เฝ้าระวัง! ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น สี่เดือนแรก 2023 หดตัว 12.6%
ข้อมูลจากสมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่นเผยว่า ในช่วงสี่เดือนแรกนี้ (ม.ค. - เม.ย. 2023) ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นมีมูลค่ารวม 526,900 ล้านเยน (3,733 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 12.6% จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า หากปริมาณคำสั่งซื้ออยู่ในระดับนี้ไปต่อเนื่องจะทำให้ทั้งปีมียอดสั่งซื้อ 1.58 ล้านล้านเยน ต่ำกว่าเป้าหมาย 1.6 ล้านล้านเยน
Advertisement | |
นาย Yoshiharu Inaba ประธานสมาคม แสดงความเห็นต่อสถานการณ์นี้ว่า แม้ตัวเลขจะดูแล้วต่ำกว่าการคาดการณ์ แต่ความต้องการระบบอัตโนมัติและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้จะยังเป็นแรงผลักดันที่ทำให้รักษาระดับยอดสั่งซื้อในเกณฑ์ดีต่อไปได้
DMG MORI เป็นหนึ่งในบริษัทที่มียอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2023 เพิ่มขึ้นเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าในทุกภูมิภาคยกเว้นจีน ซึ่งนาย Masahiko Mori ประธานบริษัทเผยว่า เป็นยอดสั่งซื้อที่สูงกว่าคาดการณ์
ในทางกลับกัน Makino มียอดสั่งซื้อในไตรมาสแรกของปีนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยจีนเป็นภูมิภาคที่มียอดสั่งซื้อลดลงมากที่สุด โดยนาย Toshiyuki Nagano กรรมการบริหารผู้จัดการ คาดการณ์ว่ายอดสั่งซื้อจะลดลงอีกในไตรมาสที่สอง
สำหรับสถานการณ์ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล Fanuc เผยว่า จำนวนซัพพลายชิ้นส่วนเครื่องจักรของบริษัทลูกที่จีนในกลุ่มธุรกิจ Factory Automation กำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนาย Kenji Yamaguchi ประธานบริษัท แสดงความเห็นว่า ในมุมหนึ่งอาจเป็นเพราะความต้องการในภูมิภาคที่ลดลง และคาดการณ์ว่าไตรมาสแรกที่ผ่านมาจะเป็นช่วงเวลาที่ยอดสั่งซื้อลดลงต่ำที่สุด
Yaskawa Electric รายงานว่า ยอดสั่งซื้อเซอร์โวมอเตอร์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญใน Machine Tools และ Factory Automation ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2022 จนถึงกุมภาพันธ์ 2023 ลดลงเป็นอย่างมากก่อนฟื้นตัวในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม นาย Masahiro Ogawa ประธานบริษัท แสดงความเห็นว่า การเร่งฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยังไม่แข็งแรง และยังแทบไม่มีแรงผลักดันเลย
โดยปัจจัยที่ถูกคาดหวังให้เป็นแรงผลักดันในที่นี้ คือ ตลาดจีน ซึ่งปัจจุบันยังมีท่าทีเฝ้าระวังการลงทุน ข้อมูลจากสมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่นเผยว่ายอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลจากจีนในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2023 ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะเดือนเมษายนจะพบว่า ยอดสั่งซื้อจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรทั่วไปปิดที่ 1.02 หมื่นล้านเยน (72.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 33.5% คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของยอดสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นจากจีน และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ในขณะที่ยอดสั่งซื้อจากอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง 12.2% และจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ Precision ลดลง 49.2%
ยอดสั่งซื้อจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรทั่วไปเป็นตัวเลขที่แสดงความหลากหลาย และสะท้อนให้เห็นความต้องการการลงทุนของตลาด ซึ่งประธาน Inaba กล่าวแสดงความเห็นว่า “ในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรกลจีนถูกคาดการณ์ว่าการลงทุนจะฟื้นตัวในช่วงฤดูร้อน (มิถุนายน - สิงหาคม) นี้ จึงคาดหวังว่ายอดสั่งซื้อจะฟื้นตัวกลับมาเล็กน้อย”
นาย Atsushi Ieki ประธานริษัท Okuma แสดงความเห็นว่า อยากตั้งความคาดหวังไว้กับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโดยทั่วไปในช่วงฤดูร้อนเป็นจะเป็นช่วงที่หลายอุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม นาย Kentaro Maekawa นักวิเคราะห์จาก Nomura Securities แสดงความเห็นต่อรายงานตัวเลขเบื้องต้นของยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมที่ออกมาเร็ว ๆ นี้พบว่า ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่กำลังจะถึงช่วงจุดต่ำสุดแล้ว
#ลงทุนเครื่องจักร #ยอดสั่งซื้อเครื่องจักร #เครื่องจักรญี่ปุ่น #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม
ที่มา: Nikkan Kogyo Shimbun
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH