“20 ปี สถาบันยานยนต์” ทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์

อัปเดตล่าสุด 22 ก.ย. 2561
  • Share :
  • 462 Reads   

20 ปี สถาบันยานยนต์ ประกาศปรับวิสัยทัศน์ นำการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และเทคโนโลยียานยนต์ที่ทันสมัย ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ทศวรรษหน้าเจอการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า Decade Of Change

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานกรรมการสถาบันยานยนต์ กล่าวใน โอกาสครบ 20 ปี สถาบันยานยนต์ ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ถือเป็นรากฐานสำคัญในการ พัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จากอดีตจนกระทั่งสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ใน ระดับ 1 ใน 12 ของโลกได้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ประกอบการข้ามชาติที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ถึง 24 ราย เป็นรถยนต์ 17 ราย รถจักรยานยนต์ อีก 7 ราย ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ กว่า 2 พันราย ในความสำเร็จ เหล่านี้ สถาบันยานยนต์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสนับสนุนข้อมูล การวิจัยต่าง ๆ เพื่อให้ภาครัฐได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาผู้ประกอบการภายในประเทศ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ การทดสอบและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ และในทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ นับเป็นความสำคัญยิ่งที่ สถาบัน ยานยนต์ จะได้ทวีบทบาททำงานร่วมกับ ภาครัฐ ผู้ผลิตยานยนต์ต่าง ๆ ตลอดจนภาคการศึกษา เพื่อให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย สามารถปรับตัวพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต
 
ด้าน นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวในโอกาส ครบรอบ “20 ปี สถาบันยานยนต์ กับทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลง ของอุตสาหกรรมยานยนต์” ว่า ตลอดระยะเวลา กว่า 6 ทศวรรษ อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ได้ผ่านวิกฤตการณ์ การแข่งขัน และเผชิญกับความท้า ทายกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่าง ๆ นับครั้งไม่ถ้วน แต่ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทำให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยยังคงยืนหยัด แข็งแกร่ง สามารถทำหน้าที่เป็นเสาหลักในด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ของประเทศ ด้วยกำลังการผลิต 3 ล้านคันต่อปี ยอดส่งออกสูงมากกว่า 1 ล้านคันต่อปี ส่งผลให้อุตสาหกรรม ยานยนต์ของไทยสร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP ประเทศ อย่างไรก็ตามท่ามกลางความท้าทาย ที่มา พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค และผู้เล่นรายใหม่ ตลอดจนความ เปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมโลก ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ในทศวรรษหน้าจะต้องมีการปรับตัวและ เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Decade Of Change
 
และเพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแห่งทศวรรษหน้า สถาบันยานยนต์ ได้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ บทบาท ภารกิจใหม่ จากการเป็นองค์กรแห่งความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สู่วิสัยทัศน์ใหม่ ปี 2561 คือ “องค์กรชั้นนำด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนสู่อนาคต ด้วย ระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทันต่อยุคสมัย” ดังพันธกิจหลักที่ได้กำหนดไว้คือ การพัฒนาและ ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ สู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และการเป็นศูนย์ข้อมูลและความเชี่ยวชาญด้าน การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยการก่อตั้ง ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์ สมัยใหม่ หรือ Next Generation Automotive Research Center เพื่อศึกษาและวิจัยแนวโน้มเทคโนโลยี และนวัตกรรมของยานยนต์ รวมทั้งความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมอากาศยานและระบบราง เพื่อให้ผู้รับบริการ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
 
“ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถ เตรียมความพร้อม เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการสู่ Industry 4.0 ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้มีความรู้ และทักษะในด้าน Industrial Automation อย่างมีระบบ และวัดความสามารถได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยระบบรับรองความสามารถ บุคลากร รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาบุคลากรเข้าสู่สายการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถเสริมสร้างความรู้เรื่องเทคโนโลยียานยนต์ขั้นสูง และประสานความร่วมมือกับ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้มาถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยต่อความต้องการ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง สำคัญที่สถาบันยานยนต์กำลังมีความพยายามทำงานร่วมกับหลายฝ่าย เพื่อยกระดับมาตรฐานยานยนต์ไทย สู่สากล จากยุคปัจจุบันไปสู่เทคโนโลยียานยนต์อนาคต”
 
นายอดิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมา ทางสถาบันยานยนต์ มีการจัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนาศูนย์ ทดสอบยานยนต์ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ ด้วยการขยายศักยภาพ ทางเทคโนโลยีเครื่องมือการทดสอบสำหรับมาตรฐานยานยนต์อนาคต การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ทดสอบของสถาบันฯ และระบบงานมาตรฐาน เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านเทคนิคในระดับสากล ทั้งนี้ ภารกิจเร่งด่วน 4 เรื่องหลักที่สถาบันฯ กำลังโฟกัส คือ 

  1. การขยายศักยภาพทางเทคโนโลยีเครื่องมือการ ทดสอบสำหรับมาตรฐานยานยนต์อนาคต 
  2. การเตรียมความพร้อมของบุคลากรทดสอบของสถาบันฯ 
  3. การ พัฒนาระบบงานมาตรฐาน เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านเทคนิคในระดับสากล และ 
  4. การสนับสนุนให้มี การใช้ประโยชน์ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ที่ได้มีการจัดสร้างขึ้น เพื่อการปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยให้ได้อย่างต่อเนื่อง

 
สถาบันยานยนต์ ก่อตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี โดยความร่วมมือของภาครัฐ และเอกชน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 และจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 14 กันยายนในปีเดียวกัน สำหรับปี พ.ศ.2561 นี้ สถาบันยานยนต์ได้วางวิสัยทัศน์ ที่จะเดินหน้าสู่อนาคต เพื่อเป้าหมายหลักในการเป็น “องค์กรชั้น นำด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสู่อนาคต ด้วยระบบนิเวศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทันต่อยุคสมัย” ด้วยความพร้อมที่จะเป็นขุมกำลังอันเข้มแข็งของประเทศไทย ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาน ยนต์ไทย ไปพร้อมกับเทคโนโลยียานยนต์ที่ทันสมัย อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมยาน ยนต์ไทย ด้วยความมั่นคง ยั่งยืนตลอดไป