โต‌โย‌ต้า‌ แผนพัฒนา‌แบตเตอรี่‌ รถยนต์ไฟฟ้า

โต‌โย‌ต้า‌ ‌ทุ่มพัฒนา‌แบตเตอรี่‌ หวัง‌กด‌ราคา‌รถยนต์‌ไฟฟ้า‌ลง‌ ‌50%‌ ‌ภายใน‌ปี‌ ‌2030‌

อัปเดตล่าสุด 9 ก.ย. 2564
  • Share :
  • 1,346 Reads   

โตโยต้า (Toyota) ทุ่มพัฒนาแบตเตอรี่รถอีวี คาดใช้งบกว่า 1.5 ล้านล้านเยน หรือราว 13,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 หวังกดราคารถยนต์ไฟฟ้าลง 50% เพิ่มความนิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้า ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Advertisement

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2021 โตโยต้าได้เปิดเผยถึงการพัฒนาแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอน พร้อมเร่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) เพื่อเพิ่มตัวเลือกและสร้างความแพร่หลายให้แก่รถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้า

  • ฟรี ทดลองวัดชิ้นงานอะไหล่ วัดทุกจุดใน 3 วินาที ด้วยเครื่องดิจิตอลโปรไฟล์โปรเจคเตอร์ Keyence คลิกเลย

สำหรับการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้น โตโยต้าเน้นย้ำถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ตลอดวงจรชีวิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องไม่รีรอ แต่กลับต้องพยายามในทุกทาง โดยมุ่งเน้นไปที่วิธีหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือวิธีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ใกล้เคียงกับศูนย์มากที่สุด

ตัวอย่างเช่น จากการคำนวณการลดก๊าซคาร์บอนของรถยนต์ไฮบริดสามคันจะเทียบเท่ารถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่หนึ่งคัน ซึ่งปัจจุบันการผลิตรถยนต์ไฮบริดสามารถทำได้ในราคาที่ย่อมเยา จึงเป็นตัวเลือกสำหรับภูมิภาคที่การใช้พลังงานหมุนเวียนยังไม่แพร่หลายและเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดการปล่อย CO2 ในทางกลับกัน รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ หรือ ZEV เช่น BEV และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง หรือ FCEV ก็จะมีความสำคัญในภูมิภาคที่มีพลังงานหมุนเวียนมาก

โดยแบตเตอรี่เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่สนับสนุนให้รถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้ามีเอกลักษณ์และความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผ่านการพัฒนาจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้านับตั้งแต่ Prius รุ่นแรกในปี 1997 สู่การเปิดตัว PHEV, FCEV และ BEV รวมถึง HEV ที่ทำยอดขายมากถึง 18.1 ล้านคันตลอดเวลาที่ผ่านมา

แบตเตอรี่ไฟฟ้าของรถไฮบริด HEV 

แบตเตอรี่ไฟฟ้าของ HEV ต่างกับ BEV และ PHEV เนื่องจากแบตเตอรี่ของ HEV ต้องการกำลังไฟที่สามารถส่งมายังระบบขับเคลื่อนได้รวดเร็วในทันที แต่ BEV และ PHEV ต้องการแบตเตอรี่ที่มีความจุสูง ทำให้รถยนต์ไฮบริดของโตโยต้าใช้แบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ (Nickel-metal hydride battery) และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-ion battery)

และในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โตโยต้าได้ประกาศความสำเร็จของแบตเตอรี่นิกเกิลเมทัลไฮไดรด์แบบไบโพลาร์ (ฺBipolar Nickel-metal hydride battery) ซึ่งมีกำลังไฟมากกว่าแบตเตอรี่รุ่นเดิมถึง 2 เท่า ตอบสนองต่อการจ่ายไฟแบบทันที ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในยานยนต์มากขึ้น

แบตเตอรี่สำหรับ BEV 

ด้านแบตเตอรี่สำหรับ BEV รุ่นต่อไปจะถูกติดตั้งในรถ TOYOTA bZ4X ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ และจะเป็นแบตเตอรี่แห่งอนาคต

โตโยต้าตั้งเป้าลดต้นทุนการผลิตแบตเตอรี่ BEV ลง 30% ผ่านการพัฒนาด้านวัสดุและโครงสร้าง และปรับปรุงการใช้พลังงานของยานยนต์เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อกิโลเมตรขึ้น 30% 

การพัฒนาแบบบูรณาการทั้งฝั่งของรถยนต์และแบตเตอรี่ ทำให้โตโยต้าวางเป้าหมายลดต้นทุนแบตเตอรี่ต่อคันลง 50% เมื่อเทียบกับ Toyota bZ4X ภายในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ (ปี 2026-2030)

แบตเตอรี่ออลโซลิดสเตต (All-Solid-State battery) 

สำหรับแบตเตอรี่ออลโซลิดสเตตที่โตโยต้ากำลังพัฒนาอยู่นี้ เพื่อดูว่าจะสามารถนำความสุขมาสู่สิ่งต่าง ๆ เช่น กำลังขับสูงขึ้น ระยะการแล่นที่ไกลขึ้น และเวลาในการชาร์จไฟที่สั้นลงได้หรือไม่

จากการทดสอบในเดือนสิงหาคม 2020 พบว่า แบตเตอรี่ออลโซลิดสเตตที่พัฒนาอยู่นั้นจะมีกำลังไฟสูงขึ้นจากการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของไอออน ซึ่งข้อดีนี้ก็จะถูกนำไปใช้พัฒนา HEV ด้วย

แต่การทดลองครั้งนี้ก็ทำให้พบปัญหาอายุการใช้งานที่สั้นของแบตเตอรี่ ซึ่งอยู่ระหว่างแก้ปัญหานี้ด้วยวัสดุอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นของแข็ง

"ระบบชาร์จไฟแบตเตอรี่" จะส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

นอกจากการพัฒนาแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้อย่างสบายใจแล้ว ระบบชาร์จไฟแบตเตอรี่ที่ยืดหยุ่น สามารถจ่ายไฟเข้าแบตเตอรี่ในปริมาณที่ต้องการได้อย่างเสถียรในเวลาที่กำหนด ทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกได้ ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งโตโยต้าได้สร้างเทคโนโลยีทั้งจากภายในองค์กรและร่วมมือกับพันธมิตรที่อยู่ระหว่างการสร้างระบบร่วมกันภายในเวลาประมาณสามปีนี้

สรุปแผนพัฒนาด้านแบตเตอรี่ของโตโยต้า

โตโยต้าตั้งเป้าลดต้นทุนต่อคันลง 50 % หรืออาจน้อยกว่า โดยเทียบกับปัจจุบัน ผ่านการพัฒนายานยนต์และแบตเตอรี่แบบบูรณาการ และทำให้ระบบชาร์จไฟมีความยืดหยุ่น ซึ่งจะต้องส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลาย โดยคาดว่า การลงทุนพัฒนาแบตเตอรี่และระบบชาร์จไฟจะอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านล้านเยนภายในปี 2030 และทั้งหมดนี้จะเป็นการเดินทางไปสู่เป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 


#Toyota #แผนพัฒนาด้านแบตเตอรี่ของโตโยต้า #เทคโนโลยีแบตเตอรี่ ล่าสุด #แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า #แบตลิเธียม #แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน #แบตเตอรี่ All Solid State #แบตเตอรี่แบบ solid-state #เทคโนโลยีแบตเตอรี่ Solid state #รถไฮบริด โตโยต้า #รถยนต์ไฟฟ้า โตโยต้า #Toyota bZ4X #รถไฟฟ้า 100% #รถยนต์ไฟฟ้า #รถอีวี #Electric Vehicles #โตโยต้า #อุตสาหกรรมยานยนต์ #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #Mreport #M Report #เอ็มรีพอร์ต #mreportth

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH