M Talk at Metalex สนทนา 90 นาที “The next Money Machine - ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” 22 พ.ย. 62

มองมุมกลับ ถึงต้องตีลังกามองก็ต้องทำ เพราะวิกฤตก็เป็นแค่ตลาดที่เปลี่ยนไป มาฟังมุมกลับให้เจอโอกาสธุรกิจ M Talk “ The next Money Machine-ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่ ” 22 พ.ย.นี้ จองด่วนที่นั่งมีจำนวนจำกัด

อัปเดตล่าสุด 30 ต.ค. 2562
  • Share :
  • 655 Reads   

Bitwise Group ประกอบไปด้วย 3 บริษัท คือ Bitwise (Thailand) ทำธุรกิจผลิตเครื่องปรับอากาศทุกประเภทตั้งแต่ขนาดเล็กใช้ในบ้าน ขนาดใหญ่ใช้ในอาคารพาณิชย์ สำนักงาน โรงพยาบาล จนถึงเครื่องปรับอากาศอุตสาหกรรมที่มีการส่งออกสู่ลูกค้ากว่า 50 ประเทศทั่วโลก, Bitwise Heat Exchange ผลิตตัวแลกเปลี่ยนความร้อน และ Thai Tasaki Engineering สำหรับทำตลาดและจำหน่ายขายเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ “Tasaki” เครื่องปรับอากาศแบรนด์คนไทย 

ปัจจุบันบริหารงานโดย คุณภวเกียรติ กีรติชีวนันท์ หนึ่งในสิบผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ M AWARD – G2 of the Year ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรุ่นที่สอง ที่มีความโดดเด่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต นับเป็นผู้บริหารที่มีความ Strong ทั้งวิสัยทัศน์ และทัศนคติ ผู้ซึ่งพร้อมรับความท้าทาย ไม่กลัวต่อความเข้มข้นของการแข่งขันธุรกิจ ดูจะเหมาะสมกับการบริหารงานในยุคนี้ที่จะพาองค์กรรอดจากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน

ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งจากพิษสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันและทองคำ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่กำลังถูกดิสรัปอย่างรวดเร็ว หลายปัจจัยล้วนเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงต่อการกระทบกับธุรกิจ สำนักข่าวออนไลน์ M Report เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตโลหะการ  M Report จึงขอทำหน้าที่ส่องสถานการณ์ผ่านคำถาม จนได้คำตอบจาก คุณภวเกียรติ กีรติชีวนันท์  ถึงเหตุการณ์ปัจจุบันของธุรกิจอุตสาหกรรมผู้ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ของไทย

เปิดวิสัยทัศน์ ส่องสถานการณ์ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ปี 2019 

ตลาดเครื่องปรับอากาศมีสถานการณ์เป็นอย่างไร
“สำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก สถานการณ์ตลาดถือว่าไม่ดีนักสอดคล้องกับตามสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดเครื่องปรับอากาศคือ ปี 2019 นี้ อากาศในประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ของโลกมีสภาพอากาศที่ไม่ร้อน ส่งผลให้มีสินค้าคงค้างในสต๊อก และถูกระบายมาที่ประเทศไทย แต่สำหรับไลน์สินค้าอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2018 จากการที่มีห้างสรรพสินค้าใหม่เกิดขึ้น รวมถึงมีการรีโนเวทอาคารสำนักงานต่าง ๆ เกิดขึ้น”

ความต้องการในด้านคุณภาพ และราคาความเปลี่ยนแปลงไหม
“ในด้านคุณภาพไม่มีความเปลี่ยนแปลง เนื่องจากลูกค้ามีความคาดหวังสูงมาพอสมควรแล้ว จะมีก็ในส่วนของเรื่องของการบริการ ที่ลูกค้าต้องการความรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งบริษัทก็ต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความคาดหวังนั้น”

สถานการณ์รายได้ Bitwise Group 
ในภาพยอดขายรวมของทั้งสามบริษัทเฉลี่ยเติบโตขึ้นจากปี 2018 ประมาณ 10% โดยเป็นผลมาจากการได้รับออเดอร์ผลิตภัณฑ์ใหม่ การมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น และการเข้าสู่ตลาดธุรกิจพลังงาน”

สภาวะเศรษฐกิจ ปี 2019 กระทบ Bitwise Group ไหม
“สถานการณ์สภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ไม่ดีนัก ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าที่ส่งออกก็สูงขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้ยอดขายต่ำลง แต่การที่ปีนี้บริษัทยังสามารถเติบโตได้ เพราะเรามีการเปิดตลาดใหม่ ทั้งด้วยสินค้าที่เราผลิตและจำหน่ายอยู่ รวมถึงพัฒนาขยายแตกไลน์สินค้า และบริการใหม่”

ปี 2019 มีการลงทุนเทคโนโลยีเพิ่มเติมไหม
“ปีนี้มีการลงทุนเครื่องจักรหลัก ถือเป็นการเริ่มต้นนำโรบอทมาใช้ในกระบวนการผลิต โดยเหตุผลในการลงทุนคือ การนำเทคโนโลยีมาช่วยเหลืองานของมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนงานที่วิเคราะห์แล้วว่า ไม่ดีต่อสุขภาพของพนักงาน เช่นส่วนงานกระบวนการเชื่อม ที่มีทั้งควัน และแสงสว่าง Spot Welding เราจึงมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เชื่อมมาใช้ และยังมีหุ่นยนต์ช่วยป้อนแผ่นเหล็กเข้าเครื่อง ที่ช่วยทุ่นแรงพนักงานจากการยกเหล็ก แผ่นเหล็กบางแผ่นหนักถึง 35kg กก. นอกจากจะนำเทคโนโลยีมาช่วยแบ่งเบาภาระงานแล้ว โรบอทยังช่วยยกระดับคุณภาพชิ้นงานได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเรายังไม่ได้มองไปถึงเรื่องการนำหุ่นยนต์มาทดแทนแรงงานคนเป็นประเด็นหลัก สาเหตุเพราะราคาของเทคโนโลยี ซึ่งแม้จะถูกลงอย่างมากในปัจจุบัน แต่เมื่อเทียบกับค่าแรงในประเทศไทยแล้ว Return on Investment ก็ยังต้องใช้ระยะเวลานานอยู่ แต่ประเด็นความจำเป็นของการลงทุนในการนำโรบอทเข้ามาใช้ในการผลิต คือ แรงงานหายากมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเราต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ไปในงานที่จำเป็น มีความซับซ้อน ต้องการความยืดหยุ่นสูง ส่วนงานที่หุ่นยนต์สามารถทำได้เราก็ไม่ปฏิเสธที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อมาช่วยพนักงงานของเราทำงาน มาช่วยยกระดับคุณภาพชิ้นงาน และมาช่วยเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิตโดยรวม”

สถานการณ์ต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร
“ต้นทุนการผลิตเทียบกับปี 2018 ลดลง โดยเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ เรื่องของราคาทองแดงในตลาดปรับลดลง, อัตราแรกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น และที่สำคัญ คือ การปรับปรุงกระบวนการผลิตอยู่ตลอดเวลา โดยเรามีการนำระบบ LEAN มาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น”

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังดิ้นรนเพื่อรอดจากพิษเศรษฐกิจ อะไรที่ต้องคิดและทำในเวลานี้
“ตรวจสอบสุขภาพบริษัทก่อนว่าปัญหาอยู่ที่ไหน ถ้าปัญหาคือยอดขายไม่มี ต้องคิดให้ออกว่า ทำอย่างไรถึงจะได้ยอดขายคืนมา  อาจจะต้องหาตลาดใหม่ คิดพัฒนาสินค้าใหม่ ถ้าแต่กรณีมียอดขายมี แต่ไม่มีกำไร ก็ต้องไปดูต้นทุน สุดท้าย ถ้ายอดขายไม่มี ตลาดก็ไม่มี จะจัดการกับค่าใช้จ่ายยังไง”

เศรษฐกิจวิกฤต Bitwise ตั้งรับอย่างไร
“ในวิกฤตมีโอกาสศอยู่เสมอ ผมคิดว่าคำว่า “วิกฤต” มันค่อนข้าง negative ฟังดูแล้ว น่ากลัว มีแต่เรื่องแย่ ๆ ต้องระวังตัว ไม่ทำอะไรมาก แต่จริง ๆ แล้ว วิกฤตอาจเป็นแค่สภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของเวลา ความต้องการ และยุคสมัย  ถ้าเรามองเห็นทิศทางความเปลี่ยนแปลง เราก็จะได้เปรียบ ดังนั้นก็ต้องเตรียมพร้อมรับทุกกระบวนท่า”

โอกาสทางธุรกิจหาได้จากไหน 
“โอกาสทางธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เกิดความเชื่อมั่น และตัดสินใจเลือกใช้บริการของเรา เกิดจากความจริงใจ และซื่อสัตย์ต่อคู่ค้า และทีมงานที่มีคุณภาพ”

หนึ่งประโยคปลุกใจผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมยุค 2019
“เส้นทางมีมากมาย เราอาจปรับเปลี่ยนเส้นทาง เพื่อเลี่ยงทางตัน และหาทางลัด เพื่อให้เราก้าวไปถึงเส้นชัยได้ไวกว่า”

 

M Talk เสวนา 90 นาที “The next Money Machine - ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” ในวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายนนี้  คุณภวเกียรติ กีรติชีวนันท์ จาก Bitwise GROUP จะมาเผยสถานการณ์ธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ พร้อมแชร์มุมมองโอกาสดีน่าจับตามองของอุตสาหกรรมฉบับเต็ม รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลการลงทุนพัฒนาด้านระบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และเพิ่มคุณภาพด้านการผลิต ในงาน M Talk  - เสวนา 90 นาที “The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” และนอกจากคุณภวเกียรติ ยังจะได้พบกับ G2 อีก 2 ท่านคือ คุณเกรียงไกร มโนบูรชัยเลิศ จาก C.C.S. GROUP บริษัทคนไทยรายแรกที่ผลิตชิ้นส่วน Aerospace ทั้ง Boeing, Airbus, และ Bombardier และ คุณวรุตม์ รวยสว่างบุญ จาก Micro Precision ผู้ผลิตแม่พิมพ์และชิ้นงานอะลูมิเนียม

 

M Talk  - เสวนา 90 นาที
“The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่”
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 เวลา 11.00  - 13.30 น. 
ห้อง Silk 3-4 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ 
 

 

“The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่”


กิจกรรมเสวนาวงเล็ก ฟังผู้บริหารอุตสาหกรรมไทยรุ่นใหม่ พูดถึงโอกาส 
และช่องทางธุรกิจใหม่ของยุคนี้ พร้อมรับประทานอาหารเที่ยง

 

กำหนดการ
 
11.00-11.30 น.   ลงทะเบียน
11.30-12.00 น.   พบปะ สังสรรค์ และแนะนำตัว                
12.00-13.30 น.   ร่วมฟังเสวนาและรับประทานอาหารเที่ยง M Talk - เสวนา 90 นาที
                             “The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” 
                                 • ​คุณเกรียงไกร มโนบูรชัยเลิศ
                                       C.C.S. GROUP
                                 • ​คุณภวเกียรติ กีรติชีวนันท์
                                       Bitwise GROUP
                                 • ​คุณวรุตม์ รวยสว่างบุญ
                                       Micro Precision Co., Ltd.
 
หมายเหตุ : งานเริ่มและจบตรงเวลา
 
การลงทะเบียนร่วมงาน
 
ค่าเข้าร่วมงาน M Talk - เสวนา 90 นาที “The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” 
ท่านละ 2,000 บาท (ไม่รวม VAT 7%) ที่นั่งจำนวนจำกัด 
 
สแกน QR Code หรือ คลิกจองตั๋วได้ที่ :  https://forms.gle/WWdnL2JUT4dvFEPg9
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณเกสรา มากโพธิ์ l email: [email protected] l โทร. 02 399 5908-9