“ภาคขนส่ง” คิดหนัก เมื่อมาตรการสิ่งแวดล้อมเข้มข้นขึ้น
ปัจจุบันการขนส่งทางเรือมีสัดส่วนคิดเป็น 90% ของการค้าโลก และมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนคิดเป็น 3% ของโลก ทำให้อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือได้รับแรงกดดันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะนักสิ่งแวดล้อม
Advertisement | |
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2021 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในปี 2022 มีความเป็นไปได้ว่าราคาค่าส่งสินค้าทางเรือจะยังคงอยู่ในระดับสูง ผลจากการเร่งยกระดับมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) หน่วยงานด้านการขนส่งภายใต้สหประชาชาติ แสดงความเห็นว่า แม้ในปัจจุบันอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือได้ประสบความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายในปี 2050
IMO รายงานว่า ในปี 2021 ทางองค์กรมีความคืบหน้าในด้านกฎระเบียบใหม่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของกองเรือโลก โดยตั้งเป้าออกร่างนโยบายด้านการลดก๊าซคาร์บอนฉบับใหม่ภายในปี 2023
โดยก่อนหน้านี้ มีการร่างข้อเสนอให้ IMO เพื่อสร้างกองทุนวิจัยและพัฒนามูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดการปล่อยก๊าซของอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
แนวโน้มนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนเทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้ว จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วควรให้การสนับสนุนในด้านนี้
โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือจะต้องการเงินทุนมากถึง 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 และเพิ่มขึ้นไปถึง 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2050 เพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเหลือศูนย์ได้ภายในปี 2050
อย่างไรก็ตาม หาก IMO ยังไม่มีการออกนโยบายที่ชัดเจนแล้ว ก็เป็นเรื่องยากที่ผู้ให้บริการการขนส่งทางเรือจะลงทุนเพิ่ม และในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมเองมีความสามารถในการต่อเรือลดลงเป็นอย่างมาก และยังอยู่ในภาวะที่เงินทุนมีจำกัดเช่นนี้ การลงทุนมูลค่ามหาศาลย่อมเป็นเรื่องยาก
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH