AI กับอุตสาหกรรมการผลิต กรณีศึกษา SMEs ญี่ปุ่น
♦ ผลสำรวจธุรกิจญี่ปุ่นเผย 88.3% มีความสนใจใช้ AI, ใช้งานแล้ว, หรือมีแผนใช้งาน
♦ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) คาดการณ์ว่า ในปี 2568 ธุรกิจ SMEs จะใช้ AI สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 1แสนล้านเหรียญ
Advertisement | |
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI มีบทบาทสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมการผลิตที่กำลังมุ่งสู่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ซึ่งมีสายการผลิตอัตโนมัติเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ
สำหรับประเทศญี่ปุ่น สำนักงานส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IPA) ได้จัดทำ White Paper ในหัวข้อปัญญาประดิษฐ์ ฉบับปี 2020 ซึ่งรายงานว่า ธุรกิจญี่ปุ่นมีความสนใจใช้ AI, ใช้งานแล้ว, หรือมีแผนใช้งานรวมแล้วมากถึง 88.3% อย่างไรก็ตาม ราวครึ่งหนึ่งของธุรกิจญี่ปุ่นยังไม่มีกรอบเวลาว่าจะนำมาใช้งานจริงเมื่อไหร่
กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) คาดการณ์ว่า การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในกลุ่ม SMEs จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 11 ล้านล้านเยน หรือราว 1แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568
การใช้งาน AI ของบริษัท SME ในอุตสาหกรรมการผลิตญี่ปุ่น แม้จะยังมีจำนวนไม่มาก แต่ก็มีตัวอย่างการใช้งานที่น่าสนใจ
ต่อยอดการใช้งาน AI ในโรงงาน สู่บริการใหม่
โรงงาน Hilltop ผู้พัฒนา “COMlogiQ”
Hilltop ร่วม Yamazen เปิดบริการ “COMlogiQ” โปรแกรมอัตโนมัติสำหรับตัดเฉือนชิ้นงาน โดยใช้ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพ มีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2022
เดิมที Hilltop เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างต้นแบบชิ้นส่วนอะลูมิเนียม ซึ่ง Mr. Yuki Yamamoto กรรมการผู้จัดการ บริษัท Hilltop แสดงความเห็นต่อโปรแกรม COMlogiQ ว่า โปรแกรมที่ทำงานได้อัตโนมัติเช่นนี้ จะสามารถช่วยลดความต้องการแรงงานในสายการผลิตได้เป็นอย่างมาก และจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ในอนาคต
COMlogiQ ใช้ AI ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อโปรแกรมเข้ากับฐานข้อมูลการตัดเฉือนชิ้นงานโดยอัตโนมัติของ Hilltop ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานที่ต้องใช้ทักษะสูงได้ง่ายขึ้น เช่นกรณีการใช้เครื่อง 5 แกนสามารถทำได้ง่ายขึ้นแม้ผู้ใช้งานจะมีประสบการณ์ไม่มากก็ตาม
นอกจากนี้ โปรแกรมที่ทั้งสองบริษัทร่วมพัฒนาขึ้น ยังสามารถเปลี่ยนโมเดล 3D เป็น NC Data ได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย
ใช่ AI ลดข้อผิดพลาด สร้างโอกาสทางธุรกิจ สู่ฐานเงินเดือนที่มากขึ้น
สายการผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียม บริษัท NAIGAI ซึ่งมี AI เป็นส่วนหนึ่ง
NAIGAI ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะลูมิเนียมสำหรับยานยนต์ เป็นอีกรายที่นำ AI มาใช้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเลือกใช้ AI ในการวิเคราะห์ชิ้นงาน แล้วเชื่อมโยงข้อมูลชิ้นงานเข้ากับฐานข้อมูลการผลิตเพื่อตรวจสอบคุณภาพว่าได้ตามมาตรฐานหรือไม่ โดยลงทุนไปทั้งสิ้น 6 ร้อยล้านเยน หรือราว 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สามารถรองรับออร์เดอร์จากค่ายรถในอนาคตที่ต้องการชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
สำหรับการวิเคราะห์ชิ้นงานบนสายการผลิตนั้น ทาง NAIGAI ใช้กล้องคู่กับ Deep Learning เพื่อให้ AI เรียนรู้ว่า ชิ้นงานชิ้นไหนได้คุณภาพ หรือชิ้นไหนไม่ได้ตามมาตรฐาน จากนั้นจึงประเมินว่าชิ้นงานที่ไม่ได้คุณภาพเกิดจากความผิดพลาดในส่วนใด เช่น แม่พิมพ์มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปหรือไม่ หรือสภาพอากาศภายนอกมีผลกระทบต่อการผลิตหรือไม่ เพื่อลด Defect ในสายการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด
นอกจากนี้ AI ยังเชื่อมกับเครื่องจักรกลเพื่อควบคุมปัจจัยอื่น เช่น การไหลของอะลูมิเนียมอีกด้วย
Mr. Jun Ozawa ประธานบริษัท NAIGAI เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ที่ค่ายรถหันมาโฟกัสรถยนต์ไฟฟ้า ทางบริษัทฯ ก็ให้ความสำคัญกับชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าแทนชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป และพบว่าจำเป็นต้องติดตั้งสายการผลิตใหม่ทั้งหมด
ซึ่งการนำ AI มาใช้ มีส่วนช่วยให้รู้ว่าสายการผลิตมีข้อผิดพลาดใดบ้าง เพื่อให้บริษัทฯ สามารถแก้ไข นำไปสู่คุณภาพชิ้นงานที่เพิ่มขึ้น และโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันแล้วพบว่า บริษัทสามารถเพิ่มเงินเดือนพนักงานทั้งหมดได้ 20% ในปี 2023
#AI กับอุตสาหกรรมการผลิต #AI #ใช้ AI ในสายการผลิต #ใช้ AI ในโรงงาน #ใช้ AI วิเคราะห์ชิ้นงาน #เทคโนโลยี #เทคโนโลยี AI #เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ #ปัญญาประดิษฐ์ #เทคโนโลยีการผลิต #สายการผลิต #ผู้ผลิตชิ้นส่วน #ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ #เครื่อง 5 แกน #Productivity #ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต #COMlogiQ #software #โปรแกรมอัตโนมัติ #ตัดเฉือนชิ้นงาน #Metalworking #Hilltop #Yamazen #Naigai #Mreport #mreportth #SMEs
อ่านต่อ
- Machine Tools ยุคดิจิทัล “แบรนด์หลัก” ตีโจทย์อย่างไร?
- เมื่อเข้าสู่ Smart Factory คุณพร้อมรับมือ “วัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่” หรือยัง?
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH