จาก B2B สู่ B2C ด้วย 3D Printer ผลิตที (Tee) ตั้งลูกกอล์ฟ
จากธุรกิจ B2B (Business-to-Business) ของผู้ผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ Pla Moul Seiko ในประเทศญี่ปุ่น สู่ แผนธุรกิจ B2C (Business-to-Consumer) ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูป 3มิติ หรือ 3D Printer เพื่อผลิตที (Tee) ตั้งลูกกอล์ฟ
Pla Moul Seiko บริษัทผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ Gas Vent Pin และมีประสบการณ์ในการขึ้นรูปพลาสติกมาหลายสิบปี และได้ขยายตลาดสู่ B2C (Business-to-Consumer) ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูป 3มิติ หรือ 3D Printer ซึ่งจะเริ่มด้วยการรับผลิตทีตั้งลูกกอล์ฟในเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีราคาอยู่ที่ 350 – 700 เยนต่อเซ็ต (ไม่รวมภาษี) เซ็ตละ 5 ชิ้น โดยคาดว่าจะขายได้ปีละ 100,000 เซ็ต
ด้วยเทคโนโลยี 3D Printer สามารถใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ วิศวกรรมหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ จากเดิมในการผลิตอะไรสักอย่างที่เฉพาะทางจะมีต้นทุนที่สูงมาก แต่เมื่อใช้ 3D Printer จะช่วยสร้างเครื่องมือที่ถูกลง และใช้ได้ทันเวลา
โดยทีตั้งลูกกอล์ฟนี้ จะถูกผลิตขึ้นเป็นแผง แผงละ 5 ชิ้น และสามารถหักออกมาใช้ได้ทีละชิ้น โดยส่วนปลายถูกออกแบบให้กลมมน เพื่อให้สามารถพกในกระเป๋าได้โดยสะดวก ทีเหล่านี้ผลิตขึ้นจาก Polycarbonate Resin ทำให้มีความเหนียว แตกหักได้ยาก แต่สามารถหักแต่ละชิ้นออกมาได้โดยง่าย
นอกจากนี้ ยังได้รับการออกแบบให้มีส่วนผิวด้านบนเป็นแผ่น และเผื่อที่ไว้สำหรับการใส่ชื่อบริษัท, ชื่อสินค้า, หรือเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถนำไปใช้ในฐานะของที่ระลึกได้ รวมถึงมีกำหนดการวางจำหน่ายดีไซน์และสีอื่น ๆ ในอนาคต โดยปัจจุบัน Pla Moul Seiko อยู่ระหว่างการทำเรื่องจดลิขสิทธิ์อยู่ โดย Pla Moul Seiko ได้จัดซื้อ 3D Printer จาก Formlabs เพื่อใช้ประกอบธุรกิจนี้ตั้งแต่ปี 2017 ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหลืองเพียง 10 – 20% จากต้นทุนเดิม
Pla Moul Seiko คือบริษัทผู้ผลิต “Gas Through” Degassing Pin สำหรับแม่พิมพ์และเครื่องฉีดขึ้นรูป ซึ่งมียอดขายรวมถึง 390 ล้านเยนในปีงบประมาณที่ผ่านมานี้