1810110090-00-

3 ค่ายรถจับมือ สนับสนุนระบบ Android ในยานยนต์

อัปเดตล่าสุด 22 ต.ค. 2561
  • Share :

Renault–Nissan–Mitsubishi Alliance พันธมิตรผู้ผลิตยานยนต์ 3 ค่ายใหญ่ ประกาศสนับสนุนการใช้ระบบปฏิบัติการณ์ (OS) Android เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการรับส่งข้อมูลของชิ้นส่วนภายในยานยนต์ ยกระดับการแข่งขันด้วยการพัฒนาฟังค์ชันภายในยานยนต์ให้เทียบเท่าสมาร์ทโฟน ซึ่งจะช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีนี้ รวบรวมข้อมูลการทำงานของยานยนต์ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นบริการหลังการขาย และการลดต้นทุนการพัฒนาในอนาคต

เมื่อผู้คนขาดสมาร์ทโฟนไม่ได้

Mr. Kal Mos รองประธาน Renault–Nissan–Mitsubishi Alliance ชี้แจงว่า “หากถามว่าปัจจุบัน ผู้บริโภคใช้วิธีใดในการหาข้อมูลและความบันเทิง คำตอบก็คือสมาร์ทโฟนนั่นเอง” และเน้นย้ำถึงสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่ผู้คนมากมายไม่อาจขาดสมาร์ทโฟนไปจากชีวิตประจำวันได้

ด้วยเหตุนี้เอง Mr. Mos จึงเล็งเห็นว่า หากยานยนต์สามารถใช้งานได้ง่ายเช่นเดียวกับสมาร์ทโฟนแล้ว ก็จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ขับขี่ และผู้โดยสารได้ และหวังว่า ประสบการณ์การทำงานในซิลิคอนวัลเลย์, ธุรกิจสตาร์ทอัพ, General Motors, และ Daimler AG รวมถึงการร่วมมือกับ Google “จะช่วยให้ผู้ใช้ยานยนต์ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน”

คาดการณ์ว่า ทั้ง 3 ค่ายจะสามารถพัฒนาระบบนำทางยานยนต์ด้วย Android และใช้งานจริงได้ภายในปี 2021 หรือหลังจากนั้น ซึ่งระบบนำทางนี้ จะพัฒนาต่อยอดจากแอปพลิเคชันเดิมที่มีอยู่แล้ว คือการใช้ Google Maps, Artificial Intelligence (AI), และ Google Assistant ร่วมกันกับซอฟต์แวร์ใหม่

หนทางสร้างรายได้

นอกจากนี้ ทั้ง 3 ค่ายยังมีแผนติดตั้ง Google Play ให้กับยานยนต์ เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันภายนอก ซึ่งจะเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ใช้รถมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Mr. Mos ยังกล่าวเสริมว่า “หากทำเช่นนี้แล้ว เราจะสามารถนำเสนอแอปพลิเคชันจากผู้พัฒนารายอื่นนอกจาก Google ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย”

โดยโครงสร้างพื้นฐานการรับส่งข้อมูลของชิ้นส่วนภายในยานยนต์ด้วย Android นี้ ทั้ง 3 ค่ายจะใช้ระบบคลาวด์ร่วมกัน เพื่อให้การรวบรวมข้อมูลสามารถดำเนินได้อย่างลื่นไหล และตั้งเป้านำข้อมูลที่ได้ไปใช้การพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น บริการคมนาคม หรือสภาพแวดล้อมในการขับขี่ ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งทำกำไรแห่งใหม่ นอกจากนี้ ยังได้คาดการณ์ถึงการใช้โครงสร้างนี้ เพื่อให้ผู้ใช้ยานยนต์สามารถอัพเดตระบบต่าง ๆ ในรถได้ เช่น อัพเดตซอฟต์แวร์ของกล่อง ECU, หรือติดตั้งแอปพลิเคชันสำหรับตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนภายในรถแบบไร้สาย

คาดการณ์ว่า โครงสร้างนี้จะถูกนำไปต่อยอดในการพัฒนาเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ และบริการ Ride Sharing ต่อไปอีกด้วย