IFR เผย ยอดขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลก พุ่ง 31%

อัปเดตล่าสุด 27 ก.ย. 2561
  • Share :

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2018 ในการประชุม IFR CEO Roundtable ที่เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี ได้มีการเปิดเผย ยอดขายทั่วโลกของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม มียอดอยู่ที่ 387,000 ยูนิตในปี 2017 ซึ่งเพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบกับปีก่อน (2016: 294,300 ยูนิต) โดยประเทศจีนมีการเติบโตสูงที่สุดในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 58% ยอดขายในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 6% ในเยอรมนีเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 

Industrial-Robot-2017 ยอดขายทั่วโลกของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

การเติบโตแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมของผู้ใช้หุ่นยนต์
ในปี 2017 มีการจำหน่ายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปยังผู้ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ประมาณ 125,500 ยูนิต ในส่วนนี้ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโต 21% สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงสุด คือ อุตสาหกรรมโลหะ เพิ่มขึ้น 55% อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 33% และอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้น 19%
 
Top 5 countries of total sales in 2017 ยอดขายทั่วโลกของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเทศที่มียอดขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสูงสุด
ในแง่ของยอดขาย ภูมิภาคเอเชียมีตลาดที่แข็งแกร่งที่สุด ได้แก่ ประเทศจีนติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำนวนประมาณ 138,000 ยูนิตในปี 2017 ตามมาด้วยประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนประมาณ 46,000 ยูนิต และเกาหลีใต้มีประมาณ 40,000 ยูนิต สำหรับตลาดในสหรัฐอเมริกามียอดขายประมาณ 33,000 ตัว และในประเทศเยอรมนีมียอดขายประมาณ 22,000 ยูนิต

 
ในขณะที่ประเทศเวียดนามมีการเติบโตของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากเพิ่มขึ้น 410% โดยมียอดขายที่ประมาณ 8,000 ยูนิต จนเป็นประเทศอันดับที่ 7 ที่มียอดขายสูงสุดในปีที่ผ่านมา

 Industrial-Robots-2017 Vietnam 7th largest destination
 

การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ จะเป็นตัวกำหนดอนาคต
"การเติบโตของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยังคงก้าวไปทั่วโลกอย่างน่าประทับใจ" Junji Tsuda ประธาน International Federation of Robotics กล่าว "แนวโน้มสำคัญ เช่น digitalisation การทำให้เข้าใจง่ายและการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ จะเป็นตัวกำหนดอนาคตและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างรวดเร็ว"

 


ด้วยยุคแห่งดิจิตอลเช่นนี้ ในกระบวนการผลิตจริงนั้นมีการเชื่อมโยงกับโลกของข้อมูลเสมือนมากยิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องผ่าน Machine Learning หุ่นยนต์จะได้รับทักษะใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ในเวลาเดียวกันอุตสาหกรรมเองกำลังทำงานเพื่อลดความยุ่งยากในการจัดการกับหุ่นยนต์ 

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในอนาคตควรจะง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ให้การโปรแกรมหุ่นยนต์เป็นขั้นตอนที่ใช้งานได้อย่างง่าย ๆ  เทคโนโลยีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะน่าสนใจสำหรับผู้ใช้ที่มีทักษะแล้วเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่จะสามารถนำระบบอัตโนมัติไปใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนานี้ยังเป็นการปูทางสำหรับแนวโน้มสำคัญของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์โดยปราศจากเครื่องป้องกัน  ซึ่งจะนำเสนอแนวทางใหม่ ๆ ในกระบวนการผลิตที่มีความยืดหยุ่น

ในอนาคตความร่วมมือระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์จะสนับสนุนการผลิตให้มีความยืดหยุ่นในการผลิตปริมาณน้อย (Small Batch Production) และมีความซับซ้อนสูงได้