‘ญี่ปุ่น’ อนุมัติ 4.3 พันล้านเหรียญ ดันลงทุนในประเทศ
METI เผยบริษัทญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเกือบ 500 บริษัท อนุมัติงบสนันสนุนรวม 4.3 พันล้านเหรียญ
ในปี 2020 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry: METI) ของญี่ปุ่นได้ออกนโยบายสนับสนุนการถอนฐานการผลิตจากประเทศที่กำหนด ภายใต้ชื่อ “โครงการส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ สำหรับซัพพลายเชน ปี 2020” โดยทุ่มงบประมาณ 2.2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการขนย้าย และค่าลงทุนเครื่องจักร จากนั้นสงครามรัสเซีย-ยูเครน และปัจจัยแวดล้อมอื่นช่วยกระตุ้นให้เกิดการย้ายฐานการผลิตและลงทุนในประเทศมากขึ้น
- ญี่ปุ่นทิ้งจีน ทุ่มงบ 2.2 พันล้านดอลลาร์ หนุนภาคธุรกิจย้ายฐานผลิตกลับประเทศ
- ‘ญี่ปุ่น’ เบนเข็ม ลงทุนการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น
Advertisement | |
ล่าสุด ข้อมูลจากโครงการฯ ฉบับปี 2022 ได้วิเคราะห์จุดอ่อนของซัพพลายเชนโลกที่เกิดจากโควิดไว้ ดังนี้
- ภาพรวมทั่วโลก การเดินทางลดลงส่งผลให้การขนส่งสินค้าทางอากาศลดลงตามไปด้วย
- สหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาการเคลื่อยย้ายแรงงานมีทักษะเนื่องจากมาตรการตรวจโควิดคนเข้าประเทศ ซึ่งปัจจุบันมาตรการนี้ถูกยกเลิกแล้ว
- จีน ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงมากขึ้นเนื่องจากมีแรงงานจำนวนมากยังไม่กลับไปทำงาน อีกทั้งการล็อกดาวน์เป็นระยะยังทำให้การจัดส่งสินค้าล่าช้า
- อาเซียน เกิดการหยุดชะงักของการจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- ยุโรป เกิดการขาดแคลนแรงงาน ใช้เวลาในการดำเนินการส่งสินค้าข้ามประเทศมากขึ้น และมีความล่าช้าในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
ด้วยจุดอ่อนของซัพพลายเชนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาฐานการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการผลิตสินค้า ชิ้นส่วน และวัสดุที่มีฐานการผลิตนอกประเทศจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการหยุดชะงักของซัพพลายเชน พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตญี่ปุ่นให้มั่นคง และทำงานได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความเข็งแข็งทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน
ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อปี 2020 และได้สิ้นสุดการเปิดรับสมัครรอบสองเมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 METI เปิดเผยว่า มีการอนุมัติเงินสนับสนุนรวมแล้ว 354 บริษัท แบ่งเป็นจากบริษัทขนาดใหญ่ 134 รายการ จาก SME 215 บริษัท และจากกลุ่ม SME 6 บริษัท โดยแบ่งตามหมวดหมู่สินค้าได้ ดังนี้
- เซมิคอนดักเตอร์ 106 บริษัท
- รถยนต์ไฟฟ้า 28 บริษัท
- อากาศยาน 14 บริษัท
- กังหันลม 10 บริษัท
- แบตเตอรี่ 5 บริษัท
- หน้ากากอนามัย 33 บริษัท
- แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 26 บริษัท
- เสื้อกาวน์แพทย์ 18 บริษัท
- หลอดและเข็มฉีดยา 9 บริษัท
- โลจิสติกส์ 27 บริษัท
- อื่น ๆ (เช่น ธาตุแรร์เอิร์ท, จอภาพ, เครื่องมือแพทย์, ถุงมือยาง)
ซึ่งทั้งหมดนี้ คิดเป็นเงินสนับสนุนรวมแล้ว 514,700 ล้านเยน หรือราว 3,618 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนการรับสมัครรอบที่ 3 ปิดรับผู้สมัครในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ระบุว่า มีบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนย้ายฐานการผลิตเพิ่ม 85 บริษัท จากธุรกิจในกลุ่ม Green และ Digital ซึ่งครอบคลุมในส่วนของผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ โดรน อากาศยาน กังหันลม กังหันก๊าซ เครื่องมืแพทย์ และอื่น ๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลแบ่งตามหมวดหมู่สินค้า และมีมูลค่ารวมที่ 97,400 ล้านเยน หรือราว 684 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจำนวน 85 บริษัทนี้ มี 13 บริษัทที่ถูกผลกระทบจากกสงครามรัสเซีย - ยูเครน
#ญี่ปุ่น #ลงทุนญี่ปุ่น #วิกฤตซัพพลายเชน #Mreport #onlinecontent #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH