เครื่องจักรไต้หวัน

“ขายแต่เครื่องจักรเป็นเรื่องตกยุค” จริงหรือ??

อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2561
  • Share :
  • 622 Reads   

แนวคิด Industry 4.0 ที่กำลังแพร่หลายไปทั่วโลก เฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในโรงงานต่าง ๆ ของไต้หวัน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน แห่งไต้หวัน ได้ส่งสัญญาณการเข้าสู่ยุค 4.0 ภายใต้นโยบาย “5+2 Industrial Innovation Plan” 

ปัจจุบัน ผู้ผลิตเครื่องจักรกล (Machine Tools) ในไต้หวันได้ทุ่มเทให้กับการวิจัยและพัฒนา Smart Machine ซึ่งยกให้ "กุญแจสู่ยุค Industry 4.0 คือ การรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน"

FEMCO ผู้ผลิต Machining Center แสดงความเห็นว่า “การขายแต่เครื่องจักรให้กับลูกค้าจะกลายเป็นเรื่องตกยุค” และได้เริ่มพัฒนา “AVM” ระบบตรวจสอบสภาพการทำงานในสายพานการผลิตแบบเรียลไทม์ มานับตั้งแต่ปี 2016
 
ด้วยปัญหาการขาดแคลนแรงงานและสังคมผู้สูงอายุ เป็นปัญหาใหญ่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ FEMCO ตัดสินใจพัฒนา AVM ที่มีคุณสมบัติในการรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเครื่องจักร ตั้งค่าพารามิเตอร์เพื่อป้องกันเครื่องจักรทำงานผิดพลาด ลดจำนวนครั้งที่ผู้ใช้ต้องตรวจสอบสภาพเครื่องด้วยตัวเอง เพื่อเสริมประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น
 
นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีแผนเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์และ IoT โดยวางแผนใช้ Big Data เป็นขุมข้อมูลสำหรับเรียนรู้ผ่านเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ระบบพัฒนาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์อีกด้วย
 
Fair Friend Group (FFG) ผู้ผลิต Machine Tools รายใหญ่ในไต้หวัน ซึ่งได้แสดงความเห็นว่า “การรวมหุ่นยนต์ ซอฟต์แวร์ และ อินเทอร์เฟซ เข้าด้วยกันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น” และสิ่งสำคัญสำหรับ Smart Factory คือคุณสมบัติในการใช้งานเครื่องจักรต่างแบรนด์ร่วมกันได้
 
ซึ่งในกรณีของ FFG นั้น ได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ตนเอง, Siemens, และ KUKA ร่วมกันในการพัฒนาระบบสายการผลิต “FSK” ซึ่งมีคุณสมบัติในการรองรับหุ่นยนต์จากแบรนด์ต่าง ๆ เช่น FANUC ทำให้เป็นระบบการผลิตที่มีความยืดหยุ่นสูงและ รองรับการผลิตจำนวนน้อยอีกด้วย

นอกจากนี้ FFG ยังนำเสนอระบบการควบคุมด้วย Augmented Reality (AR) ที่จะช่วยให้เข้าใจโครงสร้างภายในที่ซับซ้อนได้โดยง่าย จึงเป็นการตอกย้ำว่า การขายแต่เครื่องจักรเป็นเรื่องตกยุคไปแล้วสำหรับผู้ผลิตค่ายไต้หวันนั่นเอง