“EV Shift” โครงสร้างอุตสาหกรรมที่ EV เปลี่ยนโลก ผลจาก “นโยบายสิ่งแวดล้อม”
ด้วยการจำกัดการจำหน่ายรถเบนซินและรถดีเซล กระแสของการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ “EV Shift” จึงกำลังมาแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรป สำหรับผู้นำด้าน EV ในญี่ปุ่น คือ นิสสัน ในขณะที่ฮอนด้าและโตโยต้ายังล่าช้าอยู่กับรถเซลล์เชื้อเพลิง (FCV) ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดรถอีโคคาร์ ในขณะที่กำแพงของการวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จไฟและการพัฒนาแบตเตอรี่ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ
เมื่อช่วงสิ้นเดือนกันยายน รัฐบาลจีนเริ่มบังคับใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง โดยประกาศนโยบายให้ค่ายรถต้องมีการผลิตและการขาย NEV (New-Energy Vehicle) ในอัตราส่วนคงที่ ตั้งแต่ต้นปี 2019 เป็นต้นไป
ส่วนทางด้านยุโรป ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านสู่ EV โดยรัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศสได้มีการประกาศห้ามจำหน่ายรถยนต์เบนซินตั้งแต่ปี 2040 เป็นต้นไป
Mr. Takahiro Hachigo ประธานฮอนด้าให้ความเห็นว่า “ตลาดยานยนต์กำลังเปลี่ยนแปลง ที่ไม่ใช่แค่การพัฒนา แต่การผลิตก็ต้องเปลี่ยนแปลงเช่นกัน” เพื่อตามให้ทันคลื่นลูกใหม่นี้
โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ฮอนด้าได้ประกาศรวมสายการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อที่โรงงานซะยะมะ ให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโรงงานโยริอิ และได้วางแผนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เช่นการติดตั้งระบบไฟฟ้า และเปิดโรงงานเพิ่มที่ต่างประเทศในอนาคต
รองประธาน Yoshi Yamane ได้ย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนาภาคการผลิต โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนสู่ระบบไฟฟ้าว่า “คลื่นของการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้ามาเร็วมาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจ และข้ามไปให้ได้ด้วยความร่วมมือจากทุกคน”
โดยหลังจากนี้ ได้มีแนวทางในการดึงตัววิศวกรจากต่างชาติมาประจำโรงงานโยริอิ เพื่อช่วยในการวางแผนเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การตรวจสอบ และการพัฒนาสู่มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งประธาน Hachigo ให้ความเห็นว่า “จำเป็นต้องส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดโลกโดยเร็ว”
ปัจจุบัน ฮอนด้าได้วางแผนตั้งเป้าขายยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 2 ใน 3 ของยอดขายออนด้าทั่วโลก โดยเมื่อปี 2016 ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้จำหน่าย FCV “Clarity Fuel Cell” แล้ว 460 คัน และฮอนด้าจะยังคงครองตำแหน่งสุดยอดรถอีโคคาร์ของ FCV ด้วยภาพลักษณ์รถไร้มลพิษ ควบคู่ไปกับการพัฒนา EV
อย่างไรก็ตาม ด้วยกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปยัง FCV มานาน ทำให้ EV ของฮอนด้าดำเนินไปอย่างล่าช้า แม้ว่าจะมีการวางตลาดของ “Clarity Electric” ในเดือนสิงหาคมที่สหรัฐฯ แต่นั่นก็เป็นเพียงการขยายตลาดแบบเร่งด่วน
ตลาดที่น่าจับตามอง คือ ประเทศจีน ซึ่งในเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ฮอนด้าได้ร่วมมือกับบริษัท IT ยักษ์ใหญ่ ในการพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมกระแสไฟฟ้าสำหรับ EV เพื่อเสริมระบบการพัฒนาของตนให้เข้มแข็ง และมีแผนลงทุน EV เพิ่ม ด้วยแบรนด์รถจากบริษัทร่วม 2 แห่ง
ส่วนการร่วมทุนกับริษัทอื่นๆ นั้น ได้มีการร่วมทุนกับเจเนอรัลมอเตอร์ โดยมีจะเริ่มผลิตเซลล์เชื้อเพลิงที่สหรัฐฯ ในปี 2020 และจะติดตั้งระบบเซลล์เชื้อเพลิงให้กับยานยนต์ของทั้ง 2 บริษัท นอกจากนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ยังได้ร่วมการวิจัยและพัฒนามอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้ากับฮิตาชิอีกด้วย โดยมีจะเริ่มผลิตในปีงบประมาณ 2019
ประธาน Hachigo ยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการร่วมทุน โดยให้ความเห็นว่า “หากดูแล้วว่า WIN-WIN กันทั้ง 2 ฝ่าย จะมีพาร์ทเนอร์เพิ่มอีกก็ยังได้” และได้ตั้งเป้าจะหลุดออกจากกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวเอง เพื่อเอาชนะตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต