มาเลเซีย, ไทย เตรียมเข้ายุค 4.0 หากผลักดันถูกทาง

อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2562
  • Share :
  • 629 Reads   

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกรม 10 ประเทศ ซึ่งหากไม่นับประเทศที่มีสภาวะเศรษฐกิจโดดเด่นเป็นพิเศษอย่างสิงคโปร์ และบรูไนแล้ว พบว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีรองลงมา หากใช้ GDP เป็นเกณฑ์การประเมิน คือ มาเลเซีย ซึ่งมี GDP ต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และไทย ที่ 7,000 ดอลลาร์สหรัญ ส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศ ถูกคาดการณ์ว่าจะกลายเป็นประเทศทีมีรายได้สูงลำดับถัดไปในอาเซียน อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ช่วงปี 2010 ทั้ง 2 ประเทศประสบปัญหาเกิดการชะงักทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลให้มาเลเซียมีการจ้างงานแรงงานอินโดนีเซียเป็นจำนวนมาก ส่วนในไทยคือกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ตามลำดับ ซึ่งทั้งมาเลเซีย และไทย มีการจ้างแรงงานต่างชาติรวมแล้วสูงถึงหลายแสนคน แต่อุตสาหกรรมการผลิตกลับไม่มีการพัฒนามากนัก ส่งผลให้รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศตัดสินใจพัฒนาศักยภาพสู่ “Industry 4.0” เพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับกำลังผลิต

ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น จึงมุ่งประสานความร่วมมือกับมาเลเซีย และไทย ตามแนวทาง “ASEAN 4.0” โดยภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น มีความเห็นว่าทั้ง 2 ประเทศ มีความพร้อม และศักยภาพเพียงพอจะเข้าสู่ยุค 4.0 ได้ หากมีการผันตัวจากประเทศที่ขับดันเศรษฐกิจด้วยแรงงาน มาเป็นประเทศที่ขับดันเศรษฐกิจด้วยองค์ความรู้ใหม่ แต่ยังไม่เกิดขึ้นจริงเพราะความไม่พร้อมทางด้านบุคลากร ซึ่ง Mr. Kouji Sakou นักวิเคราะห์อาวุโสประจำภูมิภาคเอเชีย จาก Mizuho Research Institute ได้แสดงความเห็นไว้ ดังนี้

มาเลเซีย

รัฐบาลมาเลเซีย ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมหลักรวมแล้ว 5 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1. เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ 2. เครื่องจักร 3. ผลิตภัณฑ์เคมี 4. เครื่องมือแพทย์ และ 5. อากาศยาน ซึ่งทั้ง 5 อุตสาหกรรม ได้รับการผลักดันทางด้าน IoT เป็นอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลมาเลเซีย จึงประสานความร่วมมือในการยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศนับตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยของรัฐบาลมหาธีร์ (ครั้งที่ 1) ซึ่งประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นอย่างมาก และมีความพัฒนาต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียพยายามผลักดันการลงทุนเครื่องจักรในประเทศให้เป็นรุ่นล่าสุดตลอดเวลา สอดคล้องไปกับการพัฒนาบุคลากร เพื่อยกระดับการผลิตของประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่า หากมีการกระชับความร่วมมือให้มากขึ้นในอนาคตแล้ว มาเลเซียก็จะสามารถเติบโตได้อีกมาก

ไทย

ส่วนในไทยนั้น อุตสาหกรรมที่ได้รับการผลักดันโดยหลักคือ 1. ยานยนต์ 2. Smart Electronics 3. การแพทย์ 4. อุตสาหกรรมการผลิต และไบโอคลัสเตอร์ และ 5. อาหาร ซึ่งได้รับการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาโดยเร็ว 

ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยมีความหนาแน่นสูงจนถูกต่างประเทศเรียกว่า “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” อย่างไรก็ตาม ความต้องการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้เข้าสู่ยุคใหม่นั้น ก่อให้เกิดการคาดการณ์ว่า ธุรกิจญี่ปุ่น จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมากยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจากความพยายามที่จะยกระดับรถยนต์ไฮบริด และยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น แสดงความเห็นว่า อุปสรรคสำคัญที่สุดในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย คือ การพัฒนาบุคลากร และความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงควรให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านบุคลากรให้มากขึ้น


GDP ต่อหัว ประเทศจีน และ ASEAN

(ดอลลาร์สหรัฐ)