“ฮีโน่” จ่อคุยซัพพลายเออร์ “ลดจำนวนชิ้นส่วน” หลังประกาศเดินหน้ารถบรรทุกไฟฟ้า
ฮีโน่ มอเตอร์ (Hino Motors) เตรียมคุยซัพพลายเออร์ ลดจำนวนชิ้นส่วนในรถบรรทุกเครื่องยนต์สันดาปลงด้วยการออกแบบให้ใช้ชิ้นส่วนร่วมกันได้ หลังประกาศเดินหน้าสู่ยุครถบรรทุกไฟฟ้า
Advertisement | |
ชิ้นส่วนหลักที่จะถูกลดจำนวนประกอบด้วยชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ชุดเกียร์ และชิ้นส่วนจากเหล็กหลอมและเหล็กหล่ออื่น ๆ โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถแจ้งรายละเอียดให้กับซัพพลายเออร์ได้ภายในปีงบประมาณ 2021 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2022 ที่จะถึงนี้
ปัจจุบัน เครื่องยนต์ของฮีโน่มีทั้งหมด 5 รุ่นหลัก ซึ่งมีชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เดียวกัน แต่มีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความซับซ้อนในการผลิต หากออกแบบให้ใช้ชิ้นส่วนร่วมกันได้ ก็จะทำให้ความต้องการผลิตชิ้นส่วนที่หลากหลายลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายละเอียดในการปรับแก้ดีไซน์ ซึ่งทางฮีโน่จะทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิ้นส่วนเพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสม
Advertisement | |
นอกจากนี้ ฮีโน่ยังเปิดเผยว่าเมื่อรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าและรถบรรทุกเซลล์พลังงานเชื้อเพลิง (Fuel Cell Truck) แพร่หลายยิ่งขึ้นในอนาคต จำนวนชิ้นส่วนต่อคันก็จะลดจำนวนลงไปอีก ซึ่งการลดจำนวนชิ้นส่วนและรูปแบบชิ้นส่วนให้น้อยลงจะช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แม้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าอาจจะยังเป็นเรื่องไกลตัวเมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า แต่หากสามารถได้ข้อสรุปตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าจะลดจำนวนชิ้นส่วนใดบ้าง จะเลิกผลิตชิ้นส่วนใด หรือจะใช้ชิ้นส่วนแบบไหนทดแทนแล้ว ก็ย่อมเป็นผลดีต่อซัพพลายเออร์เช่นกัน
“ความชัดเจนของจำนวนชิ้นส่วนที่จะผลิตในอนาคต จะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจว่า จะลงทุนเพื่อการผลิตชิ้นส่วนต่อไปหรือไม่?”
ฮีโน่คาดว่า ภายในปี 2030 ยอดขายรถบรรทุกราว 20-30% ของบริษัทจะเป็นรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดเล็ก ในขณะที่รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่อาจต้องรอถึงปี 2030 - 2040 แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน
เจาะลึก 3 ค่าย TOYOTA-ISUZU-HINO รวมพลังดันเทคโนโลยี CASE สู่ยานยนต์เชิงพาณิชย์
#Hino Motors #ฮีโน่ #รถบรรทุก #รถบรรทุกไฟฟ้า #รถบรรทุกเซลล์พลังงานเชื้อเพลิง #FCV #ชิ้นส่วนยานยนต์ #รถยนต์ไฟฟ้า #อุตสาหกรรมยานยนต์ #เอ็ม รีพอร์ต #M Report #mreportth #Mreport #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH