เทรนด์สินค้าอีพ็อกซี่เรซิ่น ความต้องการ Semi-Conductor พุ่ง เอื้อโอกาสสร้างโรงงานใหม่

อัปเดตล่าสุด 11 พ.ย. 2560
  • Share :
  • 595 Reads   

รุกหนักด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง

               แนวโน้มความต้องการอีพ็อกซี่เรซิ่นสำหรับผลิตเป็นวัสดุเคลือบเซมิคอนดัคเตอร์และแผ่นกระดานเคลือบยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเซมิคอนดัคเตอร์ที่มีความก้าวหน้าในการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กลงและ IoT นั้น ก่อให้เกิดความต้องการอีพ็อกซี่เรซิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนได้กระตุ้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถตั้งโรงงานภายใต้ความร่วมมือของ SMIC และ Fujian Jinhua Integrated Circuit ภายในปี 2018 ผู้เกี่ยวข้องมองว่า “นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมการทำธุรกิจกับผู้ผลิตจีน นอกเหนือจากบริษัทในชาติอื่น ๆ เช่น อินเทลของสหรัฐฯ ซัมซุงของเกาหลีใต้ และ TSMC ของไต้หวัน”

               สำหรับความสำคัญของอีพ็อกซี่เรซิ่นนั้น นับว่าเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมากจากการนำไปใช้ในเซมิคอนดัคเตอร์ของสมาร์ทโฟน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าในยานยนต์ ซึ่งในตลาดจีน เกาหลีใต้ และไต้หวันมีการแข่งขันที่รุนแรง และบริษัทต่าง ๆ ก็มีกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเพื่อหาจุดยืนให้กับตน

               ท่ามกลางการทะยานตัวของราคาน้ำมันดิบ ทำให้เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนที่ผ่านมามีการขึ้นราคาของอีพ็อกซี่เรซิ่นหลังจากที่หยุดนิ่งมา 4 ปี ทางผู้รับผิดชอบของผู้ผลิตรายใหญ่ได้เปิดเผยว่า “ได้รับความเข้าใจจากทางลูกค้า และราคาใหม่นี้ก็ได้รับการพิจารณาและยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ”

การฟื้นฟูเมืองหลวง (Tokyo) คือเชื้อไฟที่ดี

               ในส่วนงานวิศวกรรมโยธานั้น การฟื้นฟูเมืองหลวงกรุงโตเกียวเพื่อรองรับโตเกียวโอลิมปิคและพาราลิมปิคนั้นก็เป็นดั่งเชื้อไฟที่ดี ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้คาดการณ์ได้ว่าจะมีการเติบโตอีก 3% แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการจะเข้าร่วมการแข่งขันในภาคสินค้าทั่วไป ทั้งในด้านกำลังผลิตและราคากับบริษัทต่างๆ นั้นยังเป็นไปในทางลบอยู่ ต่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน “ความต้องการก็จะมุ่งไปยังสินค้าคุณภาพเสมอ แม้จะเป็นแค่งานซ่อมบำรุงก็ตาม”

สถานการณ์ล่าสุดมียอดขายสูงขึ้น

               หากอ้างอิงจากสถิติการผลิตโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (ข้อมูลทุติยภูมิ) แล้ว จะพบว่าปริมาณการผลิตในเดือนกรกฎาคมลดลง 5% หรือ 10,341 ตันหลังจากไม่ตกลงมา 2 เดือน ส่วนปริมาณการขายในเดือนเดียวกันนั้นลดลง 9.1% คิดเป็น 9,985 ตัน ส่วนมูลค่าการขายนั้น ลดลง 9.2% คิดเป็นมูลค่าถึง 4,724,104,000 เยน และมีจำนวนคงเหลือถึง 3.3% หรือ 16,768 ตัน

               อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม (ข้อมูลปฐมภูมิ) ปริมาณการผลิตลดลง 5.5% หรือ 9,777 ตัน ปริมาณการขายมากขึ้น 8.8% หรือ 10,868 ตัน และจำนวนคงเหลือลดลง 0.6% หรือ 16,701 ตัน