ยอดผลิตเหล็กจีนตก 6 เดือนซ้อน เหล็กเส้น เหล็กรีดร้อนขึ้นราคา
เหล็กดิบจีนกระทบหนัก พิษมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลจีนควบคุมการใช้-ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ลดน้อยลง ส่งผลให้การผลิตเหล็กลดลงต่อเนื่องมา 6 เดือนแล้ว ขณะที่เหล็กหลายชนิดได้ปรับขึ้นราคาแล้ว
Advertisement | |
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2021 สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics of China) รายงานว่า ยอดการผลิตเหล็กดิบจีน เดือนพฤศจิกายน 2021 ปิดที่ 69.31 ล้านตัน ลดลง 3.2% จากเดือนตุลาคม 2021 โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึง 22%
สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า สาเหตุที่กำลังการผลิตเหล็กจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากมาตรการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการผลิตกระแสไฟฟ้าของรัฐบาลจีน ซึ่งต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้ได้มากที่สุดก่อนปี 2030 ผนวกกับความต้องการปรับปรุงสภาพอากาศก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง
ด้วยเหตุนี้เอง ยอดการผลิตเหล็กดิบจีนจึงลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งสำนักวิเคราะห์ข้อมูลและราคาโลหะระดับโลก Mysteel รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา จีนมีอัตราการใช้กำลังการผลิตของเตาหลอมเหล็กที่โรงงานเหล็กเพียง 76% เท่านั้น
และในวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยและวางแผนอุตสาหกรรมโลหะ ประเทศจีน (China Metallurgical Industry Planning and Research Institute) ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2021 ยอดการผลิตเหล็กดิบจีนจะปิดที่ 1,040 ล้านตัน ลดลง 2.3% จากปีที่แล้ว และในปี 2022 จะปิดที่ 1,017 ล้านตัน ลดลง 2.2% จากปีนี้
อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์จากเหล็กหลายชนิดกลับมีราคาสูงขึ้น สืบเนื่องจากความต้องการของตลาด เช่น เหล็กเส้นก่อสร้าง, เหล็กรีดร้อนสำหรับยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า, และอื่น ๆ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กำลังการผลิตของโรงงานในจีนโดยรวมปรับขึ้นที่ 3.8% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการคาดการณ์
#เหล็ก #เหล็กดิบ #วิกฤตพลังงานจีน #วิกฤตขาดแคลนพลังงาน #จีนลดการใช้พลังงาน #ลดการปล่อย co2 #วัตถุดิบขึ้นราคา#จีน #Material Shortages 2021 #ผลกระทบ COVID-19 ต่อธุรกิจ #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH