คาดการณ์ ‘ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นปี 2023’ หดตัว 9.1%
‘สมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่น’ คาดการณ์ยอดสั่งซื้อในปี 2023 จะมีมูลค่ารวม 1.6 ล้านล้านเยน (1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 9.1% หดตัวครั้งแรกในรอบ 3 ปี
ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลญี่ปุ่นได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมากจนทำสถิตินิวไฮในรอบ 4 ปี ขณะที่ภาคการผลิตยังคงประสบปัญหาขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผลิตเครื่องจักรกล (Machine Tools) มี Backlog สะสมจำนวนมาก
นาย Yoshiharu Inaba ประธานสมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่น (JMTBA) และ CEO บริษัท Fanuc มั่นใจว่า ความต้องการเครื่องจักรจะยังมั่นคงจากความจำเป็นในการลงทุน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้อัตโนมัติยิ่งขึ้น รวมถึงการปรับตัวตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายฐานการผลิต
Advertisement | |
อย่างไรก็ตาม สมาคมคาดการณ์ว่าความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จะทำให้ผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย อีกทั้งความต้องการลงทุนด้านรถยนต์ไฟฟ้าจะมีแต่เติบโตยิ่งขึ้น จึงอาจส่งผลให้การสั่งซื้อเครื่องจักรกลพลิกกลับมาฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์
สำหรับปี 2022 สมาคมได้รายงานสรุปยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจากทั่วโลกไว้ที่ 1,759,601 ล้านเยน (13,685 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 14.2% จากปีก่อนหน้า ทำสถิติใหม่ในรอบ 4 ปี และจากการคำนวนพบว่า ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2022 การสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นมี Backlog สะสมทั้งหมด 920,089 ล้านเยน (6,868 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็น Backlog ที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2022 มีผู้ผลิตเครื่องจักรบางรายที่ทำสถิติ Backlog สะสมสูงเป็นประวัติการณ์ เช่น Okuma ทำสถิติ Backlog สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทด้วยมูลค่า 106,429 ล้านเยน (7.9 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ Makino ทำสถิติ Backlog สะสมอยู่ที่ 126,190 ล้านเยน (9.4 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ) สูงสุดเป็นรองจากเมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 3
นาย Yoshihiro Arai ผู้จัดการทั่วไป สำนักงานใหญ่ธุรกิจ Machine Tools & Systems บริษัท JTEKT แสดงความเห็นว่า แม้จะยังไม่สามารถมองเห็นภาพอนาคตหลังจากนี้ได้อย่างชัดเจน แต่สามารถคาดหวังได้
นาย Takashi Yamazaki ประธานบริษัท Yamazaki Mazak คาดว่า หลังจากนี้ความต้องการ Machine Tools ในอุตสาหกรรมอากาศยานจะเพิ่มขึ้น พร้อมกล่าวว่า สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือการทำตัวให้ “เบา” ที่สุด ด้วยการจัดการ Backlog ที่ค้างอยู่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
อย่างไรก็ตาม นาย Yoshiharu Inaba เสริมว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังคงนับว่ารุนแรง แม้ความต้องการชิ้นส่วนเครื่องจักรบางชนิด เช่น ชิ้นส่วนเครื่อง NC จะฟื้นตัวแล้ว แต่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงขาดแคลน
DMG MORI เป็นหนึ่งในบริษัทที่ประสบปัญหานี้ โดยนาย Masahiko Mori ประธานบริษัท คาดการณ์ว่า ในปี 2023 มีความเป็นไปได้ที่บริษัทจะสามารถทำยอดขายตามเป้า 5 แสนล้านเยน (3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ที่ตั้งไว้ได้ อย่างไรก็ตาม การจะมียอดขายมากกว่านี้เป็นเรื่องยากเนื่องจากการจัดหาชิ้นส่วน
นาย Toshiyuki Furukawa กรรมการผู้จัดการของ Citizen ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องกลึงอัตโนมัติเปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2023 ที่กำลังจะเริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายนที่จะถึงนี้ เป็นการเริ่มต้นด้วยยอด Backlog จำนวนมาก และบริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทางเลือกต่าง ๆ ให้พร้อม
#ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล #สั่งซื้อเครื่องจักร #เครื่องจักรญี่ปุ่น #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH