การระงับการลงทุนของจีนอาจกระทบกับ Silicon Valley

อัปเดตล่าสุด 16 ก.ค. 2561
  • Share :
  • 426 Reads   

รอยเตอร์รายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ทำการขู่จะระงับการลงทุนจากจีนในบริษัทของสหรัฐฯ ซึ่งนั่นอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับบริษัทรถยนต์และเทคโนโลยีหลายรายที่ใช้เงินลงทุนของจีนในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์อัตโนมัติและบริการอื่น ๆ จากเทสล่า ไปจนถึงเหล่าสตาร์ทอัพจำนวนมากในซิลิคอนวัลเลย์


ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาบริษัทจากจีนได้ให้การลงทุนสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพเกี่ยวกับการขนส่งของอเมริกา ถึง 80 ราย รวมเป็นมูลค่ามากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยังลงทุนไปอีกพันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับบริษัทอย่างเทสล่า
 
ในขณะเดียวกันทางสหรัฐฯ ก็ได้ลงทุนให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพจีนกว่า 60 ราย โดย มี 16 ราย ที่มีมูลค่าในการลงทุน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่านั้น ซึ่งสตาร์ทอัพเหล่านี้ถูกเรียกว่ากลุ่มยูนิคอร์น โดยส่วนมากเหล่ายูนิคอร์นนี้จะร่วมลงทุนกับคู่ค้าของตนในจีน
 
การลงทุนส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่สองกุญแจสำคัญในเรื่องระบบการขนส่งในอนาคต คือ ยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์อัตโนมัติ สองกุญแจหลักนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแคมเปญ “Made in China 2025” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเทคโนโลยีการขับขี่ของรัฐบาลจีนในต่างประเทศ รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์อัตโนมัติต่างก็ถูกตั้งความคาดหวังให้เป็นรากฐานในการขับเคลื่อนการให้บริการและการขนส่งทั่วโลกภายในปี 2025
 
ขณะนี้นักกฎหมายของสหรัฐฯ และทรัมป์ได้มุ่งจุดหมายไปยังจำนวนเงินที่จะไหลเข้าสหรัฐฯ จากจีน และขณะเดียวกันก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงที่ไหลไปยังจีนจากสหรัฐฯ เรื่อย ๆ เช่นกัน
 
เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาประธานสภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน อย่าง จอห์น ฟริสบี้ ได้ให้การตอบสนองต่อข้อกังวลดังกล่าว ระบุให้ทั้งสองประเทศ “ก้าวถอยหลัง” กันไปคนละก้าว และหันมาสนใจเรื่องปรับปรุงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงตลาดจีนของบริษัทอเมริกันและหลีกเลี่ยง " การคว่ำบาตร” ที่จะเกิดขึ้น
 
“เราจำเป็นต้องมั่นใจว่าจะเกิดความสมดุลระหว่างความมั่นคงของประเทศและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ" ฟริสบี้กล่าว
 
บริษัทจีนมากกว่า 20 แห่ง รวมไปถึงบริษัทอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent Alibaba Group และ Baidu รวมไปถึง SAIC ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของจีนล้วนมีบริษัทอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ รัฐแคลิฟอร์เนียของอเมริกา ทั้งยังให้เงินลงทุนสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเน้นไปที่ยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์อัตโนมัติ


 
บริษัทยานยนต์ในอเมริกา อย่าง General Motors (GM) ก็ได้มีการลงทุนให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งจีนเช่นกัน อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทร่วมทุนของสหรัฐฯ “Sequoia Capital” ที่เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีอิทธิพลมากที่สุดในซิลิคอนวัลเลย์ ได้เลือกกลุ่มสตาร์ทอัพจากจีนถึง 20 กลุ่มในภาคการขนส่ง และลงทุนร่วมกัน
 
ในภาคการขนส่ง นักลงทุนจีนนับว่ามีความเกี่ยวข้องกับบางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ สำหรับ Tencent ผู้มีมูลค่าทางการตลาดขนาดเล็กอยู่ที่ 460 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯ ทั้งหมด ได้ดำเนินการลงทุนด้วยตัวเลขที่ไม่เปิดเผยในซิลิคอนวัลเลย์ให้แก่ Zoox ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนายานยนต์อัตโนมัติเชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่ากว่า 3.5 พันล้านเหรียญ
 
อีกทั้ง Tencent ยังเป็นหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเทสล่า หลังจากได้กวาดซื้อหุ้นไป 5% เมื่อปีที่ผ่านมาเป็นเงินกว่า 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า Tencent จะให้ความช่วยเหลือเทสล่าในการขัดขวางผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับจีนอย่างไรเมื่อสหรัฐฯ ยกเลิกการลงทุนของจีนในซิลิคอนวัลเลย์
 
ทางด้านฟอร์ด มอเตอร์ เป็นหนึ่งในหุ้นส่วนในโปรเจ็คอะพอลโล่ของ Baidu บนแพลตฟอร์มระบบขับขี่อัตโนมัติ ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ อย่าง Intel Microsoft และ Nvidia เช่นเดียวกันกับกลุ่มสตาร์ทอัพระบบขับขี่อัตโนมัติในซิลิคอนวัลเลย์ อย่าง JingChi และ PlusAI
 
ทั้งฟอร์ด และ Baidu นั้นได้ลงทุนในซิลิคอนวัลเลย์ให้กับสตาร์ทอัพ Velodyne ผู้ผลิตเซ็นเซอร์ Lidar สำหรับระบบขับขี่อัตโนมัติ พวกเขามีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกันพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Smart Connectivity) ภายในรถยนต์
 
Nvidia เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาได้นำเสนอตัวประมวลผลความเร็วสูง (High-Speed Processors) ให้แก่ Tencent Baidu และ Alibaba ทั้งยังร่วมลงทุนกับ Qiming Venture Partners ของจีนและ JingChi ที่อยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ รวมไปถึงสตาร์ทอัพระบบขับขี่อัตโนมัติจีน อย่าง TuSimple ด้วย
 
อย่างไรก็ตามสองกลุ่มสตาร์ทอัพเกี่ยวกับระบบขนส่งที่มีมูลค่ามากที่สุดในขณะนี้ คือ Uber ของสหรัฐอเมริกา และ Didi Chuxing ของจีน โดยทั้งสองได้มีการถือหุ้นร่วมกัน ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนขาวจีนและอเมริกันอีกด้วย

ไม่แน่ว่าสถานการณ์ที่ระส่ำระส่ายอาจจะยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องคอขาดบาดตายก็ได้หากทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างยอมความกันและกัน ยอมถอยหลังกันคนละก้าวเพื่ออนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์