รายแรกในญี่ปุ่น "หุ่นยนต์ส่งของ" พานาโซนิคเตรียมลงถนนจริงแล้ว
Panasonic ได้รับอนุญาตให้ทดสอบหุ่นยนต์ส่งของ (Delivery Robot) ด้วยการควบคุมทางไกลเต็มรูปแบบ Full Remote บนถนนจริงเป็นรายแรกในญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2022 สำนักข่าว Nikkan Kogyo Shimbun รายงานว่า Panasonic Holdings คืบหน้าไปอีกขั้นในการมุ่งสู่ธุรกิจหุ่นยนต์เดลิเวอรี่ (Delivery Robot) โดยได้รับใบอนุญาตให้ทดสอบการควบคุมหุ่นยนต์เดลิเวอรี่ระยะไกลเต็มรูปแบบ (Full Remote) บนถนนสาธารณะเป็นรายแรกในประเทศญี่ปุ่น
Advertisement | |
พานาโซนิค เริ่มทดสอบหุ่นยนต์เดลิเวอรี่ในเมืองฟุจิซาวะ จังหวัดคานางาวะ เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2020 โดยการทดสอบนี้กำหนดให้มีพนักงานคอยควบคุมหุ่นยนต์ในสัดส่วน 1 คนต่อหุ่นยนต์ 4 ตัว เพื่อสาธิตบริการต่าง ๆ บนถนนสาธารณะ เช่น การขนส่งสินค้าจากร้านค้าไปยังบ้าน, การวิ่งลาดตระเวนเพื่อรักษาความปลอดภัย และอื่น ๆ
สำหรับการได้รับอนุญาตให้ทดสอบหุ่นยนต์เดลิเวอรี่บนถนนสาธารณะในครั้งนี้ พานาโซนิคจะให้หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ส่งสินค้าจากศูนย์การค้าไปยังบ้านของลูกค้าด้วยการควบคุมทางไกลอย่างเต็มรูปแบบ
ทางบริษัทเปิดเผยว่า หากต้องการพัฒนาหุ่นยนต์ให้ควบคุมทางไกลอย่างเต็มรูปแบบและสามารถใช้งานในเมืองได้จริงนั้น จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ 1. ต้องทำให้หุ่นยนต์ไม่หยุดทำงานในพื้นที่อันตราย 2. หุ่นยนต์ต้องรับรู้ว่ามียานยนต์ หรือวัตถุอันตรายอื่น ๆ กำลังเข้าใกล้ และ 3. ต้องลดภาระของผู้ควบคุมจากทางไกลได้ ซึ่งพานาโซนิคได้ใช้เซนเซอร์ประสิทธิภาพสูงจำนวนมากร่วมกับกล้องจับภาพและ AI ทำให้หุ่นยนต์สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางและอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วยตัวมันเองบรรลุผลสำเร็จ
ผู้ใช้หนึ่งคนควบคุมหุ่นยนต์พร้อมกัน 4 ตัวจากทางไกล
ในขั้นถัดไป พานาโซนิคจะเริ่มทดสอบโดยใช้หุ่นยนต์ส่งของขนาดเล็กที่มีความเร็วต่ำร่วมกับระบบบริหารจัดการทางไกล เพื่อให้บริการแพลตฟอร์ม X-Area สำหรับให้บริการด้าน Mobility ภายในพื้นที่จำกัด
อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จะสามารถกลายเป็นธุรกิจได้จริงหรือไม่ยังคงมีความท้าทายอีกมาก โดยจากการทดสอบส่งขนมปังที่เพิ่งออกจากเตา ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างมาก แต่ในทางกลับกัน นาย Katsuyoshi Higashijima ผู้จัดการทั่วไปจากแผนก Mobility Solution ได้แสดงความเห็นว่า ยังเป็นกระบวนการที่มีต้นทุนสูง และการลดราคาค่าบริการให้ถูกลงเพื่อเปิดให้บริการจริงจะเป็นความท้าทายของธุรกิจนี้
นอกจากนี้ ในญี่ปุ่นยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ควบคุมสามารถบังคับหุ่นยนต์พร้อมกันได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีปัญหาด้านความปลอดภัยอีกด้วย
และท้ายสุด คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ซึ่งทางบริษัทกำลังพิจารณาใช้หุ่นยนต์เดลิเวอลี่ในธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มเติม และอยู่ระหว่างการประเมินความต้องการต่าง ๆ เช่น นำหุ่นยนต์ไปใช้ในงานรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์แทนร้านค้าเคลื่อนที่
นาย Katsuyoshi Higashijima เปิดเผยว่า ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาและจีนมีความคืบหน้าในธุรกิจหุ่นยนต์เดลิเวอลี่มากกว่าญี่ปุ่นอยู่หนึ่งก้าว ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ 8 บริษัทญี่ปุ่นตัดสินใจก่อตั้ง “Robot Delivery Association” ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ และเชื่อมั่นว่า การแข่งขันในตลาดจะรุนแรงขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้
#Panasonic #พานาโซนิค #Delivery Robot #หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ #หุ่นยนต์ขนส่งสินค้า #หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ #โลจิสติกส์ #Logistics #Robot #Logistics #โซลูชัน โลจิสติกส์ #Robot #เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent
ที่มา: Nikkan Kogyo Shimbun
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH