ผู้ผลิต Welding machine เตรียมรับรถยนต์ไฟฟ้า
ปัจจุบัน ผู้ผลิต Machine Tools รายต่าง ๆ กำลังอยู่ระหว่างการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีงานเชื่อม ซึ่งนอกจากการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์วัสดุเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแล้ว ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับงาน Dissimilar Metal Welding เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
เริ่มการเปลี่ยนแปลง
Yaskawa Electric มีกำหนดเปิดตัวซอฟต์แวร์พื้นฐานซึ่งมีคุณสมบัติในการเสริมศักยภาพการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตในโรงงานด้วย IoT และได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประเภทเดียวกันนี้อีกถึง 5 ชนิด เพื่อใช้เสริมประสิทธิภาพงานเชื่อม งานตรวจสอบคุณภาพ และงานบำรุงรักษา
โดยซอฟต์แวร์นี้ มีคุณสมบัติในการตรวจสอบสภาพการทำงานของ Spotter วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของหัวเชื่อม และแรงบิดของเซอร์โวมอเตอร์ในงานเชื่อมแบบจุด (Spot Welding) ส่วนในงานเชื่อมอาร์คนั้น ซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่วิเคราะห์มุมของหัวเชื่อมและกระแสไฟฟ้า เพื่อให้สามารถหาสาเหตุได้ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน
ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ มีความสามารถในการรองรับโปรแกรมเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานของลูกค้ารายต่าง ๆ ด้วย จึงกล่าวได้ว่า จะสามารถช่วยในการเสริมศักยภาพการผลิตได้อย่างเหมาะสม และเข้ากันกับวิธีการทำงานของลูกค้าได้
ส่วนทางด้าน FANUC นั้น ได้พัฒนา “ARC Mate 120iD” Arc Welding Robot ด้วยการปรับดีไซน์ใหม่ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้น ด้วยการนำสายเคเบิ้ลซึ่งแต่เดิมอยู่ด้านนอกเข้าไปเก็บไว้ข้างในตัวหุ่น ส่งผลให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์รุ่นต้นแบบที่ได้พัฒนาร่วมกับ Kobe Steel ซึ่งมีคุณสมบัติในการเชื่อม Ultra High Tensile Steel เข้ากับอลูมิเนียม ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำกระบวนการงาน Dissimilar Metal Welding ของ Kobe Steel มาติดตั้งกับ Welding Robot ของ FANUC
บทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์
เดิมทีแล้ว การเชื่อมโลหะต่างชนิดเข้าหากันนั้นทำได้ยาก โดยทั่วไปจึงใช้วิธีการประกอบกันแล้วยึดไว้ด้วยตะปูเกลียวเสียมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้รับผิดชอบจาก Kobe Steel ได้แสดงความมั่นใจว่าเทคโนโลยีของตนจะใช้งานจริงได้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ท่ามกลางเทรนด์การลดน้ำหนักชิ้นส่วนที่กำลังมาแรง “โดยไม่จำกัดไว้แค่การลดน้ำหนัก แต่ยังทำให้อิสระในการเชื่อมงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
ส่วน Amada นั้น อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบอัตโนมัติให้กับ Welding Robot เพื่อทำตลาดในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยหุ่นยนต์ที่ตั้งใจใช้ทำตลาดนี้ก็คือ “FLW-3000 ENSIS” Welding Robot ติดตั้ง Fiber Laser ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเอง ซึ่งรองรับชิ้นงานในหลายขนาดได้ด้วยการเชื่อมที่เหมาะสมซึ่งเป็นผลจาก Variable Beam Adaption
เพื่อวัสดุที่เชื่อมได้ยาก
นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อใช้ในการเชื่อมวัสดุที่เชื่อมได้ยากในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งโมเดลใหม่นี้ ใช้การเชื่อมด้วยเลเซอร์ที่มีกำลังถึง 1,000 วัตต์
Amada กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะตัดสินใจขยายธุรกิจเพื่อรองรับตลาดงานเชื่อมที่ขยายตัวรวดเร็วขึ้นหรือไม่ ซึ่งประธาน Tsutomu Isobe กล่าวแสดงความเห็นว่า “คาดว่ายอดขายในปีงบประมาณ 2021 จะสูงขึ้นจากปัจจุบันนี้อีก 2 หลัก”