“Industry 4.0” จากมุมมองของผู้บริหารอาวุโสแห่ง Siemens

อัปเดตล่าสุด 1 พ.ค. 2561
  • Share :
  • 778 Reads   

ประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมขนานแท้ การเปลี่ยนเข้าไปสู่ยุค Industry 4.0 นั้นอยู่ในแนวทางที่เรียกว่า Industrial Value Chain Initiatives (IVI) โดยนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ร่วมในกระบวนการผลิต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของ Demand และ Supply แห่งโลกอนาคต

แม้ว่าจะตามหลังประเทศเยอรมนีที่ประกาศเข้าสู่ยุค Industry 4.0 ตั้งแต่ปี 2015 แต่ปัจจุบันญี่ปุ่นก็เริ่มวางแผนสำหรับ Industry 5.0 กันแล้ว ญี่ปุ่นมีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความสะดวกสบาย รวมถึงความปลอดภัยให้กับประชากร และเพื่อที่จะเข้าสู่ยุค 5.0 ได้นั้นก็ต้องผ่านยุค 4.0 ไปให้ได้เสียก่อน

และจากมุมมองของผู้ผลิตญี่ปุ่น พวกเขาจะมีความคิดเห็นกับ Industry 4.0 อย่างไร

Mr. Taro Shimada ผู้บริหารอาวุโสบริษัท Siemens กล่าวถึง “ความสอดคล้องของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ต้องมียิ่งขึ้น”

“ปัจจุบัน ความเกี่ยวเนื่องระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โรงงานและระบบคลาวด์ กำลังมีมากขึ้นจนแทบจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเดิมทีแล้ว ผลิตภัณฑ์ของ Siemens มีปัญหาในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จากบริษัทอื่นได้ยาก แต่ด้วย MindSphere ระบบ IoT เวอร์ชั่นล่าสุดที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นมา ทำให้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำได้โดยง่ายเฉกเช่นเดียวกับการต่อสายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์”

ส่วนทางด้านคู่แข่งของเรานั้น ก็คงจะเป็นผู้ผลิตค่ายสหรัฐอเมริกา เช่น General Electric, และผู้ผลิตจากค่ายญี่ปุ่นอย่าง Hitachi ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเรามีจุดเด่นที่ความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลผ่านอุปกรณ์ควบคุมที่สูงกว่าของสหรัฐฯ และไม่มีความจำเป็นต้องเชื่อมเครื่องจักรทุกชิ้นเข้ากับ AI แบบผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่น

เคยมีผู้แสดงความเห็นว่าแนวคิด Industry 4.0 นั้นไม่เหมาะกับประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามนั่นก็เป็นเพียงข้อแก้ตัว ซึ่งแม้ประเทศญี่ปุ่นจะกล่าวว่าตนมีทักษะทางงานฝีมือสูง แต่ในโลกที่ก้าวหน้าไปทุกวัน สิ่งเช่นนั้นจะมีแต่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นนี้

โดยแนวคิด Industry 4.0 มีเป้าหมายหลัก คือ การเปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตให้เป็นระบบอัตโนมัติ  เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ ทำให้ญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่พึ่งพาแต่ทักษะงานช่างเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ เรายังเล็งเห็นว่า การนำ MindSphere เข้าใช้ในโรงงานญี่ปุ่น ซึ่งมักมีการใช้งานระบบจำนวนมากในโรงงานเดียวกัน จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก และในญี่ปุ่นก็มีจำนวนของผู้ที่กล้าตัดสินใจอยู่พอสมควร ซึ่งเราก็อยากจะร่วมเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไปกับผู้คนเหล่านี้”