เกษตรสมัยใหม่ เปิดโมเดลเช่ารถแทรคเตอร์ ต่อยอดแนวคิด Shared ในยานยนต์
จากแนวโน้มการหันมาทำเกษตรสมัยใหม่ซึ่งใช้เทคโนโลยี AgriTech เข้าช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร พร้อมกับการเพิ่มผลผลิตคุณภาพสูงให้แปลงเกษตร
Advertisement | |
ทางคูโบต้า ประเทศญี่ปุ่น จึงต่อยอดแนวคิด Shared ที่ว่าด้วยการใช้ยานยนต์ร่วมกันในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สู่ธุรกิจให้เช่ารถแทรคเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องแก่เกษตรกรในเมืองคาเมโอกะ จังหวัดเกียวโต ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
บริการให้เช่ารถแทรคเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของคูโบต้านี้คิดค่าใช้จ่ายเป็นรายชั่วโมง ซึ่งสามารถติดต่อเช่าได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านระบบออนไลน์ และไปนำรถแทรกเตอร์ออกมาใช้ได้จากโรงเก็บทุกสาขาด้วยตัวเอง และส่งคืนเมื่อเกษตรกรใช้งานเสร็จแล้ว โดยต้องทำความสะอาดและเติมน้ำมันรถให้ด้วย
การออกแบบบริการให้เช่าใช้เกิดขึ้นจากปัญหาที่เกษตรกรหลายรายไม่ต้องการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในช่วงตั้งตัว และยังกังวลกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรทางการเกษตรซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงได้นำไอเดียจากเทคโนโลยี CASE มาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในอนาคตที่จะมีการนำเทคโนโลยี IoT, Electrification, และอื่น ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรทางการเกษตร และอาจทำให้เครื่องจักรเหล่านี้มีราคาแพงขึ้น จึงเชื่อว่าโมเดลการเช่าใช้จะสามารถแก้ปัญหาด้านเงินทุนและค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้
- ไทยผลักดันเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ เป้าหมายแรกจากโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำ คิกออฟ ก.ค. 64 นี้
- เปิดโครงการ SAEZ ปั้นโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ ก้าวสู่เกษตรอุตสาหกรรม
- เปิดพิมพ์เขียว "ระบบเกษตรอัจฉริยะ HandySense" สู่นวัตกรรมแบบเปิด เพื่อสังคมไทย
ความเห็นจากเกษตรกรผู้ใช้งานจริง
ภาพระหว่างการสอนวิธีติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถแทรกเตอร์
Mr. Hiroichiro Oe เกษตรกรรายหนึ่งซึ่งได้ทดลองใช้บริการระบบเช่ารถแทรกเตอร์ แสดงความเห็นว่า ที่ผ่านมา ตนเองไม่ได้ซื้อรถแทรกเตอร์ไว้เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องใช้ตลอดเวลา แต่เมื่อสามารถเลือกเช่าแทนได้ จึงพบว่าช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก และหวังว่าในอนาคตจะมีบริการให้เช่าเครื่องจักรทางการเกษตรอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรรายเล็ก และเกษตรกรหน้าใหม่สามารถประกอบธุรกิจได้ง่ายขึ้น
อีกรายหนึ่งคือ Mr. Nobuyuki Morita ที่หลังทดลองใช้แล้วพบว่าบริการให้เช่ารถแทรกเตอร์ยังมีข้อเสียอยู่ เช่น ในกรณีที่เช่ามาแล้วเกิดฝนตกกะทันหันทำให้ไม่สามารถใช้รถทำงานได้ทั้งที่เสียค่าเช่าไปแล้ว รวมถึงปัญหาอื่นในอนาคต เช่น จำนวนรถแทรคเตอรืไม่เพียงพอให้บริการในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
สู่การแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุในอุตสาหกรรมการเกษตร
กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ญี่ปุ่น (MAFF) รายงานว่า ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่มีอายุต่ำกว่า 49 ปีลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยในปี 2019 มีผู้อายุต่ำกว่า 49 ปีมาขอขึ้นทะเบียนเพียง 18,540 คน ลดลงจากปีก่อนหน้า 3.9% และมีผู้ขึ้นทะเบียนรวมทุกอายุเพียง 55,870 คนเท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และปัญหาสังคมผู้สูงอายุในอุตสาหกรรมการเกษตรของญี่ปุ่นอย่างชัดเจน
Mr. Makoto Nakatogawa หัวหน้าบริษัท Agrimedia สำนักวิจัยอุตสาหกรรมการเกษตรญี่ปุ่น รายงานว่า อาชีพเกษตรที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมากที่สุดคือการปลูกผักกลางแจ้ง ตามด้วยปลูกผักระบบปิด และปลูกผลไม้ เนื่องจากในญี่ปุ่นผลผลิตทางการเกษตรที่มีกำไรมากที่สุดคือผัก
นอกจากนี้ ยังได้แสดงความเห็นว่า การนำเทคโนโลยีแบบเกษตรสมัยใหม่เข้ามาใช้จะช่วยให้ผู้สูงอายุผันตัวมาเป็นเกษตรกรมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ส่วนใหญ่เป็นผู้งสูงอายุมากกว่าวัยแรงงาน
และจากการสอบถามผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมหลายตำแหน่ง เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร, เกษตรกรที่ทำงานเต็มเวลา, เกษตรการที่ทำงานแบบพาร์ทไทม์, ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐ พบว่าหนึ่งในในปัจจัยที่ผู้สูงอายุญี่ปุ่นเลือกประกอบอาชีพเกษตรกร คือ เทคโนโลยีแบบเกษตรสมัยใหม่ทำให้เกษตรกรเป็นอาชีพที่มีเวลาว่างมากขึ้น และสามารถใช้เวลาที่เหลือไปกับงานอดิเรกหรือการพักผ่อนได้
ดังนั้น หากสามารถผลักดันการใช้เทคโนโลยีในกลุ่มเกษตรกรให้เป็นที่แพร่หลายได้ ก็จะสามารถดึงดูดให้ผู้คนหันมาประกอบอาชีพเกษตรกรเพิ่มขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการเกษตรได้ทั้งในญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
- ไทยผลักดันเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ เป้าหมายแรกจากโครงการนำร่องพัฒนาเกษตรแม่นยำ คิกออฟ ก.ค. 64 นี้
- เปิดโครงการ SAEZ ปั้นโมเดลเขตเศรษฐกิจการเกษตรพิเศษ ก้าวสู่เกษตรอุตสาหกรรม
- เปิดพิมพ์เขียว "ระบบเกษตรอัจฉริยะ HandySense" สู่นวัตกรรมแบบเปิด เพื่อสังคมไทย
Mr. Hideki Matsumoto หัวหน้ากรมส่งเสริมการเกษตรและป่าไม้เมืองคาเมโอกะ ซึ่งเป็นผู้อนุมัติให้คูโบต้าทดลองบริการให้เช่ารถแทรกเตอร์ โดยได้แสดงความเห็นว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมการเกษตรคือการลงทุนในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ดินและเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง
จากการทดลองให้บริการของคูโบต้าพบว่าเกษตรกรในพื้นที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ เนื่องจากสามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในราคาถูก เกษตรกรหน้าใหม่สามารถเช่าเครื่องจักรและขอความช่วยเหลือจากเกษตรกรที่มีประสบการณ์มาช่วยสอนวิธีใช้ ไปจนถึงการช่วยกันหารค่าเช่า อย่างไรก็ตาม ปัญหาสังคมผู้สูงอายุมีแต่จะรุนแรงขึ้นในอนาคต จึงมองว่ายังมีความจำเป็นต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้ด้วยแนวทางอื่นนอกจากด้านเทคโนโลยีด้วย
นอกจากนี้ ยังพบว่าหลังจากมีการทดลองให้บริการเช่ารถแทรกเตอร์ มีผู้ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงน่าจะเป็นการสร้างโอกาสส่งเสริมให้มีเกษตรกรหน้าใหม่ในพื้นที่ที่ที่มีความโดดเด่นทางการเกษตร เช่น จังหวัดไหนปลูกผักขึ้นง่าย จังหวัดไหนดินดี ก็สามารถทดลองใช้โมเดลนี้ได้เช่นเดียวกัน