เจาะลึกแผนยุทธศาสตร์ Electromobility 2025 ของนครแฟรงก์เฟิร์ต

เจาะลึกแผนยุทธศาสตร์ Electromobility 2025 ของนครแฟรงก์เฟิร์ต

อัปเดตล่าสุด 3 ก.พ. 2563
  • Share :

เมื่อปี 2553 นครแฟรงก์เฟิร์ตกําหนดแผนยุทธศาสตร์ Electromobility 2025 มีวัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนข้อริเริ่มให้นครแฟรงก์เฟิร์ตเป็นผู้นําด้านการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเขตเมืองของสหพันธ์ฯ และบรรลุเป้าหมายโดยกําหนดวิสัยทัศน์ 7 ข้อ ได้แก่ (1) มีการคมนาคมขนส่งด้วยยานยนต์พลังงานไฟฟ้าหลายวิธีร่วมกัน (multimodel mobility chains) (2) บรรจุการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในแผนงานคมนาคมขนส่ง 10 ปี (ปี 58 – 68) (3) ภายในปี 2568 มีจํานวนยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในนครแฟรงก์เฟิร์ตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 (4) มีจุดบรรจุพลังไฟฟ้าทั้งของภาครัฐและเอกชนที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและทั่วถึง (5) ลดปริมาณมลพิษทางอากาศและทางเสียงให้ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ภายในปี 2568 (6) ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 100 และ (7) เป็นแบบอย่างที่ได้รับ การยอมรับทั่วสหพันธ์ฯ

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจของนครแฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt Economic Development GmbH) เสนอแผนงานให้นครแฟรงก์เฟิร์ตเพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนี้

  1. โครงการติดตั้งจุดบรรจุพลังงานไฟฟ้าแบบเร็ว (สามารถบรรจุพลังงานไฟฟ้าได้ร้อยละ 80 ภายในเวลา 30 นาที) จํานวน 360 จุด เพื่อเพิ่มจํานวนจุดบรรจุพลังงานไฟฟ้าสําหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องจาก ในปัจจุบันมีจุดบรรจุพลังงานไฟฟ้าแบบธรรมดา 104 จุด และแบบเร็ว 18 จุด ซึ่งเป็นจํานวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ เมืองใหญ่อื่น ๆ ในสหพันธ์ฯ โดยจะติดตั้งตามริมถนน และลานจอดรถของซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง ได้ตลอด 24 ชม. ทั้งนี้ นครแฟรงก์เฟิร์ตมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพียงร้อยละ 0.5 ของจํานวนรถยนต์ที่ได้รับอนุญาต ให้ขับขี่ทั้งหมด และคาดว่าในปี 73 จะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มเป็นร้อยละ 30
  2. ข้อเสนอให้ตั้งงบประมาณ ประมาณ 5 แสนยูโร จัดทําโครงการอุดหนุนเงินจํานวนร้อยละ 25 ของราคาซื้อสําหรับการซื้อรถพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานไฟฟ้า และรถจักรยานพ่วง ไฟฟ้า เป็นต้น และข้อเสนอให้ตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการนําร่อง เพื่อเพิ่มรถแท็กซี่พลังงานไฟฟ้าจํานวน 50 คัน ในนครแฟรงก์เฟิร์ต
  3. โครงการสร้างสถานีสําหรับเช่ารถพลังงานไฟฟ้าหลายประเภทในที่เดียวกัน (E -Mobility Station)เช่น จักรยานไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าแบบ Carsharing และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า โดยวางแผนแบบสร้างใหม่ทั้งสถานี ไม่ใช่เป็นการติดตั้งเพิ่มเติม


นอกจากนี้ นครแฟรงก์เฟิร์ตได้กําหนดแผน “Frankfurtemobit” โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ ของนครแฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt Economic Development GmbH) และบริษัท traffiQ ซึ่งเป็นบริษัทวางแผนและ ควบคุมระบบการให้บริการขนส่งมวลชนของนครแฟรงก์เฟิร์ตเป็นผู้ดําเนินการรณรงค์ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและทั่วไป เปลี่ยนไปใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น (รถยนต์ รถขนส่งและรถโดยสารไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า) โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคประชาสังคม โครงการที่สําคัญ ได้แก่ e-Flinkster รถเช่าแบบ car sharing ของ บ. Deutsche Bahn – DB รถรับจ้างสาธารณะพลังงานไฟฟ้า ร่วมกับ บ. Vetotaxi โครงการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสถานีบรรจุไฟฟ้าของ ท่าอากาศยานนครแฟรงก์เฟิร์ตและสายการบินลุฟท์ฮันซา รถขนส่งพัสดุภัณฑ์พลังงานไฟฟ้าของ บ. UPS และรถโดยสาร ระบบไฮบริดขององค์การขนส่งมวลชน VGF เป็นต้น
 

อ่านบทความ และรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่  : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ www.globthailand.com