‘อินโด’ ปิดดีล ‘เทสล่า’ สั่งซื้อนิกเกิล 5 พันล้านเหรียญ ผลิตแบตเตอรี่รถอีวี
‘อินโดนีเซีย’ เผย Tesla เซ็นสัญญาสั่งซื้อนิกเกิล 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2022 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน นายลูฮัต ปันด์ไจตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการประสานงานการเดินเรือและการลงทุน เปิดเผยกับ CNBC Indonesia ว่า เทสลา (Tesla) ผู้ผลิตรถยนต์จากสหรัฐฯ ได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่าประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อซื้อวัตถุดิบสำหรับผลิตแบตเตอรี่จากบริษัทแปรรูปนิกเกิลในอินโดนีเซีย
โดยเปิดเผยว่า รัฐบาลอินโดนีเซียมีการหารือกับเทสล่าอย่างต่อเนื่อง และเทสล่าได้สั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากอินโดนีเซียแล้ว 2 รายการ และสำหรับครั้งนี้เทสล่าได้ลงนามในสัญญาเป็นเวลา 5 ปีกับบริษัทแปรรูปนิกเกิลที่นิคมอุตสาหกรรมโมราวาลีบนเกาะสุลาเวสีสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในยานยนต์ของเทสล่า
Advertisement | |
ที่ผ่านมา อินโดนีเซียพยายามดึงเทสล่าเข้ามาลงทุน และกระตุ้นการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2022 เว็บไซต์รัฐบาลอินโดนีเซียรายงานว่า นายโจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้พูดคุยกับนายอีลอน มัสก์ CEO บริษัทเทสล่า ถึงความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมนิกเกิล และอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
ประเทศอินโดนีเซียมีแหล่งแร่นิกเกิลจำนวนมาก ปัจจุบันอินโดนีเซียได้ระงับการส่งออกแร่นิกเกิลเพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปทานเพียงพอสำหรับนักลงทุน และกำลังมองหาการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในประเทศ ซึ่งนโยบายนี้ก็ประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนจากยักษ์ใหญ่ด้านเหล็กกล้าของจีนและบริษัทเกาหลีใต้ เช่น LG และ Hyundai
ในเดือนมิถุนายน สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า LG Energy Solution ผู้ผลิตแบตเตอรี่ของเกาหลีได้เริ่มสร้างโรงงานแปรรูปนิกเกิลสองแห่งในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนมูลค่า 9.8 พันล้านดอลลาร์เพื่อผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
จนถึงขณะนี้ การลงทุนนิกเกิลส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียมุ่งไปที่การผลิตโลหะดิบ เช่น เหล็กพิกนิกเกิลและเฟอโรนิเคล
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH