เยอรมนีออกมาตรการ climate protection policy package
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรี สหพันธ์ฯ เห็นชอบนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Protection Policy Package – “Klimaschutzpaket 2030”) โดยเป็นนโยบายที่ครอบคลุมมาตรการในภาคพลังงาน อุตสาหกรรม คมนาคม สิ่งแวดล้อม และ นวัตกรรม ซึ่งเริ่มบังคับใช้บางส่วนตั้งแต่ต้นปี 63 และใช้ทุกมาตรการตั้งแต่ต้นปี 64 เป็นต้นไป โดย รัฐบาล สหพันธ์ฯ จัดสรรงบประมาณ จํานวน 5.4 หมื่นล้านยูโร สําหรับในช่วงปี 64 – 67
เป้าหมายหลักของนโยบายดังกล่าว มีดังนี้ (1) เพื่อให้เยอรมนีสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อย CO2 ร้อยละ 55 ภายในปี 73 (ค.ศ. 2030) เมื่อเทียบกับปี 33 (ค.ศ. 1990) ตามพันธะที่ได้ประกาศไว้ภายใต้กรอบ UNFCCC และให้พลังงานไฟฟ้าร้อยละ 65 มาจากพลังงานหมุนเวียน (renewable energy – RE) (2) เพื่อรักษาความเป็นผู้นําในด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมพลังงานทดแทนสิ่งแวดล้อม ยานยนต์ และเครื่องจักร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานจากไฟฟ้า (electrification of the economy) เพิ่มขึ้น ทั้งในภาค ขนส่ง (ส่งเสริม e-mobility ลดการใช้ก๊าซและน้ํามัน) และการทําความร้อนในอาคาร (4) ลดการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานฟอสซิลให้เป็น 0 (decarbonisation) ภายในปี 93 (ค.ศ. 2050) และ(5) เพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายการยกเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 65 และจากถ่านหินภายใน ปี 81
ทั้งนี้ นโยบายจะครอบคลุมเป้าหมายและมาตรการลดการปล่อย COในทั้ง 3 สาขา (การผลิตไฟฟ้า ขนส่ง และ การทําความร้อนในอาคาร) ซึ่งจะครอบคลุม CO2 ที่ถูกปล่อยได้ทั้งหมด (ปัจจุบันเยอรมนี้ปล่อย CO2 ปีละ 870 ล้านตัน) จาก เดิมที่ครอบคลุม ได้เพียงร้อยละ 40 และเป็นประเทศ ในกลุ่ม G7/G8 ประเทศแรก ที่ใช้กลไกตลาดซื้อขาย certificate กับทุกสาขาที่ปล่อย CO และประกาศชัดว่า จะไม่ใช้กลไกภาษีเพื่อลดการปล่อย CO2
มาตรการที่สำคัญ ได้แก่
1.กําหนดให้สถานประกอบการ รวมทั้งกิจการขนส่ง และเจ้าของอาคาร ที่ปล่อย CO, ต้องซื้อ Certificate จากกองทุน Energie- und Ktimafonds (EKF) ของรัฐ ในราคา 10 ยูโรต่อตันในปี 64 และเพิ่มขึ้นทุกปีจนถึง 35 ยูโรต่อตันจนถึงปี 68 และจากปี 69 เป็นต้นไป จะเปิดประมูล certificate ราคาขั้นต่ําที่ 36 ยูโรต่อตัน และเปิดการค้า certificate ได้เสรี มาตรการส่วนนี้จะทําให้ราคาพลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (energy efficiency – EE) แต่ก็จะเป็นภาระต่อครัวเรือนและสถานประกอบการ
2.นํารายได้จากการขาย certificate ของ EKF ไปอุดหนุนการผลิต renewable energy ทําให้ราคา renewable energy ถูกลง และรัฐบาลสามารถลดเงินที่เก็บเพิ่มจากครัวเรือนและสถานประกอบการเพื่อมาอุดหนุน renewable energy ทําให้ราคาพลังงานลดลง โดยเฉพาะค่า ไฟฟ้าซึ่งใช้ renewable energy มากที่สุด และจะเป็นผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการขนส่งและการทําความร้อนหันมาใช้ renewable energy หรือหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจาก renewable energy มากขึ้น
3 พัฒนาโครงสร้างพื้ฐาน เช่น
- ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าสําหรับ EV ทั้งหมด 1 ล้านจุดภายในปี 73
- ลงทุนเป็นมูลค่า 9 หมื่นล้านยูโรภายในปี 73 เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเพิ่มเติม
4. มาตรการรายสาขา
4.1 อุตสาหกรรมยานยนต์
- ลดภาษีรถยนต์ไฮบริด EV และรถยนต์โฮโดรเจน (Fuel Cell EV/ FCEV)
- เพิ่มเงินอุดหนุนการซื้อ EV จากคันละ 4,000 ยูโร เป็นมากที่สุดถึง 40,000 ยูโร เพื่อให้มี EV 10 ล้านคันในปี 73 อุดหนุนการผลิตรถบรรทุกไฟฟ้า
- ขึ้นภาษีรถ SUVs และรถยนต์ขนาดใหญ่ตามอัตราการปล่อย CO2
- อุดหนุนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่สําหรับ EV เซลแบตเตอรี่ FCEV รถบรรทุกไฟฟ้า (ซึ่งเยอรมนี้มี งานวิจัยมากพอสมควร แต่การพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่เข้าสู่ตลาดได้ยังล้าหลังกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ และจีน) และเครื่องเก็บไฟฟ้าที่ผลิตจาก RE (storage) ซึ่ง รัฐบาล สหพันธ์ฯ จะออกมาตรการมูลค่า 1 พันล้านยูโร เพื่อสนับสนุนในส่วนนี้ ภายในสิ้นปี 62 และจะร่วมมือพัฒนานวัตกรรมกับประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส
4.2 อุตสาหกรรม Biofuel ยกเลิกการอุดหนุน b iofuel จากพืชที่สามารถใช้เป็นอาหารได้ เช่น พืชน้ํามัน เอธานอล (1st generation biofuel) เพิ่มการอุดหนุนการผลิต biofuel จากชีวมวล ขยะ วัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร (2nd generation biofuel) เซลสาหร่าย (3rd generation biofuel)
4.3 พลังงานแสงอาทิตย์ อุดหนุนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) และระบบ PV อย่างไม่จํากัด (4) หลังงานลม อุดหนุนการผลิตพลังงานลมให้เพิ่มขึ้นอีก 1/3 ภายในปี 73 (เฉพาะ off-shore)
4.5 การก่อสร้างอาคาร phase-Out การใช้น้ํามันและก๊าซเป็นเชื้อเพลิงทําความร้อนในอาคาร ภายในปี 69 ห้ามอาคารใหม่ใช้น้ํามันและก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการทําความร้อน และ คืนค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 การเปลี่ยนแปลง ระบบทําความร้อนในอาคาร ให้ใช้ RE
4.6 เพิ่มการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม (RDI) ในสาขา RE storage technology การจัดการโครงข่ายพลังงาน แบตเตอรี่ EV/FCEV2 และ 3 generation biofuel เทคโนโลยีการลด พลังงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลและ IT และการเก็บ CO2 (CO2 storage)
และมาตรการสนับสุนนอื่น ๆ เช่น เพิ่มเงินอุดหนุนผู้ใช้รถสาธารณะ และลดราคาบัตรโดยสาร รถไฟลงร้อยละ 10 – 12 ขึ้นภาษีเชื้อเพลิงการบิน ทําให้ราคาบัตรโดยสารเครื่องบินเพิ่มขึ้นประมาณ 18 – 70 ยูโร จัดตั้ง กองทุน Decarbonisation Innovation Fund และตั้งศูนย์เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่ carbon-free economy ให้แก่ SMEs ในลักษณะคล้ายกับศูนย์การเรียนรู้ด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industrie 4.0 Kompetenzentren) ที่มีอยู่ทั่วเยอรมนี และได้ถูก นําไปปรับใช้ในไทยภายใต้กรอบคณะทํางานประชารัฐไทย-เยอรมันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
ซึ่งข้อคิดเห็นของภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีต่อนโยบายนั้น ได้รับการสนับสนุนในประเด็น
(1) การทําให้ CO) มีราคา (CO, pricing) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการปล่อย CO2 ถือเป็นต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม ที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนักและร่วมกันแก้ปัญหา
(2) การปล่อย CO) ในภาคการขนส่งและการทําความร้อน ซึ่งแต่เดิมไม่อยู่ในสมการ ถูกคํานวณเป็น ต้นทุนด้วย การขยายกลไกตลาดให้ครอบคลุมทั้งสองภาคพลังงานที่เหลือนี้จะช่วยกระจายภาระต้นทุนอย่างเป็นธรรมมากขึ้น และสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น อันจะช่วยผลักดันการลดการปล่อย CO2 ให้ลดลงได้เร็วขึ้น
(3) รัฐบาลสหพันธ์ฯ เลือกลดการปล่อย CO2 ด้วยกลไกตลาดที่กระทบทุกคนในสังคม และไม่ใช้กลไก ภาษีซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และอาจทําให้เกิดความไม่พอใจในบางกลุ่มได้
แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหลายด้าน เช่น ต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน เยอรมันจากการเพิ่มภาษีการบิน หรือภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม และพรรคเขียว มองว่า หากไม่มีกระแสการประท้วง (Friday for the Future) รัฐบาลสหพันธ์ฯ ก็จะไม่ใส่ใจปัญหานี้ และราคา CO2 ที่ตันละ 10 ยูโรยังต่ําไปเมื่อเทียบกับราคาในตลาด จนไม่น่าจะเป็นแรงจูงใจให้ ผู้ประกอบการและครัวเรือนปรับตัว และเสนอว่า ราคาควรอยู่ที่ตันละ 50 ยูโรเป็นอย่างต่ํา
ข้อสังเกตต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย
1. นโยบายดังกล่าวน่าจะช่วยกระตุ้นทั้งอุปสงค์และอุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ EV ทั้ง hybrid และ plug-in และอุตสหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาแบตเตอรี EVFCEV ตลอดจนอุตสหกรรมด้าน RE และ EE ทั้ง storage smart building เครื่องจักรที่ไม่ปล่อย CO2 2nd และ 3rd generation biofuel และทําให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในอุตสหกรรมข้างต้น ซึ่งจะทําให้เอกชนเยอรมนี้ต้องลดต้นทุนทั้งด้านการผลิตและการสร้างนวัตกรรม จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะ สามารถเร่งดึงดูดการลงทุนจากเยอรมนี้ในด้านดังกล่าวให้มาที่ไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขารถยนต์โฮโดรเจน (Fuel Cell Ey) ซึ่งเอกชนเยอรมันยังไม่มีการลงทุนในไทย แต่จะเป็น next-generation automotive ที่ใช้แบตเตอรี่ที่ส่งผลเสีย ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าแบตเตอรี่ EV
2. การถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านพลังงานและ e-mobility ผ่านกลไกการหารือกับภาคส่วนต่าง ๆ ของเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรอบ IEC และหุ้นส่วนด้านพลังงาน (“Energiepartnerschaft”) ตลอดจนการสร้าง dialogue platform ในด้านดังกล่าวกับสมาพันธ์อุตสหกรรมยานยนต์เยอรมัน Verband Deutsche Automobilindustrie (VDA) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน และศูนย์เรียนรู้การปรับตัวเข้าสู่ carbon-free economy (ข้อ 1.4.5) ในลักษณะคล้ายกับ คณะทํางานประชารัฐไทย-เยอรมันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
อ่านบทความ และรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ www.globthailand.com