วิกฤตขาดแคลนชิป วิกฤตชิปขาดตลาด ปัญหาใหญ่

ทำไมชิปขาดตลาด? วิกฤตขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมองข้าม

อัปเดตล่าสุด 22 มี.ค. 2564
  • Share :

♦ "Chip Shortage 2021: วิกฤตชิปขาดตลาด" ได้ถูกพูดถึงและสร้างปัญหาในวงกว้าง

♦ หลายค่ายรถออกมาคาดการณ์ถึงการสูญเสียรายได้ในปีนี้ เพราะไม่สามารถผลิตรถได้เนื่องจากขาดแคลนชิป

♦ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมไอทีที่เริ่มได้รับผลกระทบ ทั้ง Qualcomm และ Samsung สองรายใหญ่กังวลต่อสถานการณ์ขาดแคลนชิปที่รุนแรงมากกว่าที่คิดไว้

 

Advertisement

ไม่นานมานี้ ปัญหาชิป Semiconductor ขาดตลาดได้กลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง และกำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่ส่งต่ออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างรุนแรง ทำโรงงานประกอบยานยนต์หลายแห่งจำเป็นต้องยุติการผลิตชั่วคราว 

  • ค่ายรถดิ้น เจรจาไต้หวันแก้วิกฤตขาดแคลนชิปยานยนต์
  • General Motors เปิดเผยว่าอาจเสียรายได้จากการขาดแคลนชิปยานยนต์ถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้
  • Ford คาดการณ์ในทิศทางเดียวกันว่าจะเสียรายได้ 1 - 2.5 พันล้านสหรัฐดอลลาร์สหรัฐ
  • Continental แสดงความเห็นว่า ปัญหาขาดแคลนชิปอาจเป็นคอขวดของอุตสาหกรรมยานยนต์ตลอดปีนี้
  • Volkswagen รายงานเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมาว่า การขาดแคลนชิปทำให้บริษัทไม่สามารถประกอบยานยนต์ได้ราว 100,000 คัน

ปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น แต่ปัญหานี้กำลังทำให้อุตสาหกรรมไอทีและอิเล็กทรอนิกส์ต้องเผชิญวิกฤตชิปขาดตลาดเช่นกัน แม้ว่า Qualcomm จะเคยรายงานว่าการขาดแคลนชิปจะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกค้ามากนักในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถัดมาไม่นานนัก ได้รายงานถึงความต้องการชิปในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นเหนือการคาดการณ์เป็นอย่างมาก

ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2021 ทาง Samsung เป็นอีกรายที่ได้ออกมาแสดงความกังวลต่อปัญหาการขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมไอที ซึ่ง Co-CEO Koh Dong-jin เปิดเผยว่า จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของซัมซุงในไตรมาสที่ 2 อีกด้วย

ทำไมชิปขาดตลาดจึงเป็นปัญหาใหญ่?

สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association: SIA) รายงานว่า ปัจจุบันตลาดชิปเซมิคอนดักเตอร์กำลังอยู่ในขาขึ้น และมีความต้องการชิปเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ มักจะรักษาระดับการผลิตไว้ที่ 80% อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ ความต้องการของตลาดที่พุ่งสูง ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต้องยกระดับการผลิตขึ้นมาอยู่ที่ 90-100% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปี 2021 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการชิปในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก

วิกฤตขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมองข้าม?

โดยทั่วไปแล้ว การเพิ่มกำลังผลิตเซมิคอนดักเตอร์ต้องใช้เวลามาก เนื่องจากชิปเซมิคอนดักเตอร์เป็นผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กที่มีความซับซ้อนสูง ต้องการทักษะ ความแม่นยำ และเครื่องจักรกลเฉพาะทางในการผลิต อีกทั้งจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล และในการผลิตชิปเวเฟอร์เซมิคอนดักเตอร์บางประเภทจำเป็นต้องผ่านกระบวนการมากถึง 1,400 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นก็ล้วนต้องการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เหมาะสมทั้งสิ้น ทำให้การเพิ่มกำลังผลิตเซมิคอนดักเตอร์เป็นเรื่องลำบากและใช้เวลาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโดยทั่วไปใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 12 สัปดาห์

นอกจากการเพิ่มกำลังผลิตแล้ว กระบวนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เองก็ใช้เวลาเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยทั่วไปมี Cycle Time เฉลี่ยอยู่ที่ 12 สัปดาห์ และมากถึง 14 - 20 สัปดาห์สำหรับชิปประสิทธิภาพสูง ในขณะที่การผลิตชิปแบบ Custom ตามความต้องการของลูกค้าอาจใช้เวลามากถึง 26 สัปดาห์ด้วยกัน

และเมื่อการผลิตแล้วเสร็จ ชิ้นงานที่ได้ยังต้องผ่านกระบวนการอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเรียกว่า Assembly, Test, and Package (ATP) เสียก่อน จึงจะสามารถส่งชิปให้กับลูกค้าได้ ซึ่งกระบวนการ ATP อาจใช้เวลามากถึง 6 สัปดาห์จึงจะแล้วเสร็จ ทำให้ Lead Time ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์นับตั้งแต่ได้รับคำสั่งซื้อ ไปจนถึงการจัดส่งใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ราว 26 สัปดาห์ด้วยกัน

วิกฤตขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมองข้าม?
Photo: Semiconductor Industry Association (SIA)

ซึ่งปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการเร่งเพิ่มกำลังผลิต เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากการระบาดของโควิดที่กระตุ้นยอดขายคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ปี 2020 ทำให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทั้งหมด และจำเป็นต้องเลือกว่าจะจัดส่งชิปให้ลูกค้ารายใดก่อน

แน่นอนว่า ในระยะยาว อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งยานยนต์ ไอที และอิเล็กทรอนิกส์ที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลำพังการเพิ่มกำลังผลิตเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จึงกำลังร่วมมือกันเพื่อหาทางออกและวางแผนรองรับตลาดในอนาคตอีกด้วย

 

#Semiconductor ขาดตลาด #ทำไมชิปขาดตลาด #วิกฤตชิปขาดแคลน #วิกฤตชิปขาดตลาด #ผลกระทบ ชิปขาดแคลน #ผลกระทบ ชิปขาดตลาด #อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2021 #Chip Shortage 2021 #Semiconductor Shortage 2021#ชิปขาดตลาด #ชิปขาดแคลน #ผู้ผลิตชิป #TSMC #Samsung Electronics #Intel #โรงงานผลิตชิปวงจรรวม #ปัญหาการขาดแคลนชิปวงจรรวมในตลาดโลก #ชิปวงจรรวม ขึ้นราคา #อุตสาหกรรมชิปวงจรรวม#วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #Mreport #M Report #mreportth

 

Semiconductor ขาดตลาด ชิปขาดแคลน :

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH