ฟอร์ด เอาจริง! ผลิตรถอีวี เพิ่มลงทุนเป็น 2 หมื่นล้านเหรียญ
ฟอร์ด (Ford) ประกาศเพิ่มเงินลงทุกอีกเท่าตัวจาก 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 5 - 10 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนโรงงานที่มีอยู่ทั่วโลกให้เป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2022 สื่อตะวันตกหลายสำนักรายงานการประกาศเพิ่มเงินลงทุนด้านรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ (Ford Motor Company) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผน Ford+ ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 2 ของสหรัฐฯ ที่เคยได้ให้คำมั่นกับนักลงทุนว่าจะใช้จ่ายมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับพัฒนารถอีวีและแแบตเตอรี่ภายในปี 2030
Advertisement | |
แหล่งข่าวของบลูมเบิร์กระบุว่า ความเคลื่อนไหวของฟอร์ดในครั้งนี้เป็นผลจากการการผลักดันของนาย Doug Field ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำงานกับแอปเปิลและเทสล่าในช่วงของการพัฒนา Model 3 และได้ย้ายมาทำงานกับฟอร์ดโดยเข้ามานำทีมเทคโนโลยีขั้นสูงและระบบสมองกลฝังตัวตั้งแต่กลางปี 2021 ที่ผ่านมา
โดยฟอร์ดอยู่ระหว่างประเมินการทำ Spin-off ธุรกิจรถอีวีออกเป็นบริษัทลูกเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของนักลงทุน
นอกจากการเพิ่มเงินลงทุนแล้ว ฟอร์ดยังมีแผนจ้างวิศวกรเพิ่มเพื่อพัฒนาแบตเตอรี่ ปัญญาประดิษฐ์ และซอฟต์แวร์สำหรับรถอีวี ตอบรับกับแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในยานยนต์ และเทรนด์ของ Connected Car ที่กำลังเติบโตในขณะนี้
ทางด้านสื่ออื่น ๆ นั้น The Verge รายงานเสริมว่า ฟอร์ดอาจมีการจ้างงานใหม่มากถึง 8,000 ตำแหน่ง และแสดงความเห็นว่าการลงทุนของฟอร์ดนั้นมีสาเหตุหลักอยู่ที่การดึงดูดนักลงทุน แม้ว่าปัจจุบันฟอร์ดจะมียอดขายรถสูงกว่าเทสล่าแต่มูลค่าหุ้นในตลาดกลับสวนทาง
ฟอร์ดเร่งเดินหน้าด้านรถอีวีอย่างจริงจัง ทั้งการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างหนัก ทั้ง F-150 Lightning ที่เสริมกำลังการผลิตขึ้น 2 เท่า และ Mustang Mach-E เสริมกำลังการผลิตขึ้น 3 เท่า ไปจนถึงแผนเปิดตัวรถแวนไฟฟ้าในปีนี้
CNBC แสดงความเห็นว่า การเพิ่มเงินลงทุนของฟอร์ดไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนักเมื่อพิจารณาจากการเร่งลงทุนในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถทั่วโลก
#FordEV #Ford2030 #ฟอร์ดอีวี #รถยนต์ไฟฟ้า #Mreport #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH