“ลดคาร์บอน” คลื่นลูกใหม่ ท้าทายธุรกิจโลก
ในปีนี้หลายองค์กรทั่วโลกได้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ผ่านการออกนโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการคิกออฟสู่เป้าหมายแรกในปี 2030 ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20-25%
ก่อนจะไปถึงเป้าหมายใหญ่ 2050 Carbon Neutral หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งก็คือการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ในปี 2050
Advertisement | |
“ลดคาร์บอน” คลื่นลูกใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นทุกที่ทั่วโลก
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่ชั้นบรรยากาศกลายเป็นประเด็นที่หลายบริษัททั่วโลกหยิบขึ้นมาถกเถียงในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในปีนี้ เช่น ExxonMobil บริษัทน้ำมันรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกาที่ตัดสินใจรับนักลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม 3 รายเข้ามาร่วมในบอร์ดบริหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021
Sustainable Investments Institute องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า แนวโน้มเช่นนี้จะไม่หยุดอยู่ที่บริษัทน้ำมัน แต่จะแผ่กระจายไปยังบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก โดยในปี 2020 ที่ผ่านมา บริษัทในสหรัฐอเมริกามีการยื่นข้อเสนอด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งวาระสำคัญในการประชุมสามัญของบริษัทมากถึง 72 บริษัท และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 90 บริษัทในปีนี้
ในญี่ปุ่นเอง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมถูกยกระดับความสำคัญ โดยในเดือนเมษายน 2021 ตลาดหลักทรัพย์โตเกียวได้ประกาศปรับปรุงโครงสร้างตลาดเป็นหุ้น 3 กลุ่ม คือ “Standard Market” “Growth Market” และ “Prime Market” ซึ่งบริษัทที่มีมูลค่าสูงและถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Prime Market จะต้องเปิดเผยข้อมูลข้อมูลผลประกอบการทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์สภาพภูมิอากาศ (The Task Force on Climate-related Financial Disclosures : TCFD)
สำหรับการตอบรับต่อ TCFD นั้น ปัจจุบันมีบริษัทและสถาบันการเงินกว่า 2,156 องค์กรทั่วโลกให้การสนับสนุน โดยองค์กรเหล่านี้อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนไกด์ไลน์ของตนเองให้สอดคล้องกับ TCFD เช่น การเปิดเผยความเสี่ยงที่บริษัทมีต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นไปได้ในการลดผลกระทบ
“รถยนต์ไฟฟ้า” ที่กำลังเบ่งบาน คือหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญ
หากจะกล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นผู้รับผลกระทบรายแรกและรุนแรงจากมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็ไม่ผิดนัก การเปลี่ยนจากรถยนต์ใช้น้ำมันเพื่อมุ่งสู่รถยนต์ไฟฟ้าเป็นต้นทุนที่มหาศาล และยังเดิมพันกับอนาคตที่ไม่มีใครรู้ปลายทาง
แต่เมื่อมาถึงวันนี้ผู้ผลิตรถยนต์ที่เร่งพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าก็นับว่ามีภาษีดีกว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านทำให้มีหลายเทคโนโลยีเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฮบริด รวมถึงรถยนต์เซลล์พลังงานเชื้อเพลิง
“เทคโนโลยีในมือของผู้ผลิตยานยนต์ ” กลายเป็นหนึ่งบทพิสูจน์ความสามารถในการแข่งขันที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในตลาดยานยนต์มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจและดึงดูดผู้ร่วมทุน
ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการร่วมมือกันของหลายผู้ผลิต ไปจนถึงการเข้าซื้อกิจการ
Mr. Masahiko Maeda Chief Technology Officer บริษัท Toyota แสดงความเห็นว่า บริษัทจำเป็นต้องตีกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีให้แคบลง เพื่อให้มีเงินทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการของลูกค้ายังคงหลากหลาย สวนทางกับความจำเป็นในเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
Mr. Hiroshi Nagaoka รองประธานฝ่ายบริหาร Mitsubishi Motors เปิดเผยว่า มิตซูบิชิ จะผลักดันการลดคาร์บอนด้วยรถปลั๊กอินไฮบริด
Mr. Tomomi Nakamura ประธานบริษัท SUBARU รายงานว่า เทคโนโลยีมอเตอร์รถยนต์ไฟฟ้าสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างหลากหลาย แต่บริษัทต้องไม่ลืมคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้รถ และการให้ความสำคัญกับประสบการณ์การขับขี่ต่อไป
Mr. Yukihiro Shinohara เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร บริษัท DENSO เปิดเผยว่า ตั้งแต่มีการประกาศมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และตัวเลขเป้าหมายของบริษัทออกมา ผู้ถือหุ้นและซัพพลายเออร์ของบริษัทก็มีเสียงต่อต้านเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม Mr. Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota ทิ้งท้ายว่า อยากให้ญี่ปุ่นมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ จากองค์ความรู้ที่มีอยู่แต่เดิมไว้เป็นตัวเลือกในอนาคตด้วย
"นโยบายสิ่งแวดล้อม" วาระใหม่ในการประชุมสามัญขององค์กร
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของ Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2021
ในการประชุมผู้ถือหุ้นของ Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2021 สมาชิก NGO 3 รายที่เป็นผู้ถือหุ้น แสดงความเห็นว่าแนวทางของบริษัทไม่สอดคล้องกับความตกลงปารีส และได้เสนอให้มีการปรับไกด์ไลน์บริษัทใหม่ อย่างไรก็ตาม ทาง MUFG ได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้ โดยให้เหตุผลว่า “การปรับแนวทางธุรกิจตามความเห็นของคนที่ไม่อยู่ในธุรกิจเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล” อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอที่ว่าได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรวม 23% สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของมาตรการลดกาารปล่อยคาร์บอนจากภาครัฐ
Mizuho Financial Group อยู่ในสถานการณ์ใกล้เคียงกัน โดยเปิดเผยว่าในการประชุม คำถามเกินครึ่งเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อยากเห็นมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท หรือบริษัทมีแนวโน้มลงทุนเพื่อลดการใช้ถ่านหินอย่างไร
Sumitomo Corporation เป็นอีกรายที่ถูกผู้ถือหุ้นจากออสเตรเลียเรียกร้องให้ปรับแนวทางบริษัทให้สอดคล้องกับความตกลงปารีส และถูกสอบถามถึงการสร้างสำนักงานใหม่ที่บังกลาเทศซึ่งยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินอยู่ ทำให้ถูกตั้งแง่ว่าจะสามารถไปถึงเป้า Carbon Neutrality ภายในปี 2050 ได้จริงหรือไม่
ในทางกลับกัน การลงทุนในเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซก็ได้รับความสนใจมากขึ้น เช่น Mitsui & Co. ที่ดึงดูดนักลงทุนด้วยการประกาศลงทุนในการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยก๊าซ และ Itochu ที่เปิดเผยว่าบริษัทจะมุ่งเดินหน้าตามเป้า Carbon Neutrality อีกด้วย
#Climate Change #Carbon Neutrality #2050 Carbon Neutral #ความเป็นกลางทางคาร์บอน #ลดคาร์บอน #ลดคาร์บอนไดออกไซด์ #ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน #เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน #นโยบายสิ่งแวดล้อม 2564 #นโยบายสิ่งแวดล้อม บริษัท #นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โรงงาน #มาตรการลดโลกร้อน #รถยนต์ไฟฟ้า #อุตสาหกรรมยานยนต์ #เอ็ม รีพอร์ต #M Report #mreportth #Mreport #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH