1810110027-00-Atsuhi-Yoshimoto-TIDConsulting-BMSE

Model-Based ยุคใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิต

อัปเดตล่าสุด 2 ต.ค. 2561
  • Share :
  • 705 Reads   

แน่นอนว่าแม้ในยุคนี้ ภาคอุตสาหกรรมจะเร่งวิจัยตัวช่วยในการยกระดับอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิตัล เช่น Artificial Intelligence และ Cloud แต่การพัฒนาในส่วนอื่น ๆ เช่นเครื่องจักรอุตสาหกรรม และอุปกรณ์รับส่งข้อมูลก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องโดยไม่ถูกทอดทิ้ง และผู้ผลิตต่างทุ่มเทให้กับการพัฒนาสู่ “Smart Factory” อย่างไรก็ตาม Value Chain ที่มีอยู่เดิมกลับไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นอีกคำถามที่ต้องขบคิดกันว่า ปลายทางการพัฒนานี้จะเป็นเช่นไร

องค์ประกอบสำคัญของ Industry 4.0 คือ “Cyber-Physical Systems (CPS)” แนวคิดว่าด้วยการย้ายการผลิตขึ้นไปอยู่ในระบบดิจิตัล และ “Model-Based Systems Engineering (MBSE)” หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “การผลิตที่ไม่ต้องผลิต” ซึ่งการจะทำให้แนวคิดทั้ง 2 นี้เป็นจริงได้นั้น จำเป็นต้องแปลงขั้นตอนต้นน้ำให้กลายเป็นข้อมูล และใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานวิศวกรรม (Computer Aided Engineering: CAE) ในการทำซิมูเลชั่น อย่างไรก็ตาม คำถามที่เกิดขึ้นคือ จะทำอย่างไร จึงจะแปลงขั้นตอนงานเหล่านี้เป็นข้อมูลได้ ซึ่งคำตอบส่วนมากคือ การวางแผนจากข้างบนลงสู่เบื้องล่าง (Top-Down Process) ซึ่งการเชื่อมต่อเครื่องจักร และการมองเห็นด้วย IoT เองก็เป็นสิ่งหนึ่งในแนวคิดนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ IT รายใหญ่รายหนึ่ง ได้แสดงความเห็นว่า “แม้จะพัฒนาโรงงานให้ฉลาดแค่ไหน หากเป้าหมายการพัฒนาไม่แน่ชัดก็เป็นการลงทุนที่เสียเปล่า”

แนวคิด MBSE ว่าด้วยการแปลงข้อมูลโครงสร้างและการทำงานของสินค้าให้กลายเป็นโมเดลที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจได้โดยง่าย ซึ่งมีพื้นที่การใช้งานอย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมอากาศยานอวกาศ และยานยนต์ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเน้นไปที่การคิดแบบ Bottom-Up แล้ว การนำแนวคิด MBSE มาใช้นับเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ ในความเป็นจริงยังเกิดกรณีที่แนวคิดของผู้พัฒนาระบบ และแนวคิดทางวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ไม่ตรงกัน จนเกิดเหตุให้ต้องทำงานซ้ำซ้อนอยู่บ่อยครั้ง

เยอรมนีจับมือญี่ปุ่น

เพื่อลดช่องว่างนี้ TIDconsulting บริษัทในเครือ Information Services Int'l -Dentsu (iSiD) จึงร่วมกับ Fraunhofer Society ก่อตั้ง “Two Pillars GmbH” ขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน หลังจากที่มีการเจรจามานับตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ Fraunhofer Society ได้ร่วมลงทุนกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันหุ้นเกินครึ่งเป็นของ Fraunhofer Society อย่างไรก็ตาม ได้มีกำหนดการพิจารณาประเด็นนี้อีกครั้งในอีก 10 ปีให้หลัง

เป้าหมายของ Two Pillars GmbH คือ การยกระดับแนวคิด MBSE ในภาคธุรกิจ ซึ่ง Fraunhofer IEM ศูนย์วิจัยในสังกัด Fraunhofer ได้ร่วมมือกับ iSiD ในการนำ “CONSENS” กระบวนการพัฒนาด้วย MBSE มาใช้ร่วมกับ “iQUAVIS” ซอฟต์แวร์สนับสนุนการพัฒนายานยนต์ของ iSiD

ปฏิวัติวงการ

ภาษา “SysML” คือส่วนหนึ่งในแนวคิด MBSE ซึ่งจะเขียนตัวเองขึ้นโดยอัตโนมัติตามสเป็คที่ผู้ใช้ระบุ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้การพัฒนาโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ในทางวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์นั้นมีโมเดลเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะใช้ SysML ในทุกส่วน ซึ่ง iQUAVIS จะเข้ามาเสริมในจุดนี้ เพื่อให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น

นักวิจัยจาก Fraunhofer IEM กล่าวแสดงความเห็นว่า “หากเทียบในมาตรฐานสากลแล้ว iQUAVIS ทำได้เพียง 40 คะแนนเท่านั้น” อย่างไรก็ตาม ได้กล่าวเสริมว่า “ถึงจะยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก แต่สิ่งที่ iQUAVIS มีอยู่นั้น เหมาะกับ CONSENS เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากเราเติมอีก 60 คะแนนที่หายไปได้ ก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง” ซึ่งเป็นซึ่งที่น่าสนใจว่า หากพัฒนาไปตามพื้นฐานแนวคิดของ Industry 4.0 แล้ว MBSE จะสามารถปฏิวัติวงการได้หรือไม่