Mitsubishi Fuso และ Hino Motors ควบรวมกิจการ

Mitsubishi Fuso และ Hino Motors จ่อควบรวมกิจการในปี 2024

อัปเดตล่าสุด 6 มิ.ย. 2566
  • Share :
  • 4,301 Reads   

Daimler Truck และ Toyota Motor เซ็น MOU เร่งพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ดันควบรวมกิจการ Mitsubishi Fuso และ Hino Motors ตั้งเป้าดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปลายปี 2024

วันที่ 30 พฤษภาคม 2023 - Toyota Motor Corporation ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยความร่วมมือกับ Daimler Truck Holding AG, Mitsubishi Fuso Truck and Bus Corporation (MFTBC), และ Hino Motors ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงและควบรวมกิจการของ Mitsubish Fuso และฮีโน่ มอเตอร์ Hino Motors

เป้าหมายสำคัญในการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงนี้เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน และสร้างสังคมโมบิลิตี้ที่รุ่งเรืองโดยการพัฒนาเทคโนโลยีของ CASE (Connected / Autonomous & Automated / Shared / Electric) พร้อมเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ในระดับโลก

Advertisement

โดย Daimler Truck และ Toyota Motor จะเข้าลงทุนอย่างเท่าเทียมในบริษัทโฮลดิ้งที่จะจดทะเบียนใหม่สำหรับดำเนินการควบรวมกิจการ MFTBC และ Hino เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาไฮโดรเจนและเทคโนโลยีอื่น ๆ ของ CASE สนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของบริษัทใหม่แห่งนี้ และช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับรากฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นและเอเชีย 

สำหรับรายละเอียดของการควบรวมกิจการ ขอบเขตและลักษณะของความร่วมมือ รวมถึงชื่อบริษัท ที่ตั้งสำนักงาน สัดส่วนการถือหุ้น และโครงสร้างองค์กรของบริษัทใหม่จะถูกตัดสินใจในช่วง 18 เดือนนี้ 

เบื้องหลังความร่วมมือนี้มาจากความปรารถนาอันแรงกล้าของทั้งสี่บริษัทในการสร้างอนาคตของยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ร่วมกัน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการใช้ชีวิตประจำวันผ่านการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้า ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมอย่างแท้จริง เพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนารถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งคิดเป็น 40% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยานยนต์ของโลก ไปสู่การสัญจรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีของ CASE เช่น การใช้พลังงานไฟฟ้าและการขับขี่อัตโนมัติถือเป็นกุญแจสำคัญของเรื่องนี้ ซึ่งเทคโนโลยี CASE จะมีประโยชน์ต่อสังคมก็ต่อเมื่อมีการใช้อย่างแพร่หลาย และสิ่งนี้ต้องการความสามารถในการพัฒนาทางเทคโนโลยี 

เมื่อพูดถึงการอยู่รอดในยุคของ CASE ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ของญี่ปุ่นมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของโลก และเป็นการยากที่แต่ละบริษัทจะแข่งขันโดยลำพัง ซึ่งการทำงานร่วมกันของสี่บริษัทจะช่วยเร่งการแพร่กระจายของเทคโนโลยีนี้ และจะช่วยเปิดโอกาสใหม่ ๆ สำหรับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิดริเริ่มเรื่องไฮโดรเจนโดยเริ่มจากรถยนต์เพื่อการพาณิชย์

โดย Daimler Truck และ Toyota ได้มุ่งเน้นไปที่ศักยภาพของพลังงานไฮโดรเจนตั้งแต่เริ่มต้น และได้ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงและเครื่องยนต์ไฮโดรเจนอย่างจริงจัง รวมถึงยังทำงานเกี่ยวกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไฮโดรเจนเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างแพร่หลาย 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH