กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ 30 ภาคีรัฐ-เอกชน-สถาบันการเงิน-สถาบันการศึกษา MOU บูรณาการพัฒนาระบบนิเวศสร้างโอกาสสตาร์ตอัพไทยสู่ตลาดโลก

อัปเดตล่าสุด 13 มิ.ย. 2562
  • Share :
  • 457 Reads   

กรุงเทพฯ 11 มิถุนายน 2562 - กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับภาคีเครือข่ายองค์กรภาครัฐ-เอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา รวม 30 องค์กร เสริมความแกร่ง ระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อสร้างและพัฒนา Startup ตลอดวงจรชีวิต ตั้งแต่ระดับ Pre-Seed จนถึงขั้น Unicorn  ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่ใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือที่เรียกว่า “Deep Tech” และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ ตลอดจนผลักดัน InnoSpace (Thailand) ให้เป็นแพลตฟอร์มกลางในการสร้างและ พัฒนาสตาร์ตอัพของประเทศ เชื่อมโยงสู่เวทีโลก เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมอย่างยั่งยืน  

เมื่อเวลา 13.00 - 15.00 น. ณ ห้องวาสนาบอลรูม โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 กรุงเทพฯ ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นายกอบชัย  สังสิทธิ์สวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน-สถาบันการเงิน-สถาบันการศึกษา รวม 30 องค์กรชั้นนำของประเทศ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้น โดยความร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการประกาศการผนึกกำลังจากทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ในการเสริมสร้างระบบนิเวศที่เข้มแข็งเป็นรูปธรรมอย่างมือ อาชีพ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมและ Startup ของ อาเซียน  ซึ่งตั้งแต่กลางปี 2561 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ริเริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมผู้ประกอบการและวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ InnoSpace (Thailand)  ให้เป็น National Startup Platform ที่ครบวงจรที่สุด เป็นศูนย์กลางการสร้างพัฒนาและบ่มเพาะสตาร์ตอัพในเชิงลึก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว  โดยได้ผลักดันให้มีการจัดตั้ง บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการเชื่อมโยงให้เกิด การบูรณาการด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ  

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานที่ปรึกษา บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) กล่าวว่า อินโนสเปซ (ประเทศไทย) เป็น หน่วยงานที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรเป็นหลักในรูปแบบ Not for profit but profitable เพื่อเป็น National Startup Platform โดยเป็นการร่วมมือกันของพันธมิตรภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนการสร้าง Innovative Ecosystem เพื่อร่วมกันสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศเป็นสำคัญ (Public Benefits) และจะดำเนินการ สนับสนุน Startups ตลอดวงจรชีวิต (Life cycle)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Startup ที่อยู่ในช่วง Pre-Seed หรือ Seed ในกลุ่ม  Deep Tech พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพอย่าง บูรณาการ (Synergize) ให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Alignment) และเติมสิ่งที่ขาดอยู่ (Fill the Gap) โดยจะไม่ ทับซ้อนกับกิจกรรมอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เพื่อยกระดับ Startup ให้ถึงระดับ Unicorn รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันตามนโยบาย Thailand 4.0 ผู้ที่สนใจสามารถติดตามการดำเนินการ และติดต่อบริษัท InnoSpace (Thailand) ได้ที่ เว็บไซต์ www.innospacethailand.com หรือ เฟสบุ๊ค www.facebook.com/innospacethailand  


ดร.พสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แสดงความยินดีกับความพร้อมเพรียงในความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานในกำกับของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา ที่มาร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจเริ่มต้น ในวันนี้ ซึ่งเป็นการรวมพลังและ รวมทรัพยากรชั้นดีจากผู้มีประสบการณ์จริงในการผลักดัน Startup ระดับประเทศ มาเติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจสำหรับสตาร์ตอัพที่สมบูรณ์มากขึ้น โดยทั้ง 30 หน่วยงาน จะสนับสนุนและร่วมเป็นเครือข่ายการดำเนินงาน ทั้งการเป็นพันธมิตรด้านการบ่มเพาะ พันธมิตรด้านองค์ความรู้ และพันธมิตรด้านการลงทุน เพื่อให้ สตาร์ตอัพไทยสามารถพัฒนาและเชื่อมโยงไปสู่เวทีระหว่างประเทศได้ โดยก่อนหน้านี้ อินโนสเปซ (ประเทศไทย) ได้ลงนาม MOU กับพันธมิตรต่างประเทศจากฮ่องกง และกำลังเตรียมการลงนาม MOU เพิ่มเติมกับพันธมิตรจากประเทศอิสราเอลและสาธารณรัฐเกาหลีในเร็ว ๆ นี้  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ตอัพร่วมกันอีกด้วย   

สำหรับองค์กรที่ร่วมลงนามใน MOU ขับเคลื่อนการดำเนินงาน InnoSpace (Thailand) จำนวน 30 หน่วยงานในครั้งนี้  ประกอบด้วย 

  • ภาครัฐและหน่วยงานในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 
  • รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 
  • ภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, เครือสหพัฒน์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท แบงคอก เวนเจอร์ส จำกัด, สมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย 
  • สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 
  • สถาบันการศึกษา ได้แก่ สถาบันวิทยสิริเมธี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  • และ บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด