ญี่ปุ่นดัน “หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ” ให้บริการเดลิเวอรี่
8 บริษัทญี่ปุ่น Kawasaki Heavy Industries, ZMP, TIS, Tier IV, Japan Post, Panasonic Corporation, Honda Giken Kogyo, และ Rakuten Group ร่วมก่อตั้ง “Robot Delivery Association” เพื่อจัดส่งพัสดุ ส่งของ ขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์อัตโนมัติ
Advertisement | |
“Robot Delivery Association” ได้เปิดตัวขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2022 โดยมีพันธกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อบริการขนส่งสินค้าและจัดส่งพัสดุ ส่งเสริมการใช้งานหุ่นยนต์ขนส่งสินค้าบนถนนสาธารณะ ไปจนถึงการใช้งานขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
จากภาพงานเปิดตัวสมาคม Robot Delivery Association มีตัวแทน 8 บริษัท ประกอบด้วย นาย Masatoshi Ishida จาก Kawasaki Heavy Industries, นาย Kentaro Ryu จาก ZMP, นาย Miki Yutani จาก TIS, นาย Shinpei Kato จาก Tier IV, นาย Michio Kaneko จาก Japan Post, นาย Yasumichi Murase จาก Panasonic, นาย Yoshiharu Itai จาก Honda Motor, และนาย Ando Koji จาก Rakuten Group (ขอบคุณภาพจาก Robot Delivery Association, ชื่อคนเรียงลำดับจากขวามาซ้าย)
Photo: Robot Delivery Association
ทางสมาคมฯ เล็งเห็นว่า “หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ” สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และอำนวยความสะดวกให้กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมเดลิเวอรี่ได้
ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมฯ จึงตั้งใจเดินหน้าจัดตั้งมาตรฐานความปลอดภัย และกลไกการรับรองในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างรากฐานสำหรับบริการจัดส่งของโดยหุ่นยนต์ให้มีความสะดวก ปลอดภัย และสามารถใช้งานได้จริง โดยอาศัยองค์ความรู้ของทั้ง 8 บริษัทที่เป็นสมาชิกในการร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อร่างกฎหมายควบคุมบริการขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์ และพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเร่งดำเนินการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์เกิดขึ้นได้จริงโดยเร็ว
ในฝั่งรัฐบาลญี่ปุ่นเอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายควบคุมบริการขนส่งสินค้าด้วยหุ่นยนต์เช่นเดียวกัน ซึ่งแม้จะยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนออกมา แต่ทางสมาคมฯ คาดการณ์ว่า หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติที่สามารถนำมาใช้จริงได้นั้นจะเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กและมีความเร็วต่ำ เพื่อให้สามารถวิ่งบนถนนสาธารณะได้อย่างปลอดภัย
บทความหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์
- ระบบ Automation มีบทบาทอย่างไร ในโลจิสติกส์ของโรงงานเครื่องสำอางแบรนด์ญี่ปุ่น
- เปิดแนวคิด “สถานีโดรน” อนาคต “โลจิสติกส์” เชื่อมรถขนส่งสินค้าอัตโนมัติ
#Delivery Robot #หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ #หุ่นยนต์ขนส่งสินค้า #หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ #โลจิสติกส์ #Logistics #Robot #Logistics #โซลูชัน โลจิสติกส์ #Robot #เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH