อุตสาหกรรมการบิน ร่วม สมาคมซับคอนฯ ลงนาม MOU พัฒนาขีดความสามารถ หนุนผู้ประกอบการไทยผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน-ซ่อมบำรุง
ตามยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นนโยบายของรัฐบาล ต้องการให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเองในด้านอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (S-Curve 7) และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (S-Curve 11) นั้น บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) จึงได้ลงนาม ความร่วมมือ MOU ร่วมกันเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของทั้งสองฝ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการผลักดันการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
Advertisement | |
เมื่อวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมคงสิทธิ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด - สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) ได้ร่วมพิธีลงนาม บันทึกความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเพื่อการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปลง ปรับปรุงอากาศยาน/อากาศยานไร้คนขับ/อวกาศยาน ผลิตและซ่อมบริภัณฑ์ภาคพื้น และอุปกรณ์สนับสนุนการซ่อมบำรุงอากาศยาน และประสานงานกับหน่วยผู้ใช้งานในการรับรองมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน AS9100 และ/หรือมาตรฐาน NADCAP หรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Advertisement | |
ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ TAI ร่วมกับกองทัพอากาศ ที่เชื่อมโยงให้สมาคมไทยซับคอน ให้ได้มีโอกาสพบผู้บริหารและทีมงานของ TAI ได้นำเสนอศักยภาพ และคุณภาพการผลิตของบริษัทสมาชิก จนได้รับการยอมรับจากทาง TAI และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก สสว. กองทัพอากาศ และ TAI ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการไทย อาทิเช่น (1) เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานกิจการของ TAI ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน กองบิน 2 จ. ลพบุรี และที่อำเภอตาคลี จ. นครสวรรค์ (2) ทำโครงการโดรนต้นแบบให้ผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสที่จะผลิตชิ้นส่วนโดรนให้กับกองทัพอากาศ (3)ให้ผู้ประกอบการได้ร่วมวิจัย พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ภาคพื้น โดยคนไทย 100% สำหรับใช้ในศูนย์ซ่อมอากาศยานของ TAI (4) นำชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ในศูนย์ซ่อมอากาศยานมาจัดแสดงหาผู้ผลิตภายในประเทศไทยในงานแสดงสินค้า Subcon Thailand 2020 เป็นต้น
ความร่วมมือระหว่าง TAI และ Thai Subcon ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดเป็น MOU ฉบับนี้เพื่อร่วมกันสร้างชาติไทยให้มีกำลัง มีเทคโนโลยี การผลิตเครื่องบิน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอากาศยานที่เข้มแข็ง โดยคนไทยเพื่อคนไทย ลดการนำเข้า ลดการพึ่งพาต่างชาติ เพื่อให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนสืบต่อไป
- ส.ไทยซับคอน ประกาศเดินหน้าพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 400 โรงงาน เพิ่มโอกาสทางการค้าสู่อุตสาหกรรม S-Curve
- ผุดศูนย์รับรองมาตรฐานชิ้นส่วนเครื่องบิน
- Thai Subcon ร่วม MARA ยกระดับการพัฒนาบุคลากรด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ ฝึกเทคโนโลยีชั้นสูงรองรับแรงงาน EEC กว่า 5,000 คน
- โครงการ Made in Thailand หนุนหน่วยงานรัฐใช้สินค้าไทย ด้าน “อุตฯ” หนุน SME ยกระดับมาตรฐาน