Mr. Kazuhiro Tsuga ประธานบริษัท Panasonic

“อัพเดตชีวิต” คีย์เวิร์ดสำคัญใน 3 ปีถัดไปของ Panasonic

อัปเดตล่าสุด 10 ม.ค. 2562
  • Share :

“อัพเดตชีวิต” คีย์เวิร์ดสำคัญใน 3 ปีถัดไปของ Panasonic

Panasonic ประกาศกร้าว พร้อมปฏิวัติธุรกิจอีกครั้ง หลังจากที่เคยติดตัวแดงต่อเนื่อง 2 ปี ในช่วงปีงบประมาณ 2011 - 2012 ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันธุรกิจจะกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ แต่ด้วยผลกำไรที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ทางบริษัทจึงวางแผนปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจระยะกลาง ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนที่กำลังจะมาถึง และเป็นที่น่าจับตามองว่า Mr. Kazuhiro Tsuga ประธานบริษัท Panasonic คนปัจจุบัน จะนำพาบริษัทนี้ก้าวไปในทางใด ในช่วงอีก 3 ปีนับจากนี้

 

Panasonic ในงาน CES

Panasonic “SPACe_C
 

ประธาน Tsuga กล่าวภายในงาน CES 2019 ว่า “ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าของเรา จำเป็นมีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับธุรกิจยานยนต์ และคอมพิวเตอร์” โดยมีคีย์เวิร์ดในช่วง 3 ปีนับจากนี้ คือ “อัพเดทชีวิต” ซึ่งส่งผลให้ทางบริษัทจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการผลิตสินค้าแทบทั้งหมด 

แม้ว่าคีย์เวิร์ดนี้ จะยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างทั่วถึงในบริษัท แต่บูธภายในงาน CES ได้แสดงให้เห็นว่า แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้แล้วในบางส่วน เช่น แนวคิดรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ติดตั้งตู้เย็น ซึ่งถูกออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการผสานธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าด้วยกัน


Panasonic “SPACe_C

นอกจากนี้ ทางบริษัทยังจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดในการทำตลาดอีกด้วย ซึ่งภายในปีงบประมาณ 2019 นี้เอง ที่ Panasonic ได้ร่วมมือกับ Kent International เพื่อนำผลิตภัณฑ์จักรยานไฟฟ้า ซึ่งแต่เดิมพัฒนาขึ้นเพื่อลูกค้าญี่ปุ่นเป็นหลัก เข้าทำตลาดในอเมริกาเหนืออย่างเต็มรูปแบบ

การจะให้แนวคิด “อัพเดทชีวิต” ของ Panasonic เป็นจริงขึ้นได้ สิ่งสำคัญคือความเร็วในการพัฒนานวัตกรรมของบริษัท ซึ่ง Mr. Yoshiyuki Miyabe เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของบริษัท กล่าวย้ำถึงความสำคัญของนวัตกรรมเอาไว้ว่า “หากเราไม่สามารถคิดนวัตกรรมที่นำมาต่อยอดเป็นสินค้าได้ บริษัทเราก็ไม่มีอนาคต”

เพิ่มผลกำไร เสริมความเร็วการบริหาร

Harley-Davidson E-bike

ซึ่งด้วยแนวคิดเหล่านี้เอง ที่ทำให้บริษัทตัดสินใจก่อตั้ง “Panasonic β” ขึ้นที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ แทนที่การเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิม ที่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจ และสามารถนำเข้าสู่ตลาดได้ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด

ซึ่งในงาน CES นี้เอง ที่ Panasonic β ได้เปิดตัว “HomeX” แพล็ตฟอร์ม IoT สำหรับที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ซึ่ง Mr. Miyabe ได้แสดงความคิดเห็นว่า “Panasonic β ทำงานได้ดีกว่าที่เราคาดไว้แต่แรกมาก”

Mr. Kazuhiro Tsuga ประธานบริษัท Panasonic

อย่างไรก็ตาม Panasonic ยังมีผลกำไรน้อยมาก ในขณะที่ Hitachi และ Sony มีกำไรในปีงบประมาณที่แล้วมากกว่า 8% Panasonic กลับมีเพียง 5.1% เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้เอง ทางบริษัทจึงเล็งเห็นว่าหากทำเพียงการขายสินค้าอย่างเดียว บริษัทก็ไม่อาจโตไปมากกว่านี้ได้ จึงทำให้ Panasonic β มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทางบริษัทยังเล็งเห็นว่า การบริหาร และการตัดสินใจที่รวดเร็ว ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน

Mr. Miyabe กล่าวเพิ่มเติมว่า “เรามีแนวทางที่จะก้าวไปต่อแล้ว เหลือแค่นำมาใช้เท่านั้น”

บทสัมภาษณ์ Mr. Kazuhiro Tsuga ประธานบริษัท Panasonic

Mr. Kazuhiro Tsuga ประธานบริษัท Panasonic

แนวคิด “อัพเดตชีวิต”

“ที่แล้วมา เราเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบชิ้นต่อชิ้น แต่ภายใต้แนวคิดนี้ เราต้องมุ่งไปที่การพัฒนาสภาพแวดล้อมของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น การอัพเดตยานยนต์ ซึ่งที่แล้วมาเราไม่สามารถอัพเดตยานยนต์ทั้งคันได้โดยตรง แต่ปัจจุบัน เราจะมุ่งอัพเดตยานยนต์ให้ได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราจะนำหลักคิดนี้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าของเรา”

ในบริษัทมีผลตอบรับอย่างไร

“ในบริษัทต่างมองว่าเป็นแนวคิดที่เราไม่สามารถทำได้ในทันที แต่หากเราไม่ทำอะไร บริษัทเราก็อาจอยู่ได้อีกไม่ถึง 10 ปี เราจึงเริ่มคิดกันว่า “การอัพเดตคืออะไร ทำได้จริงหรือไม่” ซึ่งได้ข้อสรุปว่า เราไม่อาจอัพเดตสินค้าของเราที่มีอยู่แล้วได้ เราจึงต้องเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเสียใหม่ วิจัยให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมีทิศทางเดียวกัน และเร่งพัฒนาให้ออกสู่ตลาดได้โดยไว ”

คิดว่าแนวคิดนี้จะช่วยให้มีบริษัททำกำไรได้มากขึ้นหรือไม่
“เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการบริหารเสียใหม่ ซึ่งเราตั้งเป้าว่า Panasonic จะยังต้องอยู่ในตลาดให้ได้ถึงปี 2030 และเร่งเดินหน้าไปในทิศทางนี้ ซึ่งตอนนี้ เรามีแนวทางให้เราอยู่รอดได้แล้ว แต่จะทำกำไรได้มากขึ้นหรือไม่นั้น คือสิ่งที่เรากำลังประเมินกันอยู่”

ผลกำไร 5.1%
“เห็นได้ชัดว่าเรามีผลกำไรน้อยมาก ซึ่งเมื่อรวมกับปัจจัยอื่น เช่น ตลาดหุ้น และมูลค่าหลักทรัพย์แล้ว ทำให้เราริเริ่มแนวคิดอัพเดตชีวิตขึ้นมา ซึ่งนอกจากในส่วนของผลิตภัณฑ์แล้ว เรายังต้องอัพเดตการบริหารของเราเอง และหาแนวทางให้บริษัทเราเติบโตโดยธรรมชาติ (Organic Growth) ได้ตามเป้า” 

กำหนดการณ์ขยายตัวในเดือนเมษายน

“ในเดือนเมษายนนี้ เราจะขยายตัวไปยังจีน และสหรัฐฯ ซึ่งในจีนนั้น มีการเติบโตสูงมากจนสาขาที่เรามีไม่เพียงพอต่อการตอบสนองตลาดจีน ซึ่งในจีน เราจะเน้นไปที่การสร้างธุรกิจใหม่ที่ต่างไปจากเดิม ในขณะที่ในสหรัฐฯ เราจะเน้นไปที่การมองหาพาร์ทเนอร์ใหม่”