เทคโนโลยีหุ่นยนต์ สำหรับภาคอุตสาหกรรมในปี 2020 Fanuc - ระบบการหยิบจับและเปลี่ยนชิ้นงานจากตัวเครื่องแบบอัตโนมัติ ด้วย Cobot และ 3D sensor

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ สำหรับภาคอุตสาหกรรมในปี 2020

อัปเดตล่าสุด 3 ก.พ. 2563
  • Share :

ในงาน International Robot Exhibition หรือ IREX 2019 เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีหุ่นยนต์นานาชาติ จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตหุ่นยนต์ต่างนำเทคโนโลยีใหม่ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของวิทยาการหุ่นยนต์ต่อการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมมาจัดแสดง อาทิ Fanuc นำเสนอระบบการหยิบจับและเปลี่ยนชิ้นงานจากตัวเครื่องแบบอัตโนมัติ ด้วยโคบอท (Cobot: Collaborative Robot) และเซนเซอร์ 3 มิติเข้าด้วยกัน, ระบบ Deburring แบบอัตโนมัติโดย Nachi Robot, ในขณะที่ Kawasaki รุกตลาดด้วยเทคโนโลยีควบคุมหุ่นยนต์ทางไกล, และที่ขาดไม่ได้สำหรับหุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่น คือ Yaskawa Robot ที่นำเสนอระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นจากเทคโนโลยี Digital Twin

“เปลี่ยนชิ้นงานอัตโนมัติ เพื่อการทำงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้น” Fanuc

ปัจจุบัน ปัญหาการขาดแคลนแรงงานกำลังกระจายตัวไปในหลายภาคอุตสาหกรรม รวมถึงความต้องการรักษาคุณภาพที่สูงขึ้น ทำให้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม โดรน และมือหุ่นยนต์ที่ติดตั้งเซนเซอร์มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยให้ความต้องการผู้มีทักษะการเขียนโปรแกรม และผู้มีองค์ความรู้ด้านระบบเซนเซอร์เป็นที่ต้องการตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ใช้งานหุ่นยนต์ในสายการผลิตมาก่อน

Fanuc เล็งเห็นว่า สิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คือระบบการหยิบจับ และเปลี่ยนชิ้นงานจากตัวเครื่องแบบอัตโนมัติ จึงพัฒนาระบบขึ้นโดยประกอบโคบอท (Cobot) และเซนเซอร์ 3 มิติเข้าด้วยกัน และใช้มนุษย์ควบคุมแขนหุ่นยนต์ เพื่อให้ระบบเรียนรู้ผ่านเซนเซอร์ และสามารถหยิบจับ และเปลี่ยนชิ้นงานได้อย่างแม่นยำ และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการจำลองการทำงานโดยอัตโนมัติต่อไป

“Deburring อัตโนมัติ” Nachi Robot

ในปีนี้ Nachi-Fujikoshi ตัดสินใจใช้ระบบ Deburring ซึ่งประกอบขึ้นจากหุ่นยนต์ ทูลส์ และโต๊ะทำงาน ซึ่งมีขนาดเล็ก และซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ระบบที่ใช้งานง่าย และปรับแต่งน้อยที่สุด

โดยทางบริษัท ชี้แจงว่านอกจากงาน Deburring แล้ว ยังได้พัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมสำหรับงานตรวจสอบคุณภาพ และงานลำเลียงสินค้าเพิ่มเติม โดยมุ่งการออกแบบให้ผู้ใช้สามารถต่อเติมได้ภานหลัง เพื่อให้การเข้าถึงระบบอัตโนมัติทำได้ง่าย และได้ระบบที่เหมาะกับธุรกิจขึ้นกว่าเดิม

“จำลองการควบคุม” Kawasaki Heavy Industries

Kawasaki รุกตลาดด้วยเทคโนโลยีควบคุมหุ่นยนต์ทางไกล
“Successor” ระบบควบคุมหุ่นยนต์ทางไกลของ Kawasaki Heavy Industries ซึ่งจะเข้าสู่ตลาดในเดือนเมษายนนี้

Kawasaki Heavy Industries รุกตลาดด้วยเทคโนโลยีควบคุมหุ่นยนต์ทางไกล เพื่อให้การทำงานต่าง ๆ เช่น การเจียร การเชื่อม หรืองานขัดสามารถทำผ่านหน้าจอได้โดยง่าย ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมพัฒนาระบบจำลองการควบคุม เพื่อให้ผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคย สามารถทำงานได้คุณภาพเทียบเท่ากับพนักงานมากประสบการณ์

“สภาพแวดล้อมดิจิทัล เพื่อการผลิตที่ยืดหยุ่น” Yaskawa Robot

Yaskawa - ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นจากเทคโนโลยี Digital Twin
Yaskawa Electric “i³-Mechatronics”

Yaskawa Electric นำเสนอระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นจากเทคโนโลยี Digital Twin ซึ่งได้ทำการสาธิตไปเมื่อเดือนธันวาคม 2019 ในงาน iREX โดยการติดตั้งหุ่นยนต์ และเครื่องจักรในระบบ Virtual จากนั้นจึงส่งข้อมูลสู่เครื่องจริงแบบเรียลไทม์ และสาธิตการรองรับการเปลี่ยนแปลงด้วย AGV ที่เคลื่อนที่ไปมาระหว่างเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสาธิตให้เห็นถึงกระบวนการผลิตที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจำลองการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นไปได้โดยง่าย