Solar Cell บูม! Sharp และ Panasonic ลุยตลาดต่างประเทศ
Sharp และ Panasonic ดำเนินการขยายธุรกิจโซลล่าเซลล์นอกประเทศญี่ปุ่น โดยในปีงบประมาณ 2017 นั้น Sharp ได้รับออเดอร์การสั่งซื้อเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่มากกว่า 10 รายการจากประเทศไทยและเวียดนาม ส่วน Panasonic ได้ขยายช่องทางการขายในอินเดียและตุรกี เล็งเพิ่มยอดขายนอกญี่ปุ่นซึ่งแต่เดิมมีสัดส่วนอยู่ที่ 25% จากยอดขายทั้งหมดในปีงบประมาณ 2016 ให้เป็น 70% ขึ้นไปในปีงบประมาณ 2018 ตามรับตลาดโซล่าเซลล์ที่ขยายตัวในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นผลจากความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งได้รับความเห็นชอบในปี 2016 ส่วนอีกสาเหตุมาจากการชะลอตัวตลาดโซล่าเซลล์ในประเทศญี่ปุ่น
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ Sharp ได้รับการสั่งซื้อโซล่าเซลล์ขนาด 48,000 กิโลวัตต์จากเวียดนาม และมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน ส่วนในไทยนั้นก็ได้รับการสั่งซื้อโซล่าเซลล์จากซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่เช่นกัน เป็นการสั่งซื้อสำหรับร้านค้าและคลังสินค้ารวม 16 แห่ง ซึ่งรวมแล้วเทียบเท่ากับโซล่าเซลล์ขนาด 16,000 กิโลวัตต์ และมีกำหนดเริ่มจัดส่งในช่วงปลายงบประมาณ 2018 นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการเข้าติดตั้งโซล่าเซลล์ในอีก 11 แห่ง หรือรวมเท่ากับ 11,000 กิโลวัตต์อีกด้วย
ส่วน Panasonic นั้น ได้ใช้ธุรกิจในทั้ง 2 ประเทศซึ่งตนเข้าซื้อกิจการเพื่อเพิ่มช่องทางการขาย เล็งไปที่การรับติดตั้งโซล่าเซลล์ให้กับอาคารเชิงพาณิชย์ โดยมีซัพพลายมาจากโรงงานในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก Tesla เพิ่มยกระดับธุรกิจนอกญี่ปุ่นของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมี “RE100” ธุรกิจความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน ซึ่งทุ่มเทให้กับการนำพลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้ 100% ซึ่งกำลังมาแรง ด้วยบริษัททั่วโลกรวมแล้ว 131 รายที่เข้าร่วม ซึ่งหลายรายในจำนวนนี้ เป็นลูกค้าของทั้ง Sharp และ Panasonic ด้วย
ปัจจุบัน โซล่าเซลล์ที่ญี่ปุ่นผลิตขึ้นถูกส่งออกในสัดส่วนปีละ 10% อย่างไรก็ตาม ตลาดโซล่าเซลล์ญี่ปุ่นนั้นกลับมีการชะลอตัวราว 20% ต่อปี ส่วนทางกับตลาดโลกที่โตขึ้นปีละ 20% ทำให้การส่งออกสินค้าสู่คลาดโลก กลายเป็นกุญแจสำคัญในการเอาตัวรอดของผู้ผลิตโซล่าเซลล์ญี่ปุ่น
อ่านต่อ
Fujitsu เปิดตัว Battery-free Beacon “PulsarGum” แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ขนาดจิ๋ว
ไทยสเตนเลสสตีล ทุ่มงบ 50 ลบ. ติดตั้งโซช่าเซลล์
กองทุนนางฟ้า มอบเงินลงทุนลักษณะให้เปล่า 4 ล้านบาท ให้กับ StartUp เพื่อใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน