ส่อง 5 ประเทศ นโยบายชัดเจน "รถยนต์พลังงานสะอาด"

อัปเดตล่าสุด 5 ต.ค. 2561
  • Share :

ด้วยปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอย่างหนักอันเป็นผลจากภาวะโลกร้อน ทำให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญในการลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นนับว่าเป็นส่วนสำคัญในที่จะช่วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกต่างมีมาตรการส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์พลังงานสะอาดอย่างจริงจัง

การส่งเสริมรถยนต์พลังงานสะอาดของประเทศต่างๆ 

 จีน - ประเทศจีนมีการศึกษาเกี่ยวกับรถที่ใช้พลังงานทางเลือกมาตั้งแต่ปี 1991 จนเมื่อประเทศจีนได้นำตัวเองเข้าสู่ WTO (องค์การการค้าโลก) จีนก็ต้องการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสำหรับการใช้ยานยนต์พลังงานทางเลือกอย่าง EV เพื่อก้าวเป็นเบอร์ 1 ของโลก ซึ่งเริ่มดำเนินการผ่านโครงการ Ten cities, Thousand Vehicles  โดยรัฐบาลจีนได้รวบรวมผู้ประกอบการโรงงานผลิตรถยนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองนำร่อง 10 เมือง ให้มีการนำรถ EV 10,000 คันมาใช้งาน และส่วนกลางจะจัดตั้งงบประมาณส่วนหนึ่ง สำหรับรองรับค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ใช้รถ EV  จุดประสงค์ก็เพื่อให้เกิดการใช้งานรถ EV ในแต่ละเมืองนำร่อง อีกทั้งมีการส่งเสริมการใช้รถ EV โดยการละเว้นค่าใช้จ่ายในการประมูลป้ายทะเบียนสำหรับรถ EV  ทำให้สามารถแก้ไขปัญหามลพิษได้ในเมืองนำร่อง รวมถึงสามารถทำให้เกิดการผลิตรถ EV มากขึ้นในระดับท้องถิ่น เพียงแต่คุณภาพของรถนั้นยังไม่ดีเท่าที่ควร และยากที่จะส่งออกได้  ประกอบกับประเทศจีนมีการนำถ่านหินมาผลิตโรงงานไฟฟ้าอยู่ แม้ว่ารถ EV จะช่วยรถมลพิษโดยรวมของประเทศได้ส่วนหนึ่ง แต่เมื่อเทียบอัตราส่วนมลพิษโดยรวมแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศจีนนั้นไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการควบคุมมลพิษมากเท่าที่ควร 

จนปี 2017 จีนได้มีมาตรการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตรถ EV ที่เรียกว่า New Energy Vehicles : NEV  ที่ไม่เพียงแต่ครอบคลุมการผลิตรถ EV เท่านั้น แต่รวมไปถึงรถพลังงานทางเลือกอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการหันมาเอาใจใส่ในเรื่องของมาตรฐานการผลิต ควบคุมอัตราการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น ไม่เกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด โดยรัฐบาลได้กำหนดให้ผู้ผลิตยานยนต์ จะต้องผลิตรถที่เป็น NEV ควบคู่ไปด้วย  โดยเป็นกฎที่ใช้สำหรับนักลงทุนข้ามชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตรถยนต์พลังงานทางเลือกของประเทศจีน  และให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศอื่น ๆ มาสู่ประเทศจีน  โดยเป้าหมายของรัฐบาลจีนคือ ภายในปี 2020  จะต้องมียอดขายของรถ NEV ประมาณ 10% ของยอดขายรถทั้งหมด (ประมาณ 20 ล้านคันต่อปี)

สหรัฐอเมริกา - ในสมัยที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกานั้น อเมริกาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการสนับสนุนนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อม  แต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลไปสู่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้นโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมบางส่วนได้รับการผ่อนผัน  ส่งกระทบแก่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากทรัมป์มองว่านโยบายบางส่วนเข้มงวดเกินไปสำหรับผู้ผลิตในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตยานยนต์นั้นสูงขึ้น รถยนต์จึงมีราคาแพง เพราะฉะนั้นจึงทำให้เป้าหมายที่โอบามาเคยตั้งไว้ ว่าภายในปี 2015 สหรัฐอเมริกาจะมีรถ EV ใช้ในประเทศ 1,000,000 คัน ไม่ประสบความสำเร็จ​

ญี่ปุ่น - ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีมาตรการในการส่งเสริมการผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้ามานานมาก มีงบประมาณช่วยเหลือผู้บริโภคในการซื้อ โดยการให้เอารถยนต์พลังงานสะอาดคันเก่า มาแลกกับรถยนต์พลังงานสะอาดคันใหม่  แต่เนื่องจากในปัจจุบันญี่ปุ่นประสบปัญหากรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บางส่วนปิดไป ญี่ปุ่นจึงไม่ได้มีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพลังงานไฟฟ้าเต็มที่  แต่จะมุ่งเน้นไปในเรื่องของ Fuel Cell ที่เป็นพลังงานจากไฮโดรเจนมากกว่าในปัจจุบัน  เพื่อเป็นการรักษาความสมดุลทางด้านพลังงาน  โดยเป้าหมายของรัฐบาลญี่ปุ่นด้านยานยนต์พลังงานสะอาดคือ ภายในปี 2020  จะต้องมียอดขายของรถ NEV ประมาณ 20-50% ต่อยอดขายรถยนต์โดยรวมในประเทศ 

เยอรมนี - เยอรมนีมีแผน ที่เรียกว่า  The new High-Tech Strategy  ที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง R&D  สำหรับการผลักดันให้เยอรมนีก้าวไปข้างหน้าเพื่อกลายเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมระดับโลกในอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนของประเทศ   และอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้มีการใช้พลังงานสะอาด โดยรัฐบาลมีการจัดตั้งหน่วยงาน NPE ขึ้นมา ร่วมกับ เอกชน องค์กรการศึกษาต่างๆ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ  ในการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เดี่ยวข้อง  และมีการจัดโครงการนำร่องที่เรียกว่า Lighthouse project โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นที่เป็น User มาใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าจริง และส่ง Feedback กลับไปยังผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ว่าควรจะพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ไปในทิศทางใด ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะสมกับระบบนิเวศที่ใช้งานจริงของรถ EV  รวมถึงมีการพัฒนาบุคคลากรของประเทศให้มีความพร้อมในการพัฒนาด้านยานยนต์พลังงานสะอาดตั้งแต่ระดับอาชีวะและอุดมศึกษา เพื่อสร้างรากฐานให้เกิดการพัฒนาบุคลากรในอนาคต โดยรัฐบาลเยอรมันระบุว่า ในปี 2030 จะมีการแบนไม่ให้รถยนต์ดีเซลวิ่งอยู่ในประเทศ 

เกาหลีใต้ - เกาหลีใต้เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ผลิตรถยนต์เป็นของตัวเอง  ซึ่งกลไกในการพัฒนาของเกาหลีใต้ก็จะคล้ายกับประเทศอื่น โดยเน้นในเรื่องของ Green Economy เพื่อผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในทุก ๆ อุตสาหกรรมของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น รัฐบาลได้มีส่วนในการผลักดันให้เกิดการซื้อขายรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลองมาใช้ในหน่วยงานรัฐ  และส่ง FeedBack กลับไปให้เกิดการพัฒนาให้สามารถนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังมีการสร้างเมืองนำร่องที่เกาะเจจู  ที่มีพลังงานลมอันเป็นพลังงานสะอาดที่สามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับการใช้งานในพื้นที่ของตน  ซึ่งเหมาะสมกับการนำรถ EV มาใช้อย่างมาก อีกทั้งเกาะเจจูเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ จึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่คนทั่วไปเห็นว่า รถ EV นั้นสามารถใช้งานได้จริง  นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีการให้เงินอุดหนุนสำหรับผู้ใช้รถ EV รวมถึงมีการสร้างสถานีประจุไฟฟ้าภายในเกาะ และสร้าง Application  ที่จะบอกตำแหน่งของสถานีประจุไฟฟ้า และออปชันอื่น ๆ ที่สามารถเอื้อประโยชน์แก่ผู้ใช้งานรถ EV  ได้ 

ไต้หวัน - ไต้หวันเป็นประเทศหนึ่งที่ทุกคนอาจจะไม่คุ้นเคยนักในฐานะผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า แต่ประเทศไต้หวัน เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการผลิตชิ้นส่วน โดยเฉพาะชิ้นส่วนไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพมาก จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกๆ ของการผลิตรถ EV ของ Tesla  ชิ้นส่วนกว่า 70%  จะเป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไต้หวัน  ในส่วนของการส่งเสริมการใช้งานรถพลังงานสะอาดนั้น  ประเทศไต้หวันนั้นมีการใช้งานจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก  โดยมีการพัฒนาในส่วนของแบตเตอรี่ลิเทียมที่ใช้กับจักรยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย แต่ในส่วนของรถยนต์นั้นก็มีการกำหนดนโยบาย EV development strategy เพื่อพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านมาตรฐาน, R&D หรือด้านอื่น ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้งานรถ EV โดยมีเป้าหมายในการเป็น Top 5 ของโลกในการส่งออกรถ EV ภายในปี 2020

 

โดยภาพรวมแล้ว มาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศต่าง ๆ นั้น จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ มาตรการที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ดังนี้

  มาตรการที่เป็นตัวเงิน มาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงิน
อุปสงค์   ตัวรถ

- ลด/ยกเว้น ภาษี 

-ให้เงินอุดหนุนเพื่อซื้อรถ ใหม่

- สิทธิพิเศษการใช้งาน เช่น วิ่ง ในช่องทางพิเศษ ไม่เสียค่า ผ่านทาง ที่จอดรถเฉพาะ
การประจุไฟ - ใช้งานจุดประจุไฟฟ้าโดย ลด/ยกเว้นค่าใช้จ่าย - จัดตั้งจุดประจุไฟฟ้า
- ระบบสนับสนนุการใช้งาน จุดประจุไฟฟ้า -ข้อบังคับสร้างจุดประจุ ไฟฟ้าในอาคารสร้างใหม่
อุปทาน               R&D - กองทุนการวิจัย - ท่าวิจัยร่วมรัฐ-เอกชน 
    พัฒนาบุคลากร     - - หลักสูตรระดับอาชีวะและ อุดมศึกษา
การผลิต - เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ -
สร้างการรับรู้ - - โครงการนำร่องการใช้งาน
 


 เป้าหมายการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยนั้น  "สถาบันยานยนต์" ได้เสนอแนวทางลดการใช้พลังงานในภาคขนส่งไว้ดังนี้

  1. ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานยานยนต์
  2. ใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ
  3. เปลี่ยนรูปแบบพาหนะที่ใช้เดินทาง
  4. หลีกเลี่ยงการเดินทาง​