หวั่น! ความไม่แน่นอนในตลาดจีน กระทบหลายอุตสาหกรรม
จีนช้ำ วิกฤตชิปขาดตลาด ยันวัตถุดิบขึ้นราคา ลามถึง GDP เริ่มชะลอตัวในไตรมาส 2 หลายอุตสาหกรรมติดตามสถานการณ์ หวั่นลากยาว
Advertisement | |
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2021 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานตัวเลข GDP ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ซึ่งแม้จะยังเติบโต 7.9% แต่ก็เป็นการชะลอตัวครั้งใหญ่จากไตรมาสก่อนหน้า จนน่าเป็นห่วงว่าความไม่แน่นอนนี้จะกระทบภาคอุตสาหกรรมอย่างไร
จีนช้ำ วิกฤตชิปขาดตลาด ยันวัตถุดิบขึ้นราคม ลามถึง GDP ชะลอตัว
ปัจจุบัน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนหลังผ่านพ้นวิกฤตโควิดเริ่มชะลอตัวลง โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 GDP จีนเติบโต 7.9% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าซึ่งโตเพียง 3.2% และเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 อย่างไรก็ตาม เพื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ซึ่งมีการเติบโตถึง 18.3% แล้วจึงเป็นตัวเลขเติบโตที่ลดลงอย่างมาก อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 นี้ GDP ได้ชะลอตัวอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดัชนี PMI (Purchasing Manager’s Index) ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจีนยังอยู่ที 50.9 จุด ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 16 เดือนอีกด้วย
Mr. Kokichiro Mio นักวิเคราะห์อาวุโสจาก NLI Research Institute แสดงความเห็นว่า ตัวเลข GDP ของจีนในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 เป็นไปตามที่สำนักวิเคราะห์หลายสำนักคาดการณ์ แสดงให้เห็นถึงสภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังจะกลับสู่ภาวะปกติหลังจากที่พุ่งทะยานหลังโควิด และคาดการณ์ว่าในไตรมาสถัด ๆ ไป GDP จีนจะโตราว 5% ก่อนฟื้นกลับไปเป็น 8% ในปีงบประมาณ 2022
โดยความต้องการเซมิคอนดัคเตอร์และสินค้า IT ที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้จีนเร่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์และกลับมาเติบโตได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการระบาดของโควิดระลอกใหม่ หรือสายพันธุ์ใหม่อีกหรือไม่
ชิปขาดแคลน ยานยนต์ไม่สามารถผลิตได้
สมาคมผู้ผลิตยานยนต์จีน รายงานว่าในเดือนมิถุนายน 2021 ยอดขายยานยนต์ในประเทศจีนปิดที่ 2,015,000 คัน ลดลงจากปีก่อนหน้า 12% และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และพบว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าเดือนมิถุนายน 2019 หรือก่อนการระบาดของโควิด 2%
โตโยต้า และค่ายรถญี่ปุ่นอีก 6 ค่าย รายงานตรงกันว่าในเดือนมิถุนายน 2021 ยอดขายยานยนต์ในจีนลดลง ซึ่งนิสสันเปิดเผยว่า ความต้องการยานยนต์ยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่อุตสาหกรรมยานยนต์จีนประสบปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์อย่างรุนแรงจนไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ทันต่อความต้องการ
สถาบันการเงิน Nomura Securities คาดการณ์ว่า ในปี 2021 ยอดขายยานยนต์จีนจะปิดที่ 22,090,000 คัน เพิ่มขึ้น 9.5% จากปีก่อนหน้า โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ผู้ผลิตยานยนต์จะขาดแคลนชิปจนไม่สามารถผลิตยานยนต์ได้ตามกำหนด แต่จะเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4
วัตถุดิบราคาแพง อาจกระทบราคาสินค้าจีนที่เกี่ยวข้องกับโลหะ
อุตสาหกรรมโลหะการในจีนกำลังประสบปัญหาวัตถุดิบขึ้นราคา สืบเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องปรับขึ้นราคา ซึ่งไม่เพียงแต่จีนเท่านั้น แต่หลายประเทศก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศยุโรปที่ประสบกับปัญหาเหล็กรีดร้อนที่มีราคาพุ่งทะยาน หรือกระทั่งไทยที่ประสบปัญหาขาดแคลนเหล็กจนกระทบหลายอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2021 รัฐบาลจีนได้ประกาศยกเลิกนโยบายการคืนภาษีเพื่อสนับสนุนการส่งออก ในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากโลหะ 146 รายการ เพื่อชดเชยกับกำลังการผลิตที่มากเกินไป ซึ่งแม้ในปีนี้อาจจะยังไม่ส่งผลชัด แต่เป็นไปได้ว่าอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับโลหะในอนาคต
Machine Tools ยังมั่นคงได้ ด้วยความต้องการเซมิคอนดักเตอร์
สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล พบว่าความต้องการ Machine Tools ในจีนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่น (JMTBA) รายงานว่าความต้องการ Machine Tools ในจีนเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ และพลังงาน
DMG MORI คาดการณ์ว่าความต้องการเครื่องจักรสำหรับงาน Precision จะยังคงเติบโตอย่างมั่นคง ส่วน ROKU-ROKU SANGYO คาดว่าความต้องการหลักจะมาจากอุตสากรรมเซมิคอนดักเตอร์ อย่างไรก็ตาม จากตัวเลข GDP จีนที่มีการชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตหลายรายตัดสินใจเลื่อนกำหนดการผลิตและจัดส่งเครื่องจักรออกไปเพื่อดูสถานการณ์ก่อน
เครื่องจักรก่อสร้าง และความต้องการที่หยุดชะงัก
ในส่วนของเครื่องจักรก่อสร้าง SUMITOMO CONSTRUCTION MACHINERY รายงานว่าจีนมีความต้องการเพิ่มขึ้นจนถึงเดือนมีนาคม 2021 ก่อนจะลดลงอย่างกะทันหันตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ใหญ่ ๆ สองข้อ คือ 1. ความต้องการที่เพิ่มขึ้นก่อนเดือนเมษายน 2021 เป็นยอดสั่งซื้อที่ถูกเลื่อนมาจากการระบาดของโควิด และ 2. จีนสั่งซื้อเครื่องจักรก่อสร้างจนล้นสต็อก
ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปออกมาว่าสาเหตุการชะลอตัวเกิดจาดอะไร แต่ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะไม่ฟื้นตัวเร็ว ๆ นี้ อีกทั้งยังมีผู้ผลิตเครื่องจักรก่อสร้างในจีนบางราย เช่น Sany ที่ได้ประกาศลดราคาขายเครื่องจักรแล้วจากสถานการณ์นี้
#เศรษฐกิจจีน #โรงงานจีน #สินค้าจีน #สินค้าที่ ขึ้นราคา ช่วง โค วิด #สินค้า ขึ้นราคา 2564 #วิกฤตซัพพลายเชนโลก #Material Shortages 2021 #ชิปขาดตลาด #วิกฤตโควิด 19 ผลกระทบ #น้ำมันแพง #ขึ้นราคา #ราคาน้ำมัน #ขึ้นราคา วัตถุดิบ #อุตสาหกรรมการผลิต #อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ #อุตสาหกรรมก่อสร้าง #อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH