UN เผย ‘โรดแมป’ ลดขยะพลาสติก 80% ภายในปี 2040
สหประชาชาติเผยโรดแมปใหม่ลดขยะพลาสติก หากประเทศและบริษัทต่าง ๆ ทำการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและตลาด ด้วยการใช้ซ้ำ รีไซเคิล ปรับทิศทางและกระจายทางเลือก อาจลดมลพิษจากพลาสติกได้มากถึง 80% ภายในปี 2040
วันที่ 16 พฤษภาคม 2023 สหประชาชาติ (United Nations: UN) เผย Roadmap ในการลดมลพิษพลาสติกฉบับใหม่ ก่อนการเจรจารอบสองในกรุงปารีสเกี่ยวกับข้อตกลงระดับโลกในการเอาชนะมลพิษจากพลาสติก ซึ่งระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในการยุติมลพิษจากพลาสติกและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน
Advertisement | |
มลพิษพลาสติกอาจลดลงร้อยละ 80 ภายในปี 2040 หากประเทศและบริษัทต่างๆ ทำการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและตลาดโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ ตามรายงานฉบับใหม่ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
(ข้อมูลจาก OECD และ Minderoo)
การประชุมสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 5 ในเดือนมีนาคม 2022 สมาชิก 193 ประเทศได้ตัดสินใจยุติปัญหาขยะพลาสติกด้วยการเจรจาข้อตกลงทางกฎหมายที่มีผลผูกพันภายในปี 2024 ซึ่งแม้จะมีโซลูชันทางเทคนิคมากมายสำหรับเศรษฐกิจพลาสติกแบบหมุนเวียน (Circular plastic economy) แต่การนำมาใช้พร้อมป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การคลัง และธุรกิจ ไปจนถึงการดำรงชีวิตยังคงไม่ชัดเจน
รายงานฉบับล่าสุดจาก UN จึงได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกผ่านการเปลี่ยนแปลงตลาด 3 ด้าน ดังนี้
Image Credit: United Nations
Reuse - ใช้ซ้ำ
เร่งกระตุ้นตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบใช้แล้วทิ้ง (Throw-away economy) เป็นสังคมที่ใช้ซ้ำ (Reuse society) ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งรัฐบาลต้องช่วยสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้น ส่งเสริมทางเลือกในการใช้ซ้ำ เช่น ขวดรีฟิล โครงการฝากคืน โครงการรับคืนบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อให้แน่ใจว่าตลาดการใช้ซ้ำมีธุรกิจที่แข็งแกร่งกว่าตลาดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การใช้ซ้ำมีความเป็นไปได้ในการลดขยะพลาสติกมากถึง 30% ภายในปี 2040 ด้วยแทนที่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นและเป็นปัญหามากที่สุด
Recycle - รีไซเคิล
รีไซเคิลพลาสติกจะช่วยลดมลพิษจากพลาสติกลงอีก 20% ภายในปี 2040 หากการรีไซเคิลกลายเป็นการลงทุนที่มั่นคงและให้ผลกำไรมากขึ้น ซึ่งการกระตุ้นตลาดรีไซเคลิจำเป็นต้องยกเลิกการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล การบังคับใช้แนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มความสามารถในการรีไซเคิล และมาตรการอื่น ๆ จะเพิ่มส่วนแบ่งของพลาสติกที่รีไซเคิลจาก 21% เป็น 50%
Reorient & Diversify - ปรับทิศทางและกระจายทางเลือก
สร้างตลาดสำหรับทางเลือกที่ยั่งยืนเพื่อทดแทนพลาสติก หลีกเลี่ยงการแทนที่พลาสติกด้วยวัสดุอื่นที่มีผลกระทบ คาดการณ์ว่าทางเลือกที่ยั่งยืนจะลดปริมาณขยะพลาสติกลงได้ 17% ภายในปี 2040 อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้ยังมีอุปสรรคในการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์จากเชื้อเพลงฟอสซิลบริสุทธิ์อื่น ๆ ทั้งด้านต้นทุน ผู้บริโภค ความต้องการ และการขาดระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสม
ไม่เพียง 3 ข้อข้างต้นเท่านั้น แต่ในช่วง 10 - 20 ปีข้างหน้ายังมีความต้องการการกำจัดขยะพลาสติกอื่น ๆ ทั้งพลาสติกที่ใช้ซ้ำไม่ได้ รีไซเคิลไม่ได้ ไปจนถึงขยะพลาสติกที่ปนเปื้อนในธรรมชาติแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากสามารถเดินหน้าตามแนวทางข้างต้น UN คาดการณ์ว่าในปี 2040 การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะสามารถสร้างตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น 700,000 ตำแหน่ง ประหยัดเงินได้ 1.27 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อพิจารณาจากต้นทุนและรายได้จากการรีไซเคิล และประหยัดได้อีก 3.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากปัจจัยภายนอก เช่น สุขภาพ ภูมิอากาศ มลพิษทางอากาศ ระบบนิเวศทางทะเล การฟ้องร้อง และอื่น ๆ
#plasticpollution #ขยะพลาสติก #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH