5G โอกาสใหม่ของผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
กล่าวกันว่า 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีเพียงผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่เท่านั้นที่เข้าถึงได้ ยกตัวอย่างเช่น การทดลองถ่ายทอดสดการแข่งม้าภายใต้ความร่วมมือของ Sharp, KDDI, และมหาวิทยาลัยโตเกียว ซึ่งใช้เครือข่าย 5G ร่วมกับโดรนในการรับส่งภาพความละเอียด 8K และสามารถนำไปต่อยอดในด้านอื่นได้อย่างหลากหลาย เช่น กรณีการแข่งม้านี้สามารถใช้ภาพที่ได้ในการวิเคราะห์กล้ามเนื้อ โครงกระดูก และลักษณะการวิ่งของม้า เพื่อนำไปปรับปรุงสายพันธุ์ และการฝึกฝนให้ดียิ่งขึ้น
อีกรายหนึ่งคือ Sony ซึ่งหลายฝ่ายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประเมินว่ามีความก้าวหน้าในด้าน 5G เป็นอย่างมาก โดย Mr. Shigeki Ijitsuka กรรมการผู้จัดการอาวุโสแผนก 5G บริษัท Sony กล่าวย้ำว่า “5G คือโอกาสทางธุรกิจ มีความเป็นไปได้มากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน” และมีโมเดลธุรกิจด้าน 5G ที่เน้นซึ่งการถ่ายทอดสด
อย่างไรก็ตาม 5G ไม่ได้มีดีเพียงแค่นี้ โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายอื่นนอกจากผู้ผลิตรายใหญ่ที่ใช้โมเดล B2B อย่าง Sony และ Sharp แล้ว 5G ยังเป็นโอกาสของผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยอีกด้วย เนื่องจากเครือข่าย 5G ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการใช้งานกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่สามารถเปิดคลื่นความถี่อื่นเพิ่ม ซึ่งปัจจุบัน บริษัทที่เล็งเห็นว่า สามารถใช้จุดนี้ในการทำธุรกิจได้คือ Panasonic, Mitsubishi Electric, Fujitsu, Toshiba, และ NEC
บริษัทเหล่านี้แสดงความเห็นว่า เทคโนโลยี 5G ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นอุปกรณ์ IoT สำหรับโรงงาน และอาคารอื่น ๆ พร้อมแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ความแพร่หลายของระบบอัตโนมัติ และ Smart Factory จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ความต้องการอุปกรณ์ IoT ที่รองรับ 5G เพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคใหญ่สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่อุปสรรคในเชิงเทคโนโลยี โดยผู้ผลิตอุปกรณ์โรงงานรายใหญ่รายหนึ่ง แสดงความเห็นว่า “ปัญหาสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้อุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นทำงานได้โดยไม่มีปัญหาด้านคลื่นความถี่” และ “เป็นไปได้มากว่าผลิตภัณฑ์จะมีราคาแพง” อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เห็นพ้องกันว่า ตลาด 5G เป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่ามาก และคุ้มค่าที่จะเข้าสู่ตลาด และหากผู้ผลิตเหล่านี้เข้าสู่ตลาดแล้ว ก็จะหมายถึงโอกาสของผู้ผลิตรายย่อยตามไปด้วยนั่นเอง