สัญญาณบวก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลยุคโควิดปี 2022
สมาคมเครื่องจักรกลแห่งยุโรปเผยสัญญาณบวกอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล คาดความต้องการจากยานยนต์และอากาศยานพุ่งในปี 2022 สวนทางวิกฤตโลก
Advertisement | |
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา สมาคมเครื่องจักรกลแห่งยุโรป หรือ CECIMO ได้เผยรายงานแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ฉบับปี 2021 ซึ่งคาดการณ์ว่าการผลิต Machine Tools ยุโรปในปี 2022 จะเติบโตขึ้น 11.5% โดยจะมีมูลค่ารวม 2.25 หมื่นล้านยูโร หรือราว 2.54 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
- อัปเดต “อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล” โอกาส-ปัจจัยเสี่ยง หลังโควิด
- วิกฤตซัพพลายเชนโลกซัดหนัก กลุ่มเครื่องจักรสุดต้าน ประกาศขึ้นราคาแล้ว
ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ การมองเห็นสัญญาณบวกเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเมื่อวิกฤตโควิดและซัพพลายเชนเกิดขึ้นไปพร้อมกัน ข้อมูลจาก Oxford Economics ได้คาดการณ์ความต้องการเครื่องจักรกลในอเมริกาและเอเชีย จะฟื้นตัวเทียบเท่าก่อนโควิดภายในสิ้นปี 2021 นี้
ในขณะที่ยุโรปจะฟื้นตัวภายในปี 2022 ซึ่งอุตสาหกรรมที่จะมีความต้องการ Machine Tools สูงสุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่มาตรการป้องกันโรคที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงไปอีก และวิกฤตชิปขาดตลาด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการขาดแคลนชิ้นส่วนในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะยานยนต์
ทาง CECIMO เปิดเผยว่า วิกฤตซัพพลายเชนอาจจะยังส่งผลยาวไปถึงกลางปี 2022 และความต้องการเครื่องจักรกลจะเพิ่มขึ้นหลังจากนั้น ซึ่งแม้ว่าอาจจะมีอุปสรรคในหลายอุตสาหกรรม โดย Dr. Hans-Martin Schneeberger ประธานสมาคมเครื่องจักรกลยุโรป คาดการณ์ว่า ความต้องการเครื่องจักรในปี 2022 จะสามารถเติบโตเทียบเท่าปี 2019 หรือก่อนการระบาดของโควิดได้
Marcus Burton ประธานคณะกรรมการเศรษฐกิจจากสมาคมฯ แสดงความเห็นว่าในระยะยาว สัญญาณบวกที่เด่นชัดที่สุดต่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล คือรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์สันดาปสู่รถอีวีมีแต่จะเข้มข้นขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลทั่วโลก จะนำมาซึ่งความต้องการเครื่องจักรที่มั่นคงจากอุตสาหกรรมยานยนต์
อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้อาจทำให้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม แต่มั่นใจว่าผู้ผลิต Machne Tools จะสามารถปรับตัวตอบรับความต้องการเหล่านี้ได้
นอกจากนี้ อีกปัจจัยบวกที่ทางสมาคมฯ มองเห็น คือ ความต้องการ 3D Printer เนื่องจากในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานี้ พบว่าความต้องการเทคโนโลยี Additive Manufacturing เติบโตในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งในยุโรปมียอดสั่งซื้อ 3D Printer จากอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เพิ่มขึ้นถึง 82%
#เครื่องจักร #เครื่องจักรกล #เครื่องจักร#อุตสาหกรรมการผลิต #อุตสาหกรรมโลหะการ #ตัดเฉือนโลหะ #Metalworking #ผลิตชิ้นส่วน #Machine Tools #Machine Tool #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเครื่องจักร #อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล #ข่าวเครื่องจักร
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH