ซัพพลายเชนโลก ก.ค. 65 ผ่อนคลายสุดในรอบ 18 เดือน
ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ดัชนีความตึงเครียดซัพพลายเชนโลกลดลงอยู่ที่ระดับ 1.84 ต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือน นับเป็นสัญญาณดีที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
วิกฤตซัพพลายเชนเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโควิด ทำให้ธุรกิจจำนวนมากประสบปัญหาในการบริหารจัดการซัพพลายเชน ทั้งต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบที่พุ่งสูง ค่าพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ความล่าช้าของระบบขนส่งและโลจิสติกส์ ไปจนถึงการขาดแคลนชิ้นส่วนหลายรายการ
- ปลดล็อกเศรษฐกิจโลก 5 ปัจจัยชี้วัด “วิกฤตซัพพลายเชน” คลี่คลาย
- Maersk มอง 'ค่าขนส่งสินค้า' ไม่ถูกลงในเร็ว ๆ นี้
Advertisement | |
แม้ในช่วงต้นปี 2022 สถานการณ์ซัพพลายเชนโลกที่เริ่มคลี่คลายได้บ้าง แต่ก็ต้องรับผลกระทบจากการกลับมาระบาดของโควิด และเผชิญกับสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้ความตึงเครียดด้านซัพพลายเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
และเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2022 รอยเตอร์อ้างอิงข้อมูลธนาคารกลางแห่งนิวยอร์ก ระบุในเดือนกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมานี้ ดัชนีความตึงเครียดซัพพลายเชนทั่วโลก (Global Supply Chain Pressure Index: GSCPI) อยู่ที่ระดับ 1.84 ต่ำที่สุดรอบ 18 เดือน และเป็นตัวเลขที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ด้านซัพพลายเชนโลกที่เริ่มฟื้นตัว
แม้ตัวเลขนี้จะยังแสดงให้เห็นว่าซัพพลายเชนโลกยังอยู่ในสภาวะตึงเครียด และยังไม่ฟื้นตัวเทียบเท่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด แต่ก็ลดลงต่ำกว่าระดับสูงสุดนับแต่บันทึกสถิติในเดือนธันวาคม 2022 ซึ่งดัชนีพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 4.32
Image Credit: Federal Reserve Bank of New York
โดยเว็บไซต์ธนาคารกลางแห่งนิวยอร์ก ระบุว่า แนวโน้มที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2022 แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ในซัพพลายเชนโลกกำลังเริ่มคลี่คลายลง แม้ความตึงเครียดจะยังอยู่ในเกณฑ์สูงก็ตาม
ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลจาก S&P Global and JPMorgan เปิดเผยแนวโน้มตรงกัน โดยดัชนีระยะเวลาการส่งมอบของซัพพลายเออร์ได้ปรับตัวขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็วยิ่งขึ้น มีความล่าช้าน้อยลง
#ซัพพลายเชน #โลจิสติกส์ #ขนส่งสินค้า #Mreport #onlinecontent #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH