M Talk at Metalex สนทนา 90 นาที “The next Money Machine - ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” 22 พ.ย. 62

แล้วคุณจะเห็นความเป็นนักสู้จากผู้บริหาร ในงาน M Talk “The next Money Machine-ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่ ” 22 พ.ย.นี้ จองด่วนที่นั่งมีจำนวนจำกัด

อัปเดตล่าสุด 23 ต.ค. 2562
  • Share :
  • 746 Reads   

ไมโคร ปรีซิชั่น หนึ่งในผู้ผลิตแม่พิมพ์และชิ้นงานอะลูมิเนียมแถวหน้าของไทย ที่บ่มเพาะประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญพิเศษสำหรับชิ้นงานที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง จนได้รับความไว้วางใจให้ผลิตชิ้นงานส่งออกไปยังแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าของพานาโซนิคอีกด้วย ปัจจุบัน Micro Precision Co., Ltd. บริหารงานโดย คุณวรุตม์ รวยสว่างบุญ หนึ่งในผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ M AWARD – G2 of the Year ประจำปี 2019 ซึ่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรุ่นที่สอง ที่มีความโดดเด่นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์โลหะการ 

ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ทั้งจากพิษสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันและทองคำ หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่กำลังถูกดิสรัปอย่างรวดเร็ว หลายปัจจัยล้วนเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงต่อการกระทบกับธุรกิจ สำนักข่าวออนไลน์ เพื่ออุตสาหกรรมการผลิตโลหะการ M Report จึงขอทำหน้าที่ส่องสถานการณ์ผ่านคำถาม จนได้คำตอบจาก คุณวรุตม์ รวยสว่างบุญ ถึงเหตุการณ์ปัจจุบันของธุรกิจแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนอะลูมิเนียม

เปิดวิสัยทัศน์ ส่องสถานการณ์ผู้ผลิตแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนอะลูมิเนียม ปี 2019 

ตลาดแม่พิมพ์ และชิ้นส่วนอะลูมิเนียมมีสถานการณ์เป็นอย่างไร

“ตลาดแม่พิมพ์และชิ้นส่วนอะลูมิเนียมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เนื่องจากชิ้นงานที่มีความละเอียดไม่สูงนักและเน้นราคาถูก จะถูกส่งไปผลิตในประเทศที่มีต้นทุนการผลิต และค่าแรงงานที่ต่ำกว่า อย่างเช่นอินโดนีเซียและเวียดนาม ทั้งสองประเทศนี้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แนวโน้มการบริโภคภายในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนประชากรที่มากกว่าประเทศไทย ส่งผลให้โรงงานประกอบชิ้นส่วนหลาย ๆ แห่ง ได้ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่น่าสนใจกว่า”

ความต้องการของผู้ซื้อในด้านของคุณภาพ และราคาสินค้ามีความเปลี่ยนแปลงไหม

“ในด้านคุณภาพ ตลาดผู้ซื้อที่ยังคงเหลืออยู่ในประเทศไทย โดยจะเป็นกลุ่มงานที่มีความละเอียดสูง แต่ปริมาณในการผลิตอาจจะไม่มาก หรือก็คืองานแบบ High precision medium to low volume ส่วนในด้านของราคานั้น แม้ความต้องการในด้านคุณภาพของสินค้าจะสูงขึ้น แต่ลูกค้าก็ยังคงต้องการราคาที่ต่ำที่สุด ทำให้บริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง เช่น พัฒนาด้านระบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และเพิ่มคุณภาพด้านการผลิตไปพร้อม ๆ กัน เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันของบริษัท”


สถานการณ์ธุรกิจของบริษัทในปีนี้เป็นอย่างไร

“มียอดขายลดลง ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ สืบเนื่องจากลูกค้ากลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ และสงครามระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ต้องหยุดส่งสินค้าเข้าไปขายในประเทศอิหร่าน ”

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง หรือปัญหาปี 2019
“ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทั้งสภาพแวดล้อมภายในประเทศ และปัจจัยสงครามระหว่างประเทศที่มีท่าทีจะเข้มข้นขึ้น ทำให้ทุกบริษัทต้องระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายและการควบคุมการต้นทุนการผลิต และจับตาดูการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว”

ในปีนี้มีการลงทุนเทคโนโลยีเพิ่มเติมบ้างหรือไม่
“บริษัทมีการลงทุนในระบบอัตโนมัติแขนกล และระบบควบคุมการผลิตภายในบริษัทใหม่ทั้งหมด เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าใหม่ ที่จะเริ่มมีการผลิต Mass Production ในปีหน้า”

สถานการณ์ต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร
“ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ได้ลงทุนระบบอัตโนมัติ เนื่องจากต้นทุนหลักของบริษัทคือแรงงาน ทำให้แนวโน้มบริษัทมีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวลดลง”

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังดิ้นรนเพื่อรอดจากพิษเศรษฐกิจ อะไรที่ต้องคิดและทำในเวลานี้
“พัฒนาระบบในการผลิตในองค์กรให้ดีที่สุด แก้ปัญหาให้ไวที่สุด และมองหาตลาดใหม่ตลอดเวลา”

อย่าได้เมินเฉยต่อวิกฤต ประโยคนี้คุณวรุตม์ มีความคิดเห็นอย่างไร
“เห็นด้วยครับ เนื่องจากปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้มีมากมาย และอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อาทิเช่น สงครามระหว่างประเทศ ซึ่งทุกอย่างอาจจะส่งผลทางตรง และทางอ้อมได้อย่างรุนแรงมาก”

สำหรับคุณวรุตม์ โอกาสทางธุรกิจมาจากไหน 
“สำหรับโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วน สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณภาพการผลิต ทั้งในเรื่องความพร้อมของบริษัท คุณภาพเครื่องจักร และทีมงาน เพราะก่อนที่ลูกค้าจะให้งานกับเราเค้าต้องเชื่อมั่นว่าเราสามารถผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพได้ เพราะคู่แข่งเราคือประเทศจีนและญี่ปุ่น หากเราทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้าและบริการของเราได้ เราก็ยังคงมีโอกาสที่จะแข่งขันกับทั้งสองประเทศได้”

หนึ่งประโยคปลุกใจผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมยุค 2019
“เตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับโอกาสที่จะเข้ามา เพราะในสภาวะที่เศรษฐกิจที่มีความยากลำบากเช่นนี้อาจจะได้ไม่มีโอกาสเข้ามาให้เราบ่อย ๆ”

M Talk เสวนา 90 นาที “The next Money Machine - ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” ในวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายนนี้ คุณวรุตม์ รวยสว่างบุญ จาก Micro Precision จะมาเผยสถานการณ์ธุรกิจอุตสาหกรรม

ผู้ผลิตแม่พิมพ์และชิ้นงานอะลูมิเนียม พร้อมแชร์มุมมองโอกาสดีน่าจับตามองของอุตสาหกรรมฉบับเต็ม รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลการลงทุนพัฒนาด้านระบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และเพิ่มคุณภาพด้านการผลิต ในงาน M Talk  - เสวนา 90 นาที “The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” และนอกจากคุณวรุตม์ ยังจะได้พบกับ G2 อีก 2 ท่านคือ คุณเกรียงไกร มโนบูรชัยเลิศ จาก C.C.S. GROUP บริษัทคนไทยรายแรกที่ผลิตชิ้นส่วน Aerospace ทั้ง Boeing, Airbus, และ Bombardier และ คุณภวเกียรติ กีรติชีวนันท์ จาก Bitwise GROUP ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ ผู้ซึ่งนิยมความเร็วเจ้าของนิยาม “ผลิตให้เร็วที่สุด เพื่อต้นทุนที่ดีที่สุด”

 

M Talk  - เสวนา 90 นาที
“The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่”
วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2562 เวลา 11.00  - 13.30 น. 
ห้อง Silk 3-4 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ 
 

 

“The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่”


กิจกรรมเสวนาวงเล็ก ฟังผู้บริหารอุตสาหกรรมไทยรุ่นใหม่ พูดถึงโอกาส 
และช่องทางธุรกิจใหม่ของยุคนี้ พร้อมรับประทานอาหารเที่ยง

 

กำหนดการ
 
11.00-11.30 น.   ลงทะเบียน
11.30-12.00 น.   พบปะ สังสรรค์ และแนะนำตัว                
12.00-13.30 น.   ร่วมฟังเสวนาและรับประทานอาหารเที่ยง M Talk - เสวนา 90 นาที
                             “The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” 
                                 • ​คุณเกรียงไกร มโนบูรชัยเลิศ
                                       C.C.S. GROUP
                                 • ​คุณภวเกียรติ กีรติชีวนันท์
                                       Bitwise GROUP
                                 • ​คุณวรุตม์ รวยสว่างบุญ
                                       Micro Precision Co., Ltd.
 
หมายเหตุ : งานเริ่มและจบตรงเวลา
 
การลงทะเบียนร่วมงาน
 
ค่าเข้าร่วมงาน M Talk - เสวนา 90 นาที “The next Money Machine : ฟัง G2 คุยธุรกิจใหม่” 
ท่านละ 2,000 บาท (ไม่รวม VAT 7%) ที่นั่งจำนวนจำกัด 
 
สแกน QR Code หรือ คลิกจองตั๋วได้ที่ :  https://forms.gle/WWdnL2JUT4dvFEPg9
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณเกสรา มากโพธิ์ l email: [email protected] l โทร. 02 399 5908-9