TSMC ไขประเด็น “ชิปขาดตลาด”
TSMC ไขประเด็น “ชิปขาดตลาด” ขยับแผนสร้างโรงงานเพิ่มขึ้นจากปีละ 2 เป็น 5 โรงงาน
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2022 ที่ผ่านมา TSMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลก อัปเดตสถานการณ์ชิปขาดตลาดผ่านงานสัมมนาเทคโนโลยีประจำปี ซึ่งจัดขึ้นที่นครซินจู๋ ไต้หวัน โดยนาย C. C. Wei CEO บริษัท TSMC เปิดเผยว่า แม้แต่ TSMC ก็ยังประสบปัญหาการจัดส่งชิปล่าช้า ซึ่งผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิปเองก็ประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนและชิปสำหรับผลิตเครื่องจักรเช่นกัน
Advertisement | |
นาย Y.L. Wang รองประธานบริษัท TSMC อธิบายว่า ความต้องการชิปที่พุ่งสูงจนเกิดวิกฤตชิปขาดตลาดมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยียานยนต์ ซึ่งปัจจุบัน ยานยนต์หนึ่งคันมีจำนวนชิปเพิ่มขึ้นปีละ 15% ในขณะที่สมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องใช้ชิปมากขึ้น 2-3 เท่าเมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
โดยปัญหาการขาดแคลนชิปนั้น แม้จะเป็นเพียงชิปขนาดเล็ก แต่ก็อาจส่งผลต่อซัพพลายเชนได้ โดยนาย Wei ยกตัวอย่างว่า เครื่องพิมพ์แผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบ EUV (Extreme-Ultraviolet (EUV) Lithography Machines) ซึ่งมีราคามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเครื่องนั้น หากขาดชิปที่มีมูลค่าเพียง 10 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะทำให้ไม่สามารถประกอบเครื่องพิมพ์ให้สำเร็จได้ ซึ่งกรณีเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นกับการขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมยานยนต์
นาย Wei กล่าวว่า ที่ผ่านมา โลกยังตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการซัพพลายเชนไม่ดีพอ ทำให้เมื่อเกิดวิกฤตแล้วจึงไม่สามารถรับมือได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งรวมถึง TSMC เองด้วย และการบริหารจัดการซัพพลายเชนจะมีความสำคัญมากขึ้นในยุคที่รัฐบาลหลายประเทศพยายามผลิตชิปในประเทศตัวเอง
- “อินเดีย” เร่งเจรจาดึงผู้ผลิตชิปเข้าลงทุน ตั้งเป้าขึ้นผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก
- ‘ญี่ปุ่น’ เบนเข็ม ลงทุนการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น
นาย Y.L. Wang รองประธานบริษัท TSMC เสริมว่า ที่ผ่านมา บริษัทมีการสร้างโรงงานผลิตชิปใหม่เฉลี่ยปีละ 2 โรงงาน แต่ปัจจุบัน มีแผนสร้างโรงงานเฉลี่ยปีละ 5 โรงงาน และมีกำหนดสร้างโรงงานรวมทั้งสิ้น 23 โรงงานในช่วงปี 2020 - 2023
#TSMC #ชิปขาดตลาด #ชิป #เซมิคอนดักเตอร์ #อิเล็กทรอนิกส์ #Mreport #onlinecontent #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH