, ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรกล, เครื่องนุ่งห่ม, เพิ่มเพดานการนำเข้าสินค้าเกษตร ครอบคลุมไปถึงมาตรการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน และสิ่งแวดล้อมให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มประเทศสมาชิก

อย่างไรก็ตาม ประเด็นทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาวิจารณ์ และโจมตี TPP เป็นอย่างมาก โดยถูกวิจารณ์ว่ามีข้อจำกัดมากเกินไป และการขยายสิทธิบัตรยา ซึ่งแม้ว่าจะมีแนวโน้มทำให้ราคายาถูกลงในประเทศพัฒนาแล้ว และมีการแข่งขันในตลาดยามากขึ้น ได้ถูกยกขึ้นมาโจมตีว่าอาจทำให้ยามีราคาสูงขึ้น และการเข้าถึงยาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนากลายเป็นเรื่องยาก รวมไปจนถึงระยะเวลาที่มากขึ้นกว่ายาจะสามารถจดทะเบียนเป็นยาสามัญได้

ส่วนประเด็นด้านแรงงานนั้น แม้จะมีความตั้งใจที่จะเรียกร้องสิทธิให้แรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะการป้องกันการใช้แรงงานเด็ก จัดตั้งสหภาพแรงงาน และจำกัดชั่วโมงการทำงานนั้น พบว่าในความเป็นจริงแล้วสามารถบังคับใช้ได้ยาก เนื่องจากมาตรฐานที่ตั้งไว้มีรายละเอียดมากกว่าข้อตกลงการค้าโดยสหรัฐฯ ในฉบับก่อน ๆ เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อประเทศที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น เวียดนาม เม็กซิโก และมาเลเซียเป็นอย่างยิ่ง

l ความแตกต่างระหว่าง CPTPP และ TPP คืออะไร?

รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวภายในงานเสวนา “ความตกลง CPTPP ประโยชน์ ผลกระทบ และ ประสบการณ์จากประเทศภาคี” เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2020 ไว้ว่า ในช่วงที่ผ่านมาการเจรจาข้อตกลง TPP สหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกที่ทรงอิทธิพลที่สุด ส่งผลให้ข้อตกลงหลายอย่างเป็นไปเพื่อการพิทักษ์ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ซึ่งออสเตรเลีย แคนาดา และญี่ปุ่น ไม่พอใจต่อแนวทางนี้ โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเน้นไปที่การกีดกันการค้ากับจีน จนกระทั่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เล็งเห็นว่า การดำเนินการในยุคอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา มีความล่าช้า และยังต้องใช้เวลาอีกมากจึงจะบังคับใช้ได้ สหรัฐฯ จึงถอนตัวจาก TPP ในเดือนพฤศจิกายน 2017 ซึ่งอีก 11 ประเทศที่เหลือ ได้นำข้อตกลงของสหรัฐฯ ออก และเปลี่ยนชื่อข้อตกลงจาก TPP เป็น CPTPP และสรุปข้อตกลงได้ภายในต้นปี 2018 

โดยในสิ่งที่ CPTPP ต่างออกไปจาก TPP นั้น มีสาเหตุมาจากการที่มีหลายประเด็นถูกแก้ไขจนต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะในด้านนโยบายที่สหรัฐอเมริกาพยายามผลักดัน

จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าในประเด็นที่ถูกหยิบยกมาโจมตีบ่อยครั้ง คือ การผูกขาดข้อมูลทางยา (Data Exclusivity) ซึ่งแต่เดิมเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายแสดงความกังวลนั้น ไม่มีอยู่ใน CPTPP สำหรับประเทศไทยแล้ว ประเด็นนี้ก็ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถถือครองสูตรยาคู่กับเจ้าของยา ส่วนผู้ผลิตยารายอื่น สามารถขอดูสูตรยาได้ที่อย. โดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของสูตรด้วยตัวเอง อีกทั้งเจ้าของสูตรจะไม่สามารถขยายสิทธิบัตรยาได้  ทำให้ผู้ผลิตรายอื่นสามารถผลิตยาในราคาถูก เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งประเด็นนี้ ไม่เพียงแค่ทำให้ CPTPP ต่างจาก TPP เท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่างไปจาก FTA อื่น ๆ อีกหลายฉบับอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การผลิตยาต้องเป็นไปเพื่อการรักษา ไม่ใช่การแสงหาผลกำไรแต่อย่างใด 

ในขณะที่การคุ้มครองสายพันธุ์พืชที่มีอยู่เพื่อให้ต่างชาติจ่ายเงินให้ไทยหากมีการนำพันธุ์พืชไปใช้ หรือพัฒนาต่อ และเกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของสายพันธุ์พืชได้

ในเรื่องการอนุญาตให้รัฐวิสาหกิจเข้าแข่งธุรกิจเชิงพาณิชย์ได้นั้น ใน CPTPP ยังคงเนื้อหาเช่นเดียวกันกับ TPP อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ปิติ คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคมากกว่า โดยยกตัวอย่างกรณีของรถไฟไทยที่ไม่มีการพัฒนามาหลายสิบปี

ส่วนในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐเอง ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน โดยข้อดีคือผู้ประกอบการรายอื่น สามารถเข้าร่วมในโครงการต่าง ๆ ได้ ในขณะที่ข้อเสียคือรัฐบาลไม่สามารถสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของเอกชนได้ เนื่องจากไม่สามารถบังคับได้ว่าเอกชนจะต้องผลิตอะไร

แต่สิ่งที่ภาคเอกชนอาจต้องเป็นกังวล คือมาตรฐานแรงงาน ซึ่งเพิ่มอำนาจต่อรองให้แรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้คือสิทธิมนุษยชน สนับสนุนให้แรงงานได้รับการคุ้มครอง และเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงในข้อตกลงการค้าทุกฉบับ ในอนาคต ถ้าประเทศใดไม่ปรับตัวตามแนวทางสิทธิมนุษยชนก็จะไม่ได้รับการยอมรับในระดับโลก และจะไม่เกิดการจ้างงานในที่สุด

และอาจเพราะด้วยเหตุผลเช่นนี้เอง ที่ทำให้ประเทศอื่น ๆ เริ่มแสดงความสนใจใน CPTPP มากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน อังกฤษ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และจีน ล้วนแสดงเจตนาต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ CPTPP ทั้งสิ้น โดยอังกฤษสนใจเข้าร่วมเนื่องจากต้องการเพิ่มมูลค่าสัดส่วนการค้าหลังออกจาก EU ในขณะที่จีนแสดงความประสงค์โดยนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง อีกด้วย

อ่านต่อ