ฮอนด้าช้ำ ชิปไม่พอ คาดยอดขายทรุดหนักกว่าโควิด
ฮอนด้า (Honda) คาดชิปขาดตลาดกระทบรายได้หนักกว่าโควิด ปรับตัวเลขคาดการณ์ยอดขายปีงบประมาณ 2021 เหลือ 128,578 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ครั้งก่อน 7,485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Advertisement | |
วิกฤตชิปขาดตลาดยังคงรุนแรงมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ผลิตยานยนต์ และรายล่าสุดที่ได้รับผลกระทบหนัก คือ ฮอนด้า ซึ่งการระบาดระลอกที่ 2 ในอาเซียนได้ส่งผลต่อแผนธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก และคาดการณ์ว่าจะกระทบต่อรายได้ของบริษัทในปีงบประมาณ 2021 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มีนาคม 2022
- อ่านรายละเอียดการระบาดของโควิดในอาเซียน คลิก
Mr. Seiji Kuraishi รองประธานบริษัทฮอนด้า แสดงความเห็นว่า“สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นหลังปีใหม่ แต่ก็ยังดีไม่พอที่จะทำให้บริษัทฟื้นตัวได้ในปีงบประมาณนี้”
ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม 2021 ฮอนด้าคาดการณ์ว่าที่สิ้นปีงบประมาณ 2021 บริษัทจะมียอดขายรวมอยู่ที่ 15.4 ล้านล้านเยน หรือราว 136,062 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ทำให้ฮอนด้าปรับลดตัวเลขคาดการณ์ยอดขายในวันที่ 5 พฤศจิกายน เป็น 14.6 ล้านล้านเยน หรือราว 128,578 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้ามากถึง 8.5 แสนล้านเยน หรือราว 7,485 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยฮอนด้ารายงานว่า การคาดการณ์ครั้งล่าสุดในวันที่ 5 พฤศจิกายนนั้น เป็นการปรับแก้ตัวเลขครั้งที่ 2 ของปี คาดการณ์ว่าธุรกิจยานยนต์ของบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิปรุนแรง และจะมีรายได้ต่ำกว่าช่วงการระบาดของโควิดในปีที่แล้วเสียอีก
นอกจากนี้ สถานการณ์ด้านซัพพลายเชนยังมีแนวโน้มจะยืดยาวกว่าที่คิด ซึ่งในช่วงเดือนสิงหาคม และเดือนกันยายน 2021 ฮอนด้าจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตในญี่ปุ่นมากถึงราว 60% และมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
ไม่ใช่เพียงฮอนด้าเท่านั้นที่ประสบปัญหาหนัก โดย Mr. Kenta Kon เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทโตโยต้า ได้แสดงความเห็นต่อสถานการณ์นี้ว่าไม่เพียงแค่การขาดแคลนชิ้นส่วนและต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ค่ายรถญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบจากปัญหาค่าเงินเยนด้วย
มิตซูบิชิ เป็นอีกบริษัทที่รายงานตรงกัน โดยคาดการณ์ว่าในปีงบประมาณ 2021 วิกฤตต่าง ๆ จะทำให้บริษัทผลิตยานยนต์ได้น้อยกว่าเป้าหมายเดิมราว 64,000 คัน
สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้น มีรายงานว่าปัญหาค่าเงินเยนไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลนักเมื่อพิจารณาจากราคาขายสินค้าที่ถูกกว่าการขายรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มซัพพลายเออร์โดยตรง ยกตัวอย่างเช่นซัพพลายเออร์รายใหญ่ในเครือฮอนด้าจำนวน 6 จาก 8 รายคาดว่าจะมีรายได้ในปีงบประมาณ 2021 ลดลง
โดย Masanari Yasuda ประธานบริษัท TS TECH ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเครือฮอนด้า เปิดเผยว่าเดิมทีบริษัทได้ประเมินความเสี่ยงในปีงบประมาณนี้เอาไว้แล้ว แต่พบว่าวิกฤตต่าง ๆ ทำให้บริษัทสูญเสียรายได้มากกว่าที่คาดการณ์
อ่านต่อ
- ฮอนด้าปักธงปี 2030 เลิกขายรถเครื่องยนต์สันดาปในจีน
- จับตาภาคธุรกิจ ฝ่าวิกฤตซัพพลายเชน โดมิโน่เอฟเฟกต์จากโควิด
- ปลดล็อกเศรษฐกิจโลก 5 ปัจจัยชี้วัด “วิกฤตซัพพลายเชน” คลี่คลาย
#Honda #ฮอนด้า #โควิด #ผลกระทบ โควิด #ซัพพลายเชน #ผลกระทบจากโควิด 19 ต่อธุรกิจ #วิกฤตซัพพลายเชน 2021 #วิกฤตซัพพลายเชน #Supply Chain Crisis 2021 #โลจิสติกส์ #ตู้สินค้าขาดแคลน #ชิ้นส่วนขาดตลาด #ชิปขาดตลาด #วิกฤต ชิป #ชิป รถยนต์ ขาดตลาด #Semiconductor ขาดตลาด #Semiconductor Shortage 2021 #ผลกระทบ ชิปขาดแคลน #ขึ้นราคา #ราคาวัตถุดิบ #สินค้าราคาแพง #ซัพพลายเชน #ปัญหาการขนส่งสินค้า #Mreport #mreportth #เอ็มรีพอร์ต #ข่าวอุตสาหกรรม #วงในอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH