ลดปล่อยก๊าซคาร์บอน วาระสำคัญ โตโยต้าตั้งเป้า ซัพพลายเออร์เสียงแตก
มาตรการสิ่งแวดล้อม Carbon Neutrality เพื่อลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งกำลังเดินสู่หมุดหมายแรกในปี 2030 ล่าสุด โตโยต้า (Toyota) กำหนดเป้าหมาย คาดหวังต่อ “ซัพพลายเออร์ Tier 1” แล้ว
Advertisement | |
โตโยต้าเร่งขยับสู่ Carbon Neutrality ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ตลอดซัพพลายเชน ตั้งเป้าลดปล่อย CO2 ของซัพพลายเออร์ Tier 1 ในปี 2021 ลง 3% จากปี 2020
Carbon Neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ โดย UN กำหนดเป้าหมายแรกในปี 2030 ตั้งเป้าหมายลดคาร์บอนทั่วโลก 45% (จากปี 2010) ก่อนจะไปถึงเป้าหมายใหญ่ปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 วิธีการลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้นทางตลอดซัพพลายเชนนั้นจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด แต่อีกวิธีที่ทำได้ง่ายกว่าคือ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา (Carbon Offsets) เช่น การปลูกป่า
โตโยต้าเปิดเผยว่า การลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ จะเกิดขึ้นจริงได้ต้องไม่ใช่แค่จากรถยนต์ และกระบวนการผลิตรถยนต์ แต่รวมไปถึงซัพพลายเชนด้วย
โดยมีจุดสำคัญ 2 ข้อ คือ 1. ปริมาณการปล่อยก๊าซตลอดซัพพลายเชนต้องสามารถตรวจสอบได้ และ 2. ต้องลดปล่อย CO2 จากกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
จากผลสำรวจของโตโยต้าพบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2021 นี้ จะสามารถเริ่มลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ราว 80 รายการ เช่น ระบบขับเคลื่อน, ระบบไฟฟ้า, และตัวถัง ปัจจุบันโตโยต้าอยู่ระหว่างร่วมหาแนวทางกับซัพพลายเออร์ Tier 1 เช่น การเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรกลที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น, การเปลี่ยนวัสดุที่ใช้, การร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น
อื่น ๆ
โดยโตโยต้าจะเป็นผู้สนุนเครื่องมือสำหรับ Visualization การปล่อยก๊าซคาร์บอนให้กับซัพพลายเออร์และธุรกิจคู่ค้าอื่น ๆ จากนั้นจะนำแนวทางนี้ไปปรับใช้กับซัพพลายเออร์ Tier 2 และ Tier 3 ต่อไป
ความเห็นจากซัพพลายเออร์
Toyota Mirai
ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนพลาสติกรายหนึ่ง แสดงความเห็นต่อแนวทางของโตโยต้าว่า เป็นโอกาสอันดีที่บริษัทจะได้ปรับเปลี่ยนโรงงาน และเทคโนโลยีให้สอดคล้องไปกับยุคสมัยของรถยนต์ไฟฟ้า
ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนระบบขับเคลื่อนรายหนึ่ง แสดงความเห็นว่า แต่ละบริษัทมีความพร้อมในการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เท่ากัน แต่ก็เป็นโอกาสดีที่จะเร่งสร้างความเข้าใจในกลุ่มผู้ผลิตให้ตระหนักถึงความสำคัญของการลดมลพิษ”
อย่างไรก็ตาม มีบริษัทที่มีความคิดเห็นแตกต่าง เช่น กลุ่มชิ้นส่วนโลหะ ผู้ผลิตสีพ่นรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนด้วยกระบวนการ Heat Treatment และอื่น ๆ
ซัพพลายเออร์ระบบกันแรงสั่นสะเทือนของโตโยต้าเป็นหนึ่งในผู้ที่เห็นต่าง โดยแสดงความเห็นว่า การลดปล่อย CO2 จากสายการผลิตเหล่านี้เป็นเรื่องยาก และผู้ผลิตหลายรายพึ่งจะลงทุนกับการเปลี่ยนสายการผลิตให้รองรับรถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นเรื่องยากเป็นอย่างยิ่งหากถูกเรียกร้องให้ลงทุนเพิ่มอีก
นอกจากนี้ หากเกิดการเปลี่ยนวัสดุขึ้นจริง ก็จะทำให้ต้นทุนที่ต้องใช้สูงยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร กระบวนการผลิต และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งซัพพลายเออร์แม่พิมพ์ของโตโยต้าแสดงความเห็นว่า ยิ่งโตโยต้าผลิตยานยนต์มากขึ้น ก็จะยิ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งหมายถึงซัพพลายเออร์จะต้องลงทุนเพื่อลดการปล่อย CO2 มากขึ้น และเป็นที่น่ากังวลว่า โตโยต้าจะทำอย่างไรหากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะแนวทางนี้
Mr. Akio Toyoda ประธานบริษัทโตโยต้า กล่าวว่า การลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำเป็นต้องมีวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่ลดการปล่อยด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมในฐานะประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น (Japan Automobile Manufacturers Association) ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ สามารถลดปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิม เช่น การสังเคราะห์ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยปฏิกิริยาทางเคมี
นอกจากนี้ ยังได้ยกกรณีของสหรัฐอเมริกา และยุโรปมาเป็นตัวอย่างว่า ทั้งสองมีนโยบายลดปล่อย CO2 ที่ไม่ได้โฟกัสแต่รถยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
Mr. Akio Toyoda กล่าวต่อว่า จำนวนชิ้นส่วนยานยนต์ที่ลดลงในรถยนต์ไฟฟ้า จะเป็นอีกแรงที่ช่วยให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้าจะยังคงมีชิ้นส่วนจำนวนมาก ซึ่งมาตรการ Carbon Neutrality จะยิ่งส่งผลต่อผู้ผลิตมากขึ้นในอนาคต การพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมจึงจะมีส่วนช่วยในการแข่งขันเป็นอย่างมาก
โดยซัพพลายเออร์ของโตโยต้าที่เปิดเผยรายละเอียดต่อแนวทางลดปล่อย CO2 แล้ว มีดังนี้
- Denso เลือกนำพลังงานหมุนเวียนมาเป็นแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในปี 2035
- JTEKT ตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ในปี 2040 และแสเงความเห็นว่าไฮโดรเจนจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
- TOYODA GOSEI แสดงความเห็นว่า การร่วมกันลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ หากใครไม่ทำตามก็อาจเสียลูกค้าได้ และตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 50% จากปี 2015 ภายในปี 2030
- Aisin ตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 46% จากปี 2013 ภายในปี 2030
- TOKAI RIKA ตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 60% จากปี 2013 ภายในปี 2030 และลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจากสำนักงานและโรงงานสาขาหลักให้เป็นศูนย์ในปีเดียวกัน
- FINE SINTER ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 50% จากปี 2013 ภายในปี 2030 แต่แสดงความเห็นว่า “การจะทำให้สำเร็จจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีใหม่เสียก่อน”
- CHUO SPRING ตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 46% จากปี 2013 ภายในปี 2030
สรุป
โตโยต้า (Toyota) กำหนดเป้าหมาย คาดหวัง “ซัพพลายเออร์ เทียร์ 1” ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2021 ลง 3% โดยโตโยต้าจะเป็นผู้สนุนเครื่องมือสำหรับ Visualization การปล่อยก๊าซคาร์บอนให้กับซัพพลายเออร์และธุรกิจคู่ค้าอื่น ๆ จากนั้นจะนำแนวทางนี้ไปปรับใช้กับซัพพลายเออร์ Tier 2 และ Tier 3 ต่อไป
โรงงานรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บริษัท Denso
ส่วนค่ายรถอื่น ๆ มีรายละเอียด ดังนี้
- ฮอนด้า (Honda) มีแนวทางเช่นเดียวกับโตโยต้าแต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด
- นิสสัน (Nissan) และซูซูกิ (Suzuki) ยังไม่มีการตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจากซัพพลายเออร์
- ยามาฮ่า (Yamaha) เตรียมประกาศเป้าหมายโดยละเอียดภายในปี 2021
- โฟล์คสวาเกน (Volkswagen) ประสบความสำเร็จในการขอความร่วมมือลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจากซัพพลายเออร์ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น “ID.3” และใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตแบตเตอรี่
- เดมเลอร์ (Daimler) ตั้งเป้าลดปล่อยคาร์บอนจากซัพพลายเออร์ให้เป็นศูนย์ในปี 2039
#ลดปล่อยก๊าซคาร์บอน #การลด co2 ในโรงงาน #ลดการปล่อย co2 #แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก #วิธีลดปริมาณแก๊สเรือนกระจก #โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก #วิธีลดคาร์บอนไดออกไซด์ #วิธีการหรือมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ #โครงการลดคาร์บอน #ลด การ ปล่อย ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ #ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน #ข่าวอุตสาหกรรม #วงในอุตสาหกรรม #M Report #Mreport #mreportth
อ่านข่าว:
- กรมโรงงานเดินหน้า 3 มาตรการลดก๊าซเรือนกระจก
- การจัดทำฐานข้อมูลการใช้พลังงาน กำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH